บทความทั้งหมด

article-cover
  • ศรีษะ
  • ปวดศีรษะไมเกรน (Migraine)

ปวดศีรษะไมเกรน (Migraine)

ข้อมูลโรคและสาเหตุการเกิดโรค เป็นอาการปวดศีรษะที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 รองจากอาการปวดศีรษะจากความเครียด (Tension type headache) พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 2-3 เท่า มักเริ่มมีอาการครั้งแรกตอนช่วงวัยรุ่นถึงวัยกลางคน อาการปวดศีรษะไมเกรน เกิดจากความผิดปกติของระบบไฟฟ้าที่ผิวสมอง ทำให้สมองเกิดการกระตุ้นได้ง่าย และ ไวกว่าคนปกติ ตามมาด้วยการหลั่งสารสื่อประสาทบางชนิด มีผลทำให้หลอดเลือดสมองเกิดการขยายตัวและเกิดการอักเสบขึ้น เป็นผลทำให้มีอาการปวดศีรษะในที่สุด อาการของโรค จะมีอาการปวดศีรษะข้างเดียว

article-cover
  • ศรีษะ
  • ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ (Cluster headache)

ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ (Cluster headache)

โรคสุดฮิต ! ปวดหัวไมเกรน ข้อมูลโรคและสาเหตุการเกิดโรค เรียกอีกอย่างว่าโรคปวดศีรษะเป็นชุดๆ อาการปวดประเภทนี้พบบ่อยในวัยรุ่นไปถึงวัยกลางคน โดยเฉพาะเพศชายที่สูบบุหรี่ ยังไม่ทราบกลไกการเกิดโรคที่ชัดเจน แต่คาดว่า เกิดจาก ความผิดปกติของเส้นประสาทและระบบประสาทอัตโนมัติ อาการของโรค จะมีอาการปวดอย่างรุนแรงด้านเดียวบริเวณรอบตา เหนือเบ้าตา หรือ ขมับ ร่วมกับมีอาการตาแดง น้ำตาไหล คัดจมูก น้ำมูกไหล หนังตาบวม เหงื่อออกที่หน้าและหน้าผาก รู้สึกกระสับกระส่าย ถ้าไม่ได้รักษาอาการปวดจะเป็นอยู่นาน 15 นาที - 3 ช

article-cover
  • อื่นๆ
  • ไข้รากสาดใหญ่ (Scrub typhus)

ไข้รากสาดใหญ่ (Scrub typhus)

ข้อมูลโรคและสาเหตุการเกิดโรค โรคไข้รากสาดใหญ่ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งซึ่งอยู่ในตัวไรอ่อน (Chigger mite) เมื่อเราโดนตัวไรอ่อนกัด อาจเห็นเป็นรอบแผลเล็กๆ ไม่ค่อยเจ็บ หลังจากนั้น 1-2 สัปดาห์ก็จะเริ่มมีอาการป่วยแสดงขึ้น โดยตัวไรอ่อนนี้จะชอบอาศัยอยู่ตามทุ่งหญ้า ป่าละเมาะ และ พุ่มไม้เตี้ยๆ และ คนส่วนมากก็มักจะโดนกัดโดยไม่รู้ตัว อาการของโรค อาการของไข้รากสาดใหญ่ มักจะเกิดขึ้นภายใน 10 วัน หลังจากที่โดนไรอ่อนกัด โดยจะมีอาการ คือ * มีไข้สูง หนาวสั่น * ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา * ต่อมน้ำเหลื

article-cover
  • ศรีษะ
  • ปวดศีรษะจากความเครียด (Tension Headache)

ปวดศีรษะจากความเครียด (Tension Headache)

ข้อมูลโรคและสาเหตุการเกิดโรค เป็นอาการปวดหัวที่พบบ่อยที่สุด เชื่อว่าเกิดจากความไวที่เพิ่มขึ้นต่อความเจ็บปวด ในระบบประสาทส่วนกลาง ร่วมกับการตึงตัวของกล้ามเนื้อรอบศีรษะ โดยปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดขึ้นอาการปวดได้ง่าย เช่น ความเหนื่อย ความเครียด ความวิตกกังวล การนอนผิดท่า การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน อาการของโรค อาการปวดหัวทั้งสองข้าง ค่อนไปทางด้านหน้าและด้านบนของศีรษะ คล้ายโดนบีบรัดบริเวณศีรษะ ความรุนแรงของอาการปวดที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันในแต่ละครั้ง แต่มักรุนแรงระดับ น้อย ถึงปานกลาง อา

article-cover
  • อื่นๆ
  • มาลาเรีย (Malaria)

มาลาเรีย (Malaria)

ภัยร้ายมาพร้อมฝน โรคมาลาเรีย ข้อมูลโรคและสาเหตุการเกิดโรค โรคมาลาเรียเกิดจากเชื้อโปรโตซัวชนิดหนึ่งชื่อพลาสโมเดียม (Plasmodium spp.) เชื้อนี้จะอาศัยอยู่ในเม็ดเลือดแดง คนเราติดเชื้อมาลาเรียได้จาก การถูกยุงก้นปล่องที่มีเชื้อกัด เมื่อถูกกัดแล้ว เชื้อจะเข้าสู่ร่างกาย และ อยู่ในระยะฟักตัวประมาณ 2 สัปดาห์ถึง 2 เดือน หลังจากนั้นผู้ป่วยจะเริ่มมีไข้สูง หนาวสั่น ถ้าไม่ได้รักษา อาการจะรุนแรงขึ้น มีตาเหลืองตัวเหลือง ไตวาย เกิดภาวะมาลาเรียขึ้นสมอง และทำให้เสียชีวิตได้ ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มักอ

article-cover
  • อื่นๆ
  • ไข้ชิคุนกุนยา (Chikungunya)

ไข้ชิคุนกุนยา (Chikungunya)

ไข้ชิคุนกุนยา vs ไข้เลือดออก ข้อมูลโรคและสาเหตุการเกิดโรค โรคชิคุนกุนยา เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ “ชิคุนกุนยาไวรัส” ติดต่อมาสู่คน โดยการถูกยุงลายกัด มีระยะฟักตัว ของโรคหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 2–5 วัน มีอาการคล้ายกับไข้เลือดออก ต่างกันที่ ไม่มีการรั่วของพลาสมาออกนอกเส้นเลือด จึงไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากจนถึงขั้นช็อก อาการของโรค * ไข้สูงเฉียบพลัน โดยมักมีไข้ประมาณ 2-4 วัน หลังจากนั้น ไข้จะลงอย่างรวดเร็ว * ปวดตามข้อ ส่วนใหญ่จะเป็นที่ข้อเล็กๆ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า อาการปวดข้อจะพบได้หลายๆ ข้

article-cover
  • อื่นๆ
  • ไข้เลือดออกที่มีอาการรุนแรง (Dengue hemorrhagic fever)

ไข้เลือดออกที่มีอาการรุนแรง (Dengue hemorrhagic fever)

ข้อมูลโรคและสาเหตุการเกิดโรค โรคไข้เลือดออกเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี่ โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ เมื่อยุงลายกัดและดูดเลือดที่มีเชื้อจากผู้ป่วยแล้วไปกัดผู้ใด ก็จะถ่ายทอดเชื้อโรคนี้ให้กับผู้ที่ถูกกัด เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายคนและผ่านระยะฟักตัวนานประมาณ 5-8 วัน (สั้นที่สุดประมาณ 3 วัน - นานที่สุดประมาณ 15 วัน) ก็จะทำให้เกิดอาการของโรคได้ อาการของโรค มีอาการทั่วไปของโรคไข้เลือดออกนำมาก่อน ดังนี้ * มีไข้สูงเฉียบพลัน ติดต่อกันประมาณ 3-8 วัน * หน้าแดง ปวดศีรษะ ปวดรอบกระบอกตา * ปวดเมื่อ

article-cover
  • อื่นๆ
  • โรคฉี่หนู (Leptospirosis (uncomplicated))

โรคฉี่หนู (Leptospirosis (uncomplicated))

โรคฉี่หนู อันตรายที่มากับฝน ข้อมูลโรคและสาเหตุการเกิดโรค โรคฉี่หนู หรือ Leptospirosis เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียจากสัตว์สู่คน เชื้อก่อโรคจะปนออกมากับฉี่ของสัตว์ต่างๆ โดยหนูจะเป็นแหล่งแพร่เชื้อที่สำคัญที่สุด จึงเรียกว่า โรคฉี่หนู แต่อย่างไรก็ตามสัตว์อื่นๆ อย่างเช่น สุนัข วัว ควาย ก็สามารถมีเชื้อ และ แพร่เชื้อมาสู่คนได้เช่นเดียวกัน (เชื้อนี้ไม่ทำให้สัตว์มีอาการป่วย) โดยเชื้อจะถูกขับออกมากับฉี่ของสัตว์เหล่านี้มาอยู่ในดินที่ชื้นแฉะ น้ำท่วมขัง หรือตามสวนไร่นาที่มีน้ำขัง และเชื้อก็จะมีชีวิตอยู่ในสิ่ง

......