โรค ใบหูอักเสบ (Auricular perichondritis) เกิดจากอะไร และวิธีการรักษาเบื้องต้นเป็นอย่างไร


เขียนโดย
ข้อมูลโรคและสาเหตุการเกิดโรค
การอักเสบของกระดูกอ่อนใบหู ในระยะต้นจะมีการอักเสบของเยื่อหุ้มกระดูกอ่อนโดยไม่มีน้ำหนอง ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมโรคจะดำเนินต่อไปทำให้มีน้ำหนองและมีการตายของกระดูกอ่อน สาเหตุมักเกิดเป็นภาวะแทรกซ้อนเมื่อมีการบาดเจ็บของใบหู เช่น ได้รับบาดเจ็บจากการถูกสารเคมีหรือความร้อน บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ มีการอักเสบติดเชื้อของหูชั้นนอกหรือผิวหนังบริเวณใบหูแล้วลามมาที่กระดูกอ่อนใบหู
อาการของโรค
- อาการปวดตื้อๆที่ใบหูในระยะแรก
- ใบหูจะเริ่มบวม แดง ร้อน และเจ็บ โดยจะไม่มีอาการปวดบวมแดงที่บริเวณติ่งหู ในระยะต้นการอักเสบจะอยู่เฉพาะที่แต่การอักเสบจะดำเนินต่อไปอย่างรวดเร็ว ถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม จะทำให้มีการอักเสบทั้งใบหู มีการตายของกระดูกอ่อนใบหูและมีหนองขัง ทำให้มีผลตามมาในภายหลังเมื่อการอักเสบหายแล้ว คือ ใบหูเสียรูปลักษณ์ ห่อตัว เป็นลักษณะคล้ายกะหล่ำ
แนวทางการตรวจวินิจฉัยโรค
แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยโรคนี้ได้ด้วยการซักประวัติและตรวจร่างกาย
แนวทางการดูแลรักษา
- ให้ยาปฏิชีวนะซึ่งสามารถครอบคลุมเชื้อต้นเหตุ โดยเฉพาะเชื้อ Pseudomonas aeruginosa ในรายที่มีพบแพทย์ค่อนข้างเร็ว ยังไม่มีฝีหนองและการตายของกระดูกอ่อนอาจควบคุมภาวะ นี้ได้ด้วยการให้ยาแบบรับประทานเท่านั้น
- การผ่าตัดในกรณีที่มีฝีหนองเกิดขึ้น ต้องทำการผ่าตัดนำหนอง และกระดูกอ่อนที่ตายออกโดยยังไม่ต้องเย็บ แผลปิด
แพทย์เฉพาะทางแนะนำ
หู คอ จมูก
ข้อควรระวัง
ในระยะต้นการอักเสบจะอยู่เฉพาะที่แต่การอักเสบจะดำเนินต่อไปอย่างรวดเร็ว ถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม จะทำให้มีการอักเสบทั้งใบหู มีการตายของกระดูกอ่อนใบหูและมีหนองขัง ทำให้มีผลตามมาในภายหลังเมื่อการอักเสบหายแล้ว คือ ใบหูเสียรูปลักษณ์ ห่อตัว เป็นลักษณะคล้ายกะหล่ำ
ข้อมูลเพิ่มเติม
https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=476 https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5847504/