โรค อ่อนเพลียทั่วไป (Fatigue unspecified) เกิดจากอะไร และวิธีการรักษาเบื้องต้นเป็นอย่างไร

วันที่โพสต์:
feature-image-blurfeature-image

เขียนโดย

แชร์บทความ

share-optionshare-optionshare-optionshare-option

ข้อมูลโรคและสาเหตุการเกิดโรค

อาการอ่อนเพลีย (fatigue) เป็นอาการที่พบได้ทั่วไปและไม่เฉพาะเจาะจงต่อโรคใดโรคหนึ่ง ในบางครั้งผู้ป่วยอาจจะมีอาการอ่อนเพลียชั่วคราวโดยที่ไม่ได้มีโรคใดใดก็ได้ แต่ถ้าผู้ป่วยมีโรคก็อาจจะพบเจอได้ในหลายๆโรค ทั้งโรคที่เป็นอย่างเฉียบพลัน โรคที่เป็นอย่างต่อเนื่องยาวนาน โรคทางจิตใจ และโรคที่มาจากการใช้สิ่งเสพย์ติด อาการอ่อนเพลียเฉียบพลันจะนับรวมระยะเวลาที่เป็นน้อยกว่า 1 เดือน ซึ่งมักจะสัมพันธ์กับโรคติดเชื้อเฉียบพลันต่างๆ เช่นโรคไข้หวัดใหญ่เป็นต้น ส่วนอาการอ่อนเพลียแบบกึ่งเฉียบพลัน (subacute) จะหมายถึงอาการอ่อนเพลียที่เป็นตั้งแต่ 1 เดือนถึง 6 เดือน และอาการอ่อนเพลียที่เป็นมานานมากกว่า 6 เดือน จะถือว่าเป็นอาการที่เป็นเรื้อรัง ซึ่งมักจะสัมพันธ์กับโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจวาย โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง โรคข้อต่างๆ โรคในระบบโลหิต โรคทางจิตใจ หรือแม้แต่อาการจากการเสพสิ่งเสพย์ติดก็ได้เป็นต้น

อาการของโรค

อาการอ่อนเพลียสามารถรวมไปถึงอาการของการไม่สามารถเริ่มหรือไม่สามารถทำกิจกรรมหนึ่งใดได้ รู้สึกว่าอ่อนแรง มีความสามารถลดลงในการทำกิจกรรมหนึ่งๆต่อไป

แนวทางการตรวจวินิจฉัยโรค

เนื่องจากอาการอ่อนเพลียเป็นอาการที่ไม่จำเพาะเจาะจงตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น การตรวจวินิจฉัยจึงมักจะใช้การซักประวัติและการตรวจร่างกายด้านอื่นๆมาช่วยเป็นหลักเพื่อคำนึงถึงสาเหตุของอาการตต่างๆที่เป็นไปได้ หลังจากนั้นแพทย์ผู้รักษาอาจจะพิจารณาส่งตรวจเพิ่มเติมตามสาเหตุที่สงสัยมากที่สุดต่อไป

แนวทางการดูแลรักษา

ผู้ที่มีอาการอ่อนเพลียแบบเฉียบพลันสามารถสังเกตุอาการเบื้องต้นได้ด้วยตัวเองว่ามีอาการอื่นที่ร้ายแรงกว่าหรือไม่ โดยอาจจะมีวิธีปฎิบัติตัวช่วงสังเกตุอาการ โดยการพักผ่อนให้เพียงพอ นั่งสมาธิ ทานอาหารให้ครบหมู่ และออกกำลังกาย ผู้ที่มีอาการอ่อนเพลียแบบกึ่งเรื้อรังหรือแบบเรื้อรัง โดยที่ไม่ทราบสาเหตุควรพิจารณาปรึกษาแพทย์เพื่อตตรวจหาสาเหตุต่อไป เพื่อรักษาให้ตรงจุด

แพทย์เฉพาะทางแนะนำ

อายุรแพทย์, กุมารแพทย์ กรณีอายุน้อยกว่า 15 ปี

ข้อควรระวัง

ผู้ที่มีอาการอ่อนเพลียร่วมกับอาการร้ายแรงอื่นๆเช่น มีไข้สูง, อาการไม่ดีขึ้นแม้พักผ่อนอย่างถูกวิธีแล้ว, อาการรุนแรงขึ้นเฉียบพลัน ควรพิจารณาปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยต่อไป

ข้อมูลเพิ่มเติม

https://www.pobpad.com/อ่อนเพลีย https://www.nia.nih.gov/health/fatigue-older-adults

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

article-cover
  • อื่นๆ
  • ไข้เลือดออก (Dengue fever)

ไข้เลือดออก (Dengue fever)

โรคมาพร้อมกับหน้าฝน โรคไข้เลือดออก ข้อมูลโรคและสาเหตุการเกิดโรค โรคไข้เลือดออกเกิดจาก การติดเชื้อไวรัสเดงกี่ โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ เมื่อยุงลายกัดและดูดเลือดที่มีเชื้อจากผู้ป่วยแล้วไปกัดผู้ใด ก็จะถ่ายทอดเชื้อโรคนี้ให้กับผู้ที่ถูกกัด เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายคน และ ผ่านระยะฟักตัวนานประมาณ 5-8 วัน (สั้นที่สุด 3 วัน - นานที่สุด 15 วัน) ก็จะทำให้เกิดอาการของโรคได้ อาการของโรค * มีไข้สูงเฉียบพลัน ติดต่อกันประมาณ 3-8 วัน * หน้าแดง * ปวดศีรษะ บางคนจะบ่น ปวดรอบกระบอกตา * ปวดเมื่อยกล้า

article-cover
  • อื่นๆ
  • โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (AIDS)

โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (AIDS)

ข้อมูลโรคและสาเหตุการเกิดโรค โรคเอดส์ หรือ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องเป็นระยะสุดท้ายของการติดเชื้อเอชไอวี โดย HIV ย่อมาจาก human immunodeficiency virus เป็นเชื้อไวรัส ในขณะที่ AIDS คือ acquired immune deficiency syndrome คือ กลุ่มอาการของโรคที่มีความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งเกิดจากการที่เชื้อเอชไอวีทำลาย จนร่างกายของผู้ป่วยไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคทั้งหลายที่เข้าสู่ร่างกายได้ ซึ่งเป็นอาการระยะท้ายๆของการติดเชื้อ แปลว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวีหากรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ก็จะไม่กลายเป็นเอดส

article-cover
  • อื่นๆ
  • ไข้ชิคุนกุนยา (Chikungunya)

ไข้ชิคุนกุนยา (Chikungunya)

ไข้ชิคุนกุนยา vs ไข้เลือดออก ข้อมูลโรคและสาเหตุการเกิดโรค โรคชิคุนกุนยา เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ “ชิคุนกุนยาไวรัส” ติดต่อมาสู่คน โดยการถูกยุงลายกัด มีระยะฟักตัว ของโรคหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 2–5 วัน มีอาการคล้ายกับไข้เลือดออก ต่างกันที่ ไม่มีการรั่วของพลาสมาออกนอกเส้นเลือด จึงไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากจนถึงขั้นช็อก อาการของโรค * ไข้สูงเฉียบพลัน โดยมักมีไข้ประมาณ 2-4 วัน หลังจากนั้น ไข้จะลงอย่างรวดเร็ว * ปวดตามข้อ ส่วนใหญ่จะเป็นที่ข้อเล็กๆ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า อาการปวดข้อจะพบได้หลายๆ ข้

article-cover
  • อื่นๆ
  • โรคฉี่หนู (Leptospirosis (uncomplicated))

โรคฉี่หนู (Leptospirosis (uncomplicated))

โรคฉี่หนู อันตรายที่มากับฝน ข้อมูลโรคและสาเหตุการเกิดโรค โรคฉี่หนู หรือ Leptospirosis เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียจากสัตว์สู่คน เชื้อก่อโรคจะปนออกมากับฉี่ของสัตว์ต่างๆ โดยหนูจะเป็นแหล่งแพร่เชื้อที่สำคัญที่สุด จึงเรียกว่า โรคฉี่หนู แต่อย่างไรก็ตามสัตว์อื่นๆ อย่างเช่น สุนัข วัว ควาย ก็สามารถมีเชื้อ และ แพร่เชื้อมาสู่คนได้เช่นเดียวกัน (เชื้อนี้ไม่ทำให้สัตว์มีอาการป่วย) โดยเชื้อจะถูกขับออกมากับฉี่ของสัตว์เหล่านี้มาอยู่ในดินที่ชื้นแฉะ น้ำท่วมขัง หรือตามสวนไร่นาที่มีน้ำขัง และเชื้อก็จะมีชีวิตอยู่ในสิ่ง

article-cover
  • อื่นๆ
  • น้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)

น้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)

ข้อมูลโรคและสาเหตุการเกิดโรค น้ำตาลในเลือดต่ำ คือ ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 70 mg/dl มักทำให้เกิดอาการใจสั่นอ่อนเพลีย ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำนั้นมีโอกาสเกิดขึ้นสูงกับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ใช้ยาลดน้ำตาลหรือยาฉีดอินซูลิน (Insulin) อาการของโรค ผู้ป่วยแต่ละคนจะมีอาการที่แตกต่างกันไป อาการที่พบได้บ่อย ได้แก่ * เหงื่อแตกตัวเย็น * อ่อนเพลีย ไม่มีแรง * เวียนศีรษะ * ตาพร่ามัว * พูดจาสับสน * หากมีอาการรุนแรง อาจจะชัก หรือหมดสติได้ แนวทางการตรวจวินิจฉัยโรค อาศัยประวัติที่เข้าได้กั