โรค ปวดกระบอกตาไม่ทราบสาเหตุ (Ocular pain unspecified) เกิดจากอะไร และวิธีการรักษาเบื้องต้นเป็นอย่างไร


เขียนโดย
ข้อมูลโรคและสาเหตุการเกิดโรค
อาการปวดตาหรือปวดกระบอกตา เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้จากหลายๆโรค ตั้งแต่สาเหตุที่ไม่รุนแรงเช่น อาการตาล้า, ตาแห้ง, ตาแดง, มีสิ่งแปลกปลอมในลูกตา, ตากุ้งยิง, หรือโรคภูมิแพ้เป็นต้น ไปจนถึงสาเหตุที่มีอาการรุนแรงและเร่งด่วน เช่น โรคต้อหินเฉียบพลัน, ท่อน้ำตาอุดตัน, ติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณลูกตา และเส้นประสาทตาอักเสบเป็นต้น
อาการของโรค
นอกจากอาการหลักที่เป็นอาการปวดกระบอกตาแล้ว ผู้ป่วยอาจมีอาการต่างๆร่วมด้วยได้ดังต่อไปนี้ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับสาเหตุของการปวดกระบอกตานั้นๆ
- ดาแดง
- ตาสู้แสงไม่ได้
- มีน้ำตา/ขี้ตา ปริมาณมากขึ้น
- ปวดศีรษะ
- การมองเห็นแย่ลงเฉียบพลัน หรือค่อยเป็นค่อยไป
แนวทางการตรวจวินิจฉัยโรค
ผู้ที่ทำการตรวจวินิจฉัยจะเป็นแพทย์เฉพาะทางด้านจักษุ ซึ่งสามารถทำได้โดยการซักประวัติและตรวจร่างกายเป็นหลัก โดยที่อาจจะมีอุปกรณ์พิเศษในการดูตา เพื่อความแม่นยำที่มากขึ้น หรืออาจจะมีการหยอดตาเพื่อขยายรูม่านตาเพื่อดูจอประสาทตา หรือการย้อมสีต่างๆ การวัดความดันลูกตา ทั้งนี้ทั้งนั้นเพื่อหาสาเหตุของการปวดกระบอกตานั้นๆ
แนวทางการดูแลรักษา
วิธีการรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเกิดอาการปวดกระบอกตาเป็นหลัก แต่ในกรณีที่มีอาการไม่รุนแรง ผู้ป่วยสามารถรักษาแบบประคับประคองได้ด้วยตัวเองก่อน เช่น การพักสายตา, การรับประทานยาแก้ปวด, การใช้น้ำตาเทียม เป็นต้น
แพทย์เฉพาะทางแนะนำ
จักษุแพทย์, กุมารแพทย์ กรณีอายุน้อยกว่า 15 ปี
ข้อควรระวัง
ผู้ป่วยที่มีอาการปวดตาร่วมกับอาการดังต่อไปนี้ควรพิจารณาพบแพทย์ทันที มีอาการปวดตารุนแรงและต่อเนื่องนานเกิน 2 วัน, มีอาการปวดมากขึ้นเวลากลอกตาไปมา, มีอาการบวมรอบดวงตา, มีอาการตาแดง, โดนสารเคมีเข้าบริเวณตา และมีแขนขาอ่อนแรงร่วมด้วย
ข้อมูลเพิ่มเติม
https://www.pobpad.com/ปวดตา https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5711963/