โรค ไข้เลือดออก (Dengue fever) เกิดจากอะไร และวิธีการรักษาเบื้องต้นเป็นอย่างไร

วันที่โพสต์:
feature-image-blurfeature-image

เขียนโดย

แชร์บทความ

share-optionshare-optionshare-optionshare-option

โรคมาพร้อมกับหน้าฝน โรคไข้เลือดออก

ข้อมูลโรคและสาเหตุการเกิดโรค

โรคไข้เลือดออกเกิดจาก การติดเชื้อไวรัสเดงกี่ โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ เมื่อยุงลายกัดและดูดเลือดที่มีเชื้อจากผู้ป่วยแล้วไปกัดผู้ใด ก็จะถ่ายทอดเชื้อโรคนี้ให้กับผู้ที่ถูกกัด เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายคน และ ผ่านระยะฟักตัวนานประมาณ 5-8 วัน (สั้นที่สุด 3 วัน - นานที่สุด 15 วัน) ก็จะทำให้เกิดอาการของโรคได้

อาการของโรค

  • มีไข้สูงเฉียบพลัน ติดต่อกันประมาณ 3-8 วัน
  • หน้าแดง
  • ปวดศีรษะ บางคนจะบ่น ปวดรอบกระบอกตา
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อแขนขา ปวดกระดูก
  • เบื่ออาหาร
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • อาจมีผื่นแดงตามตัว
  • อาการเลือดออก ที่พบบ่อยที่สุดคือที่ผิวหนัง โดยจะตรวจพบว่าเส้นเลือดเปราะแตกง่าย ร่วมกับมีจุดเลือดออกเล็กๆ กระจายอยู่ตามแขน ขา ลำตัว รักแร้

แนวทางการตรวจวินิจฉัย

เนื่องจากอาการของโรคไข้เลือดออกในระยะแรกๆ คล้ายกับโรคติดเชื้อหลายโรค เช่น ไข้หวัดใหญ่ และไข้จากสาเหตุอื่น ดังนั้น นอกเหนือจากการซักประวัติและตรวจร่างกายแล้ว แพทย์อาจเจาะเลือดตรวจเพิ่มเติม เพื่อวินิจฉัยโรคไข้เลือดออก ดังนี้

  • ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) เพื่อหาความผิดปกติของเม็ดเลือดขาว และเกร็ดเลือด
  • ตรวจภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไข้เลือดออก (Dengue IgM)
  • ตรวจหาส่วนประกอบของเชื้อไข้เลือดออก (NS1-Ag) ในช่วง 1-2 วันแรกของการป่วย แนะนำให้ผู้ป่วยดูแลรักษาแบบประคับประคองไปก่อน เพราะ อาจจะตรวจไม่พบเชื้อ หรือการเปลี่ยนแปลงใดจากการเจาะเลือดเลย จึงไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยในวันที่ 3 ของการป่วยเป็นต้นไป และ เมื่อวินิจฉัยไข้เลือดออก แพทย์อาจนัดมาตรวจดูการเปลี่ยนแปลงของเกร็ดเลือด และ ความเข้มข้นของเลือดเป็นระยะๆ เพราะเมื่อปริมาณเกร็ดเลือดเริ่มลดลงและความเข้มข้นเลือดเริ่มสูงขึ้นจะเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าน้ำเลือดรั่วออกจากเส้นเลือด และ อาจเกิดภาวะช็อกได้ จึงจำเป็นต้องนอนโรงพยาบาลเพื่อให้สารน้ำชดเชย

แนวทางการดูแลรักษา

ปัจจุบันยังไม่มียาต้านเชื้อไวรัสสำหรับโรคไข้เลือดออก การรักษาจึงเป็นไปตามอาการเพื่อประคับประคองให้ร่างกายของผู้ป่วยกลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว ซึ่งในรายที่อาการไม่รุนแรง โรคไข้เลือดออกอาจหายได้เองภายใน 2-7 วัน โดยการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก มีหลักปฏิบัติดังนี้

  • ให้ยาลดไข้ โดยยาลดไข้ที่ควรใช้ คือ พาราเซตามอล ห้ามใช้ยาพวกแอสไพริน(Aspirin), ไอบูโพรเฟน(Ibuprofen), หรือยาแก้อักเสบอื่นๆในกลุ่ม NSAIDs เพราะจะทำให้เกล็ดเลือดทำงานได้น้อยลง และระคายกระเพาะอาหาร ทำให้เลือดออกได้ง่ายขึ้น และอาจจะทำให้อาการของโรครุนแรงมากขึ้นได้ หมายเหตุ
  1. การใช้ายาลดไข้มากเกินไปจะมีภาวะเป็นพิษต่อตับได้ ควรจะใช้การเช็ดตัวลดไข้ หรืออาบน้ำลดไข้ร่วมด้วย และยาลดไข้ไม่ได้ทำให้การติดเชื้อไข้เลือดออกหายเร็วขึ้น
  2. ในระยะไข้สูง ผู้ป่วยเด็กอาจมีการชักได้ถ้าไข้สูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่มีประวัติเคยชัก หรือในเด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน จำเป็นต้องให้ยาลดไข้ ร่วมกับการเช็ดตัวลดไข้บ่อยๆ เพื่อป้องกันการชักจากไข้
  • ให้น้ำชดเชย กินน้ำมากๆ เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่มีไข้สูง เบื่ออาหาร และอาเจียน ทำให้ขาดน้ำ ควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำผลไม้หรือสารละลายผงน้ำตาลเกลือแร่(ORS) ในรายที่อาเจียนควรให้ดื่มครั้งละน้อยๆ และดื่มบ่อยๆ
  • กรณีที่มีอาการอาเจียน สามารถทานยาแก้อาเจียนได้
  • ติดตามดูอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันภาวะช็อกได้ทันเวลา

แพทย์เฉพาะทางแนะนำ

อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ, กุมารแพทย์ โรคติดเชื้อ กรณีอายุน้อยกว่า 15 ปี

ข้อควรระวัง

ภาวะฉุกเฉินสำหรับผู้ป่วยไข้เลือดออกที่ต้องเฝ้าระวังและสังเกต คือ ภาวะช็อก หรือการไหลเวียนโลหิตล้มเหลว ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นพร้อมๆกับการที่ไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว เวลาที่เกิดอาการช็อกจึงขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่มีไข้ อาจเกิดได้ตั้งแต่วันที่ 3 ของโรค ไปจนถึงวันที่ 8 ของโรค ผู้ป่วยจะมีอาการแย่ลง ร่วมกับอาการดังต่อไปนี้

  • กระสับกระส่าย กระหายน้ำมาก
  • มือเท้าเย็น ตัวเย็น แต่มีเหงื่อออก
  • ปัสสาวะออกน้อยลง
  • ชีพจรเบาเร็ว หรือความดันโลหิตต่ำลง
  • ซึมลง
  • ปลายมือปลายเท้ามีสีคล้ำหรือซีดลง
  • มีเลือดออกผิดปกติ เช่น เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน ปัสสาวะปนเลือด เลือดออกทางช่องคลอด
  • อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือดสีแดงหรือดำ ซึ่งเกิดจากการที่มีเลือดออกในทางเดินอาหาร ดังนั้น หากสังเกตว่าไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว ร่วมกับอาการใดอาการหนึ่งข้างต้น ควรรีบมาพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

ข้อมูลเพิ่มเติม

https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=44

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

article-cover
  • โควิด-19
  • สุขภาพทั่วไป
  • +7

โควิด-19 VS โรคฤดูฝน

เชื่อว่าหลายๆคนคงจะทราบดีว่า..หน้าฝนเนี่ย มักมาพร้อมเชื้อโรคและโรคภัยต่างๆ ไม่ซ้ำกันเลยทีเดียว ยิ่งช่วงนี้…มีโควิด 19 เข้ามาอีก นับได้ว่า…โรครุมล้อมกันเลยทีเดียว และแน่นอนว่าหากพูดถึงโควิดแล้ว หลายๆคนอาจกังวลไปต่างๆนาๆ ว่าอาการที่เราเป็นใช่โควิดหรือเปล่า เราติดยังนะ ? แต่รู้หรือไม่ว่า ช่วงหน้าฝนก็มีไข้หวัด หรือโรคตามฤดูที่อาจมีอาการค่อนข้างคล้ายกับโควิด-19 อีกด้วย วันนี้ Agnos จะพามาเปรียบเทียบกันว่า อาการแบบไหน มีสิทธิ์เป็นอะไรกันแน่ ! เรามาเริ่มกันด้วยโรคยอดฮิตในฤดูฝนกันก่อน โรคที่พบ

article-cover
  • อื่นๆ
  • โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (AIDS)

โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (AIDS)

ข้อมูลโรคและสาเหตุการเกิดโรค โรคเอดส์ หรือ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องเป็นระยะสุดท้ายของการติดเชื้อเอชไอวี โดย HIV ย่อมาจาก human immunodeficiency virus เป็นเชื้อไวรัส ในขณะที่ AIDS คือ acquired immune deficiency syndrome คือ กลุ่มอาการของโรคที่มีความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งเกิดจากการที่เชื้อเอชไอวีทำลาย จนร่างกายของผู้ป่วยไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคทั้งหลายที่เข้าสู่ร่างกายได้ ซึ่งเป็นอาการระยะท้ายๆของการติดเชื้อ แปลว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวีหากรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ก็จะไม่กลายเป็นเอดส

article-cover
  • อื่นๆ
  • ไข้ชิคุนกุนยา (Chikungunya)

ไข้ชิคุนกุนยา (Chikungunya)

ไข้ชิคุนกุนยา vs ไข้เลือดออก ข้อมูลโรคและสาเหตุการเกิดโรค โรคชิคุนกุนยา เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ “ชิคุนกุนยาไวรัส” ติดต่อมาสู่คน โดยการถูกยุงลายกัด มีระยะฟักตัว ของโรคหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 2–5 วัน มีอาการคล้ายกับไข้เลือดออก ต่างกันที่ ไม่มีการรั่วของพลาสมาออกนอกเส้นเลือด จึงไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากจนถึงขั้นช็อก อาการของโรค * ไข้สูงเฉียบพลัน โดยมักมีไข้ประมาณ 2-4 วัน หลังจากนั้น ไข้จะลงอย่างรวดเร็ว * ปวดตามข้อ ส่วนใหญ่จะเป็นที่ข้อเล็กๆ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า อาการปวดข้อจะพบได้หลายๆ ข้

article-cover
  • อื่นๆ
  • โรคฉี่หนู (Leptospirosis (uncomplicated))

โรคฉี่หนู (Leptospirosis (uncomplicated))

โรคฉี่หนู อันตรายที่มากับฝน ข้อมูลโรคและสาเหตุการเกิดโรค โรคฉี่หนู หรือ Leptospirosis เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียจากสัตว์สู่คน เชื้อก่อโรคจะปนออกมากับฉี่ของสัตว์ต่างๆ โดยหนูจะเป็นแหล่งแพร่เชื้อที่สำคัญที่สุด จึงเรียกว่า โรคฉี่หนู แต่อย่างไรก็ตามสัตว์อื่นๆ อย่างเช่น สุนัข วัว ควาย ก็สามารถมีเชื้อ และ แพร่เชื้อมาสู่คนได้เช่นเดียวกัน (เชื้อนี้ไม่ทำให้สัตว์มีอาการป่วย) โดยเชื้อจะถูกขับออกมากับฉี่ของสัตว์เหล่านี้มาอยู่ในดินที่ชื้นแฉะ น้ำท่วมขัง หรือตามสวนไร่นาที่มีน้ำขัง และเชื้อก็จะมีชีวิตอยู่ในสิ่ง