โรค โรคนอนไม่หลับ (Insomnia) เกิดจากอะไร และวิธีการรักษาเบื้องต้นเป็นอย่างไร

วันที่โพสต์:
feature-image-blurfeature-image

เขียนโดย

แชร์บทความ

share-optionshare-optionshare-optionshare-option

ข้อมูลโรคและสาเหตุการเกิดโรค

โรคนอนไม่หลับเป็นปัญหาที่พบได้ในทุกเพศทุกวัย แม้ว่าโรคนี้จะไม่ได้รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต แต่ก็ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และคุณภาพชีวิตได้ สาเหตุการเกิดโรคเกิดได้จากหลายปัจจัย คือ

  • ปัจจัยด้านร่างกาย มีอาการป่วยที่มีส่วนทำให้เกิดโรค เช่น โรคขาอยู่ไม่สุข (Restless legs syndrome) โรคกรดไหลย้อน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ นอกจากนี้ยังเกิดจากสภาวะของร่างกายตามอายุ เช่น การหมดประจำเดือน รวมไปถึงอาการเหนื่อยล้าจากการทำงาน
  • ปัจจัยด้านจิตใจ สภาวะความเครียด ความวิตกกังวลมีผลทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับได้ และอาการนอนไม่หลับเองก็เป็นหนึ่งในอาการสำคัญที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า หรือไบโพลาร์ด้วย
  • ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ห้องนอนที่มีแสงสว่างหรือมีเสียงดังรบกวนก็เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย รวมไปถึงที่นอนที่ไม่พอดี การนอนในที่ที่ไม่คุ้นเคยด้วย
  • ปัจจัยด้านอื่น ๆ เช่น การออกกำลังกายมากเกินไป การดื่มหรือทานอาหารที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน ผลข้างเคียงจากใช้ยาบางชนิด เช่น ยาลดน้ำมูกกลุ่ม psudoepheridrine, ยาลดน้ำหนัก, ยาแก้หอบหืด, ยาต้านซึมเศร้า, ยากลุ่ม methylphenidate เป็นต้น

อาการของโรค

อาการนอนไม่หลับ แบ่งออกได้เป็น 3 แบบหลักๆคือ 1.Initial insomnia คือ ภาวะที่มีปัญหาหลับยาก พยายามนอนแล้ว แต่ใช้เวลานานกว่าจะหลับ 2.Maintenance insomnia คือ ภาวะที่ไม่สามารถนอนหลับได้ยาว มีการตื่นกลางดึกบ่อย ภาวะนี้อาจเกี่ยวข้องกับปัญหาทางกาย เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หรือโรคที่ทำให้มีปัญหาปัสสาวะบ่อยกลางคืน 3.Terminal insomnia คือ ภาวะที่ตื่นเร็วกว่าเวลาที่ควรจะตื่น ทำให้ชั่วโมงการนอนไม่เพียงพอ การนอนที่ไม่เพียงพอ จะนำไปสู่อาการผิดปกติระบบอื่นๆตามมา เช่น

  • อ่อนเพลีย
  • สมาธิจดจ่อแย่ลง
  • ความจำแย่ลง
  • อารมณ์หงุดหงิดง่าย กระสับกระส่าย
  • ง่วงนอนเวลากลางวัน

แนวทางการตรวจวินิจฉัยโรค

อาศัยการซักประวัติดูลักษณะของการนอนไม่หลับ อุปนิสัยการนอน สอบถามประวัติความเจ็บป่วย ปัญหาที่ทำให้เกิดความกังวลใจหรือความเครียด ร่วมกับการตรวจร่างกายอย่างละเอียดเพื่อค้นหาสาเหตุของอาการนอนไม่หลับ นอกจากนี้แพทย์ผู้ทำการรักษาอาจให้ทำแบบบันทึกการนอน (sleep diary) เพื่อให้สามารถทราบถึงลักษณะการนอนหลับและการตื่นที่ผิดปกติได้ละเอียดยิ่งขึ้นด้วย

แนวทางการดูแลรักษา

อันดับแรก ต้องดูที่สาเหตุของการนอนไม่หลับก่อนเสมอ ถ้าเกิดจากโรคทางกาย ก็จะต้องรักษาที่ต้นเหตุก่อน เช่น นอนไม่หลับจากการตื่นมาปัสสาวะบ่อยกลางคืน นอนไม่หลับจากภาวะซึมเศร้า เป็นต้น หลักในการรักษาโรคนอนไม่หลับ แบ่งเป็นการรักษาแบบใช้ยาและไม่ใช้ยา

  • การรักษาแบบไม่ใช้ยาด้วยการปรับพฤติกรรมการนอน ได้แก่
  • เข้านอนตรงเวลาและตื่นตรงเวลาทุกวันทั้งวันธรรมดาและวันหยุด
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ วลาที่เหมาะสมควรเป็นช่วงเวลาเช้า และไม่ควรออกกำลังกายก่อนเวลานอน 2 ชั่วโมง
  • สร้างบรรยากาศห้องนอนที่เหมาะสม มีความเงียบสงบและไม่ร้อนหรือหนาวไป
  • ควรปิดไฟขณะนอนหลับ
  • ก่อนเวลานอน 1 ชั่วโมงควรควรทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย เช่น ฟังเพลงสบายๆ อ่านหนังสือ นั่งสมาธิ ทำกิจกรรมเบาๆ ที่ทำให้ไม่ตื่นเต้นและไม่เครียด
  • ไม่ควรทำกิจกรรมที่ตื่นเต้นก่อนนอน เช่น เล่นเกมส์ ดูหนังที่มีความตื่นเต้น
  • ไม่ควรดื่มชากาแฟ และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน อย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนการนอน
  • ไม่ควรทานอาหารมื้อใหญ่ อย่างน้อย 4 ชม. ก่อนการนอน
  • สามารถนอนงีบได้ในเวลากลางวันโดยงีบไม่เกิน 20 นาที และไม่ควรงีบหลับหลังบ่ายสามโมง
  • ระหว่างนอนหลับไม่ควรดูนาฬิกาเนื่องจากจะทำให้เกิดความกังวล
  • การรักษาด้วยยา หากตรวจพบว่าสาเหตุของอาการนอนไม่หลับมาจากภาวะซึมเศร้า หรือไบโพลาร์ แพทย์จะให้ทานยาเพื่อรักษาที่ต้นเหตุร่วมด้วยเสมอ สำหรับผู้ที่มีปัญหานอนไม่หลับโดยไม่มีปัญหาทางกายอื่นๆ แพทย์อาจจะให้ยานอนหลับมาช่วยในช่วงแรก ร่วมกับการแนะนำให้ปรับพฤติกรรมการนอนข้างต้น ตัวอย่างยา เช่น Lorazepam, Alprazolam, Diazepam, Trazodone เป็นต้น โดยยาเหล่านี้จะต้องจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยา

แพทย์เฉพาะทางแนะนำ

จิตแพทย์, กุมารแพทย์ ระบบประสาท กรณีอายุน้อยกว่า 15 ปี

ข้อควรระวัง

  • ภาวะนอนไม่หลับ โดยส่วนใหญ่สามารถรักษาได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องใช้ยา ด้วยการปรับพฤติกรรมการนอน และจัดการกับความเครียด แต่หากปัญหานอนไม่หลับเป็นต่อเนื่องเรื้อรัง คือ นอนไม่หลับมากกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นมานานอย่างน้อย 3 เดือน หรืออาการส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันมาก ควรหาทางปรึกษานักจิตบำบัด หรือปรึกษาจิตแพทย์เพิ่มเติมต่อไป
  • ยานอนหลับบางชนิด ไม่ควรใช้ต่อเนื่องกันนานเกิน 2 สัปดาห์ เนื่องจากจะเกิดการดื้อยาทำให้ต้องใช้ยาในขนาดสูงขึ้น หรือเกิดการติดยาทำให้ไม่สามารถนอนหลับได้เองหากไม่ใช้ยา จึงต้องระมัดระวังการใช้ และใช้ยาภายใต้คำแนะนำของแพทย์เท่านั้น

ข้อมูลเพิ่มเติม

https://www.nonthavej.co.th/Insomnia-2.php https://www.bumrungrad.com/th/conditions/insomnia

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

article-cover
  • ซึมเศร้า
  • นอน
  • +2

ซึมเศร้าทำให้มีปัญหาเรื่องการนอน หรือ มีปัญหาเรื่องการนอนทำให้เป็นซึมเศร้า ?

ซึมเศร้าและการนอนเกี่ยวข้องกันอย่างไร ? หลายๆ คนอาจพอรู้มาบ้างว่า…ปัญหาเรื่องการนอนเนี่ย เป็นหนึ่งในอาการของโรคซึมเศร้า ไม่ว่าจะเป็นการนอนไม่หลับ หรือ การนอนมากเกินไป บางคนอาจมีปัญหาเรื่องการนอน บางคนอาจซึมเศร้า หรือทั้งซึมเศร้าทั้งเรื่องนอน! แต่อะไรล่ะ..คือชนวนที่ทำให้เรามีปัญหา ? การนอนหรือเป็นซึมเศร้ากันแน่? วันนี้ Agnos จะพามาหาคำตอบกับคำถามที่ว่า..ซึมเศร้าทำให้มีปัญหาเรื่องการนอน หรือ มีปัญหาเรื่องการนอนทำให้เป็นซึมเศร้า และซึมเศร้าและนอนเกี่ยวข้องกันยังไง ? อันดับแรกเรามาทบทวนกันก่อน

article-cover
  • จิตใจ, อารมณ์
  • ภาวะการปรับตัวผิดปกติ (Adjustment disorder)

ภาวะการปรับตัวผิดปกติ (Adjustment disorder)

ข้อมูลโรคและสาเหตุการเกิดโรค ภาวะการปรับตัวผิดปกติ (adjustment disorder) มีสาเหตุชัดเจนจากภาวะความกดดัน หรือความเครียด ที่ทำให้คนไข้ไม่สามารถปรับตัวรับกับสภาวะนั้นๆ ได้อย่างเหมาะสม มีความทุกข์ ทรมาน จนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การเรียน การงาน และการเข้าสังคม สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยแต่ละคนมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเครียดแตกต่างกัน ภาวะนี้เป็นภาวะทางจิตเวชที่สามารถหายเป็นปกติได้ โดยอาการมักจะเกิดภายในระยะเวลา 3 เดือนหลังจากมีภาวะความกดดัน หรือความเครียดมากระทบ และมีอาการคงอยู่นานไม่เก

article-cover
  • จิตใจ, อารมณ์
  • โรคซึมเศร้า (Major depressive disorder)

โรคซึมเศร้า (Major depressive disorder)

ข้อมูลโรคและสาเหตุการเกิดโรค ความเศร้าปกติ (normal sadness) เป็นอารมณ์ด้านลบ ซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวกับบุคคลทั่วไป เมื่อเผชิญกับการสูญเสีย ผิดหวัง หรือความรู้สึกอึดอัดทรมาน ภาวะซึมเศร้า (depression) ต่างจากความเศร้าปกติตรงที่ เมื่อเผชิญกับเหตุการณ์การสูญเสีย ผิดหวัง ก็มักจะมีอาการเศร้ามากเกินจากปกติ หรือนานกว่าปกติ ไม่ดีขึ้นแม้ได้รับกำลังใจหรืออธิบายด้วยเหตุผล มักรู้สึกสิ้นหวัง ท้อแท้ มองโลกในแง่ร้าย รู้สึกผิด รู้สึกตัวเองไร้ค่าไม่มีความหมาย นอกจากนั้นอาจเป็นความรู้สึกเศร้า ท้อแท้ รู้สึกผิด ก

article-cover
  • จิตใจ, อารมณ์
  • ภาวะเศร้า (Mild depressive state)

ภาวะเศร้า (Mild depressive state)

ข้อมูลโรคและสาเหตุการเกิดโรค ความเศร้าปกติ (normal sadness) เป็นอารมณ์ด้านลบ ซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวกับบุคคลทั่วไป เมื่อเผชิญกับการสูญเสีย ผิดหวัง หรือความรู้สึกอึดอัดทรมาน ภาวะซึมเศร้า (depression) ต่างจากความเศร้าปกติตรงที่ เมื่อเผชิญกับเหตุการณ์การสูญเสีย ผิดหวัง ก็มักจะมีอาการเศร้ามากเกินจากปกติ หรือนานกว่าปกติ ไม่ดีขึ้นแม้ได้รับกำลังใจหรืออธิบายด้วยเหตุผล มักรู้สึกสิ้นหวัง ท้อแท้ มองโลกในแง่ร้าย รู้สึกผิด รู้สึกตัวเองไร้ค่าไม่มีความหมาย นอกจากนั้นอาจเป็นความรู้สึกเศร้า ท้อแท้ รู้สึกผิด ก