โรค เชื้อราในช่องคลอด (Candida vaginitis) เกิดจากอะไร และวิธีการรักษาเบื้องต้นเป็นอย่างไร

วันที่โพสต์:
feature-image-blurfeature-image

เขียนโดย

แชร์บทความ

share-optionshare-optionshare-optionshare-option

ข้อมูลโรคและสาเหตุการเกิดโรค

โรคเชื้อราในช่องคลอดเกิดจากการติดเชื้อราภายในช่องคลอดหรือบริเวณปากช่องคลอด ทำให้เกิดการระคายเคืองและอาการคันอย่างรุนแรง แต่โรคนี้ไม่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยปกติทุกคนมีเชื้อราในช่องคลอดอยู่แล้วปริมาณน้อยๆซึ่งไม่ก่อให้เกิดโรค แต่เมื่อมีการเพิ่มจำนวนของเชื้อราขึ้นมากกว่าปกติจะทำให้สภาพภายในช่องคลอดเสียสมดุลและเกิดอาการของโรคขึ้นได้ โดยมีสาเหตุดังต่อไปนี้

  • การใช้ยาปฏิชีวนะเป็นเวลานาน จะไปลดปริมาณแบคทีเรียที่ดีในช่องคลอด และทำให้ค่าความเป็นกรดด่างภายในช่องคลอดเสียสมดุล
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมอาการของโรคได้
  • ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี (HIV)
  • การสวนล้างช่องคลอดหรือการใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขอนามัยบริเวณช่องคลอดบ่อย ๆ อาจทำให้เสียสมดุลภายในช่องคลอด

อาการของโรค

อาการของภาวะติดเชื้อราในช่องคลอดมีตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงปานกลาง บางคนอาจไม่แสดงอาการผิดปกติใดๆ ถึงแม้จะติดเชื้อก็ตาม อาการที่พบได้มีดังนี้

  • คันช่องคลอด มักจะคันค่อนข้างมากและอาการจะดีขึ้นเมื่อมีประจำเดือน โดยอาการคันจะครอบคลุมบริเวณฝีเย็บด้วย หากคันเฉพาะบริเวณแคมใหญ่ไม่คันข้างในช่องคลอดควรคิดถึงการติดเชื้อราที่ผิวหนัง
  • รู้สึกแสบร้อนขณะมีเพศสัมพันธ์หรือปัสสาวะ
  • มีตกขาวเป็นสีขาวครีมข้น ไม่มีกลิ่น หรือตกขาวเป็นน้ำสีขาวปริมาณมาก

แนวทางการตรวจวินิจฉัยโรค

แพทย์จะทำการวินิจฉัยโดยการซักประวัติผู้ป่วย เช่น เคยมีประวัติเกิดการติดเชื้อราหรือมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มาก่อนหรือไม่ ตรวจภายในและตรวจดูความผิดปกติของลักษณะภายนอก หลังจากนั้นแพทย์จะเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งจากช่องคลอดเพื่อนำไปตรวจในห้องปฏิบัติการ โดยการตรวจเหล่านี้จำเป็นต้องทำโดยบุคลากรที่มีความชำนาญ สำหรับการเป็นครั้งหลังๆ ผู้ป่วยอาจลองซื้อยามาใช้เองได้ แต่จะต้องใช้อย่างถูกวิธีและครบตามจำนวน

แนวทางการดูแลรักษา

  • ยาเฉพาะที่ ได้แก่ ยาทา หรือ ยาเหน็บช่องคลอด ใช้รักษาเชื้อราได้ผลดี ยาทาเฉพาะที่อาจทำให้มีการระคายเคืองหรือแสบร้อนได้แต่จะไม่ทำให้แพ้รุนแรง
  • ยารับประทาน อาจทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง หรือปวดศีรษะ มีค่าเอนไซม์ตับสูงขึ้นได้ ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้รักษาด้วยยารับประทาน ยกเว้นทานตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น และต้องมีการตรวจติดตามผลเลือดเป็นระยะ

แพทย์เฉพาะทางแนะนำ

สูตินรีแพทย์

ข้อควรระวัง

โดยปกติโรคเชื้อราในช่องคลอดไม่ใช่โรคอันตราย สามารถหาซื้อยารักษาเองได้ แต่หากมีข้อควรระวังดังต่อไปนี้ ควรมารับการตรวจวินิจฉัย และดูแลจากแพทย์

  • อาการไม่ดีขึ้น หรือกลับเป็นซ้ำภายในสองเดือนหลังการรักษา
  • มีอาการอย่างน้อย 4 ครั้งใน 1 ปี
  • อาการรุนแรง คือ อวัยวะเพศบวมแดงมาก มีผิวเป็นขุย มีรอยแตกของผิวหนัง กลุ่มนี้มักจะตอบสนองต่อยารับประทานและทายาเฉพาะที่ระยะสั้นได้ไม่ดี
  • ตั้งครรภ์
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ได้แก่ โรคเบาหวานที่คุมได้ไม่ดี หรือผู้ที่ติดเชื้อไวรัส เอชไอวี

ข้อมูลเพิ่มเติม

https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=719 https://www.cdc.gov/fungal/diseases/candidiasis/genital/index.html

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

article-cover
  • อวัยวะเพศ, ระบบสืบพันธุ์
  • สงสัยภาวะตั้งครรภ์ (Pregnancy)

สงสัยภาวะตั้งครรภ์ (Pregnancy)

ข้อมูลโรคและสาเหตุการเกิดโรค การตั้งครรภ์ (Pregnancy) คือ ภาวะที่เกิดจากการปฏิสนธิระหว่างไข่กับอสุจิ แล้วได้ตัวอ่อนเกิดขึ้นมา ในการตั้งครรภ์ปกติ ตัวอ่อนจะไปฝังอยู่ที่เยื่อบุโพรงมดลูก และตัวอ่อนจะแบ่งตัวและพัฒนาเป็นอวัยวะต่าง ๆ จนเจริญเติบโตเป็นทารก ซึ่งผู้หญิงโดยทั่วไปที่มีประจำเดือนปกติและมาสม่ำเสมอทุก ๆ 28 - 30 วัน จะตั้งครรภ์ประมาณ 40 สัปดาห์ หรือประมาณ 280 วัน นับจากวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งล่าสุด อาการของโรค * ประจำเดือนขาด * มีอาการแพ้ท้อง ปรากฏในช่วงตั้งครรภ์ได้ประมาณ 6 สัปดาห์

article-cover
  • อวัยวะเพศ, ระบบสืบพันธุ์
  • อัณฑะอักเสบ (Epididymo-orchitis)

อัณฑะอักเสบ (Epididymo-orchitis)

ข้อมูลโรคและสาเหตุการเกิดโรค โรคอัณฑะอักเสบมีสาเหตุส่วนใหญ่จากการติดเชื้อ โดยเชื้อที่พบบ่อยแบ่งเป็น 1. เชื้อแบคทีเรียก่อโรคที่ผ่านมาทางท่อปัสสาวะ เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางโครงสร้างของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ท่อปัสสาวะตีบ หรือการคาสายสวนท่อปัสสาวะ 2. เชื้อแบคทีเรียก่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากการที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อโดยไม่ได้ใส่ถุงยางอนามัย อาการของโรค * ปวดอัณฑะแบบค่อยๆ ปวดมากขึ้น * อัณฑะบวมข้างเดียว โดยมักจะมีอาการก่อนมาโรงพยาบาลหลายวัน * มีอาการปวดเวลาปัสสา

article-cover
  • อวัยวะเพศ, ระบบสืบพันธุ์
  • ภาวะประจำเดือนมาน้อยผิดปกติ

ภาวะประจำเดือนมาน้อยผิดปกติ (Oligomenorrhea)

ข้อมูลโรคและสาเหตุการเกิดโรค โดยทั่วไป รอบเดือนแต่ละรอบของผู้หญิงจะห่างกันประมาณ 21 - 35 วัน ภาวะประจำเดือนมาน้อยผิดปกติ คือ ภาวะที่มีการขาดประจำเดือน หรือประจำเดือนมาห่างกว่าปกติ อาจเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว และไม่ใช่สัญญาณอันตรายเสมอไป ส่วนใหญ่มักเกิดกับวัยรุ่นและผู้หญิงที่ใกล้เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ตัวอย่างสาเหตุประจำเดือนมาน้อยอื่นๆ ได้แก่ * การตั้งครรภ์ ผู้ที่ตั้งครรภ์อาจมีเลือดออกจากช่องคลอดแบบกะปริบกะปรอยในช่วงแรก จากนั้นจะขาดประจำเดือนไป หากมีความเสี่ยงตั้งครรภ์ควรทำการตรวจการตั้งครรภ์

article-cover
  • อวัยวะเพศ, ระบบสืบพันธุ์
  • มะเร็งปากมดลูก (CA cervix)

มะเร็งปากมดลูก (CA cervix)

ข้อมูลโรคและสาเหตุการเกิดโรค มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งของอวัยวะสืบพันธุ์สตรี เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในสตรีไทย และทำให้มีผู้ป่วยเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก สาเหตุสำคัญของโรคนี้เกิดจากเชื้อ Human papilloma virus หรืออีกชื่อหนึ่งว่า เชื้อเอชพีวี (HPV) ซึ่งเป็นโรคติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ ในชีวิตของผู้หญิงคนหนึ่งอาจจะเคยได้รับเชื้อนี้แต่ร้อยละ 90 นั้นร่างกายสามารถกำจัดเชื้อออกไปได้เอง ขณะที่ผู้ที่ได้รับเชื้ออีกร้อยละ 10 ร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อได้หมด เชื้อนี้จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อบริเ