โรค สงสัยภาวะตั้งครรภ์ (Pregnancy) เกิดจากอะไร และวิธีการรักษาเบื้องต้นเป็นอย่างไร


เขียนโดย
ข้อมูลโรคและสาเหตุการเกิดโรค
การตั้งครรภ์ (Pregnancy) คือ ภาวะที่เกิดจากการปฏิสนธิระหว่างไข่กับอสุจิ แล้วได้ตัวอ่อนเกิดขึ้นมา ในการตั้งครรภ์ปกติ ตัวอ่อนจะไปฝังอยู่ที่เยื่อบุโพรงมดลูก และตัวอ่อนจะแบ่งตัวและพัฒนาเป็นอวัยวะต่าง ๆ จนเจริญเติบโตเป็นทารก ซึ่งผู้หญิงโดยทั่วไปที่มีประจำเดือนปกติและมาสม่ำเสมอทุก ๆ 28 - 30 วัน จะตั้งครรภ์ประมาณ 40 สัปดาห์ หรือประมาณ 280 วัน นับจากวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งล่าสุด
อาการของโรค
- ประจำเดือนขาด
- มีอาการแพ้ท้อง ปรากฏในช่วงตั้งครรภ์ได้ประมาณ 6 สัปดาห์ และอาจกินเวลาต่อไปนานถึง 12 สัปดาห์ จะมีอาการคลื่นไส้หรืออาเจียน มักจะมีอาการแพ้หลังตื่นนอนตอนเช้า แต่บางคนก็แพ้ได้ตลอดทั้งวัน
- มีอาการอ่อนเพลีย
- มีอารมณ์แปรปรวน
- การเปลี่ยนแปลงของเต้านม เต้านมจะเริ่มคัดตึง ขยายใหญ่ขึ้น
- รู้สึกเด็กดิ้น เมื่อมีอายุครรภ์ประมาณ 4 - 5 เดือน
แนวทางการตรวจวินิจฉัยโรค
อาศัยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจปัสสาวะยืนยันการตั้งครรภ์ และทำอัลตราซาวนด์เพื่อประเมินว่าการตั้งครรภ์เกิดในมดลูกหรือไม่ และมีอายุครรภ์เท่าใด ในผู้ป่วยบางรายอาจต้องเจาะเลือดเพื่อช่วยยืนยันการตั้งครรภ์ในระยะแรก
แนวทางการดูแลรักษา
- หญิงตั้งครรภ์ทุกคนควรไปฝากครรภ์กับสูติแพทย์ และเข้ารับการตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอ
- การรับประทานอาหาร หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับประทานอาหารเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมประมาณ 300 กิโลแคลอรีต่อวัน และควรได้รับธาตุเหล็กเสริมในระหว่างการตั้งครรภ์
- การออกกำลังกาย สามารถออกกำลังกายได้ถ้าไม่ใช้แรงมากๆ
- การขับถ่าย การดื่มน้ำให้มากพอ รับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารมากขึ้นอย่างผักและผลไม้ จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการท้องผูกได้
- การสวมใส่เสื้อผ้าสวมใส่เสื้อผ้าที่เมื่อสวมแล้วรู้สึกสบาย ไม่รัดแน่นจนเกินไป
- ควรงดสูบบุหรี่ งดดื่มแอลกอฮอล์
- การมีเพศสัมพันธ์ หญิงตั้งครรภ์สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติ ยกเว้นในช่วงเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์
- การใช้ยาเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย ในขณะตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง เพราะยาบางชนิดมีผลทำให้ทารกพิการได้
แพทย์เฉพาะทางแนะนำ
สูตินรีแพทย์
ข้อควรระวัง
อาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์
- มีเลือดออกจากช่องคลอด ไม่ว่ามากหรือน้อยก็ตาม
- แพ้ท้องรุนแรง หรือยาวนานมากกว่าปกติ
- ความดันโลหิตสูง ร่วมกับปวดศีรษะ ตาพร่ามัว บวมบริเวณมือ เท้า หรือใบหน้า
- เด็กดิ้นน้อยลง โดยเฉพาะหลังตั้งครรภ์ได้ 8 เดือน
- ปวดท้องมาก หญิงตั้งครรภ์ที่มีโรคประจำตัว ควรรีบไปฝากครรภ์เพื่อประเมินความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ว่าโรคประจำตัวหรือยาที่ทานจะส่งผลต่อทารกในครรภ์หรือตัวคุณแม่หรือไม่
ข้อมูลเพิ่มเติม
https://www.sikarin.com/health/อาการคนท้องเดือนแรก-สัญ https://www.cdc.gov/pregnancy/index.html