AgnosHealth Logo

วันมะเร็งโลก !

cancer

แก้ไขล่าสุด: 14 กุมภาพันธ์ 2566

เขียนโดย

Agnos Team

Agnos Team

แชร์

ตรงกับวันที่  4 กุมภาพันธ์ ของทุกๆปี กำหนดขึ้นโดย องค์การอนามัยโลกและสมาคมต่อต้านมะเร็งสากล เพื่อบรรเทาปัญหาการเจ็บป่วย การเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง

รณรงค์ให้ผู้คนตรวจเช็กสุขภาพ และให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งอีกด้วย

มะเร็งเป็นหนึ่งในโรคอันดับต้นๆ ที่คร่าชีวิตคนไปมากถึงปีละ 7 ล้านคน และคาดว่าอีก 17 ปีข้างหน้า จะมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งเพิ่มถึง 13 ล้านคน

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับเจ้ามะเร็งกันก่อน…มันคืออะไร ทำไมแค่เอ่ยชื่อคนถึงกลัว ?

มะเร็งคืออะไร

มะเร็งคือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ที่เติบโตผิดปกติในอวัยวะส่วนต่างๆของเรา จนทำให้เป็นเป็นก้อนเนื้อร้ายที่ลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียง หรือ กระจายไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ โรคมะเร็งนั้นมีหลายแบบขึ้นอยู่กับจุดกำเนิดโรคและชนิดของเซลล์มะเร็ง

โดยทั่วไปมะเร็งสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้

  1. มะเร็งที่มีจุดกำเนิดเยื่อบุอวัยวะต่างๆ (Carcinoma)
  2. มะเร็งที่มีจุดกำเนิดมาจากเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดในไขกระดูก (Leukemia) ทำให้มีความผิดปกติของเม็ดเลือด
  3. มะเร็งที่มีจุดกำเนิดมากจากกระดูก (Sarcoma) กระดูกอ่อน ไขมัน กล้ามเนื้อ หรือ เส้นเลือด
  4. สมองและไขสันหลัง (Central Nervous System Cancer)
  5. มะเร็งที่มีจุดกำเนิดมาจากเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกัน (Lymphoma and Myeloma)



ระยะของมะเร็ง

ระยะของมะเร็งคือหนึ่งในข้อบ่งชี้ของความรุนแรง และบอกแนวทางของการรักษา

อย่างที่หลายๆคนรู้ โดยทั่วไปมะเร็งมี 4 ระยะ ได้แก่

มะเร็งระยะที่ 0

คือ มะเร็งระยะต้นๆ (Carcinoma in site) โดยจะอยู่บริเวณชั้นของเซลล์ปกติยังไม่แทรกเข้าไปในเนื้อเยื่อ

ปกติตรวจพบเซลล์ที่ผิดปกติบริเวณผิวนอกสุดและยังไม่ใช่เซลล์มะเร็ง แต่เซลล์ที่ผิดปกตินี้อาจกลายเป็นเซลล์มะเร็งและกระจายไปยังเนื้อเยื่อบริเวณอื่นได้

มะเร็งระยะที่ 1

โดยส่วนมากในระยะที่ 1  จะสามารถเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือตาเปล่า เพราะมีขนาดตั้งแต่ 3-5 เซนติเมตร มะเร็งระยะนี้จะยังคงอยู่ในอวัยวะที่เกิดมะเร็งท่านั้น

มะเร็งระยะที่ 2

มะเร็งอาจกระจายออกไปในบริเวณใกล้เคียงอวัยวะที่กำเนิดมะเร็ง และอาจแพร่ไปยังอวัยวะหรือต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียงด้วย

มะเร็งระยะที่ 3

มะเร็งอาจกระจายออกไปยังต่อมน้ำเหลือง ขนาดของก้อนอาจต่างกัน

มะเร็งระยะที่ 4

เซลล์มะเร็งกระจายออกไปยังอวัยวะอื่นๆ เช่น ตับ ลำไส้ หรือปอด

นอกจากนี้เซลล์มะเร็งจะแบ่งตัว เติบโต และร่างกายของเราอาจไม่สามารถควบคุมการเติบโตลุกลามได้ มะเร็งอาจเข้าไปในอวัยวะใกล้เคียง โดยอาจเข้าผ่านกระแสเลือด หรือต่อมน้ำเหลืองได้ ซึ่งเรียกว่าการลุกลามแพร่กระจาย (Metastasis)

นอกจากนี้ 4 ระยะของมะเร็งยังสามารถแบ่งย่อยออกไปได้อีกเป็น A B C หรือ 0 1 2 ด้วย เนื่องจากบางทีเซลล์อาจมีลักษณะเป็นเซลล์มะเร็ง แต่ยังไม่มีการรุกรานไปยังอวัยวะใกล้เคียง


เป็นมะเร็งปุ๊ป เท่ากับเสียชีวิตเลยมั้ย ?

อย่างที่เรารู้กันดีว่าระยะของมะเร็งและชนิดของมะเร็งนั้น มีส่วนสำคัญต่อการรักษาเป็นอย่างมาก


แล้วอะไรล่ะ คือปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เราเป็นมะเร็ง ?

จริงๆแล้วปัจจัยเสี่ยงที่แท้จริงของ โรคมะเร็ง ยังไม่สามารถบอกได้อย่างชัดเจน เนื่องจากแต่ละคนมีร่างกาย หรือวิธีการใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไป

แต่ในปัจจุบันเราสามารถพอจะรู้จากปัจจัยเสี่ยงที่อาจไปกระตุ้นความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้ เช่น

  • อายุ
  • กรรมพันธุ์
  • ความไม่สมดุลทางฮอร์โมนในร่างกาย
  • การกินอาหารที่อาจไม่ถูกสุขลักษณะมากนัก เช่น อาหารไขมันสูง หรือการดื่มแอลกอฮอล์ เป็นประจำ
  • การสูบบุหรี่
  • การใช้สารเคมี หรือได้รับสารเคมี
  • การได้รับรังสีต่างๆ เช่น รังสีเอกซเรย์ นิวเคลียร์ หรือแก๊ส ซึ่งหากได้รับปริมาณสูง เกินค่าที่กำหนด อาจทำให้เพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็งได้
  • การขาดการออกกำลังกาย

แล้วเราจะรู้ได้ยังไงล่ะ..ว่าเราเสี่ยงเป็นมะเร็งมั้ย ? มีสัญญาณอะไรบ้าง ?

  • เจ็บปวดเรื้อรังตามร่างกายที่ผิดปกติ มีจุดที่ปวดเรื้อรังเป็นเวลานาน
  • ตรวจพบก้อนผิดปกติตามร่างกาย เช่น ก้อนที่เต้านม ก้อนที่คอ หรือก้อนเนื้อที่ท้อง
  • ขับถ่ายอุจจาระ หรือปัสสาวะผิดปกติ เช่น ขับถ่ายหรือปัสสาวะปนเลือด มีสีดำ ลำถ่ายอุจจาระเล็กลง ขับถ่ายลำบากมากขึ้น
  • มีไฝเกิดใหม่ หรือ ไฝที่มีอยู่่เดิมรูปร่างเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น ขนาดมีการขยายใหญ่ขึ้น มีเลือดออกที่บริเวณไฝ ผิดปกติ หรือ มีอาการคัน
  • พฤติกรรมการกินอาหารเปลี่ยนไป เช่น ไม่ค่อยอยากอาหาร อิ่มเร็ว กินแล้วรู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน กลืนลำบาก
  • มีการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนัก เช่น ลดลง เพิ่มขึ้น อย่างไม่ทราบสาเหตุ
  • มีสารคัดหลั่ง หรือ เลือดออกผิดปกติ เช่น มีเลือดออกทางช่องคลอด มีเลือดออกทางทวารหนักทางทวารหนัก มีเลือดหรือน้ำออกหัวนม มีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ หรือ ตกขาวผิดปกติ


บางคนอาจคิดว่า เราแข็งแรง ไม่เป็นอะไรหรอก มะเร็งเป็นเรื่องไกลตัวเรา แต่จริงๆแล้วมะเร็งอาจใกล้ตัวกว่าที่เราคิด !


ในปี 2561 สถาบันมะเร็งแห่งชาติ คนไทยป่วยเป็นโรคมะเร็ง วันละมากกว่า 300 คน หรือ ประมาณมากกว่า 130,000 คนต่อปี

5 อันดับมะเร็งที่พบบ่อยมากที่สุดในคนไทย คือ

  • มะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี
  • มะเร็งปอด
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
  • มะเร็งเต้านม
  • มะเร็งปากมดลูก


1. มะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี

มะเร็งตับ ส่วนใหญ่อาจเกิดจาก การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี หรือ ซี ตับอักเสบจากไขมันพอกตับ และได้รับสารเคมีบางชนิดมากเกินไป เช่น อะฟลาท็อกซิน ซึ่งมาจากเชื้อรา ที่ปนเปื้อนในอาหารแห้ง ธัญพืช ถั่วเหลือง ถั่วลิสง

ส่วน มะเร็งท่อน้ำดี เกิดจากการติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับเรื้อรัง ซึ่งอาจเกิดจากการกินอาหารดิบ โดยเฉพาะปลาดิบที่อาจมีการปนเปื้อนตัวพยาธิใบไม้ในตับ เช่น ปลาตะเพียน ปลาร้าดิบ ปลาส้ม

พยาธิใบไม้ในตับอาจอาศัยอยู่ที่เนื้อปลาและเกล็ดใต้ครีบปลา ซึ่งตัวพยาธิใบใม้ในตับจะเข้าไปสะสมบริเวณท่อทางเดินน้ำดี และทำให้เกิดการอักเสบ เมื่อเกิดการอับเสบเรื้อรังจนทำให้เซลล์แบ่งตัวผิดปกติ ก็จะทำให้เกิดเซลล์มะเร็งตามมา

2.มะเร็งปอด

ไม่จำเป็นต้องสูบบุหรี่ เราก็สามารถเป็น มะเร็งปอด ได้ !

มะเร็งปอด เกิดจากการเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติอย่างรวดเร็วและไม่สามารถควบคุมได้ จนอาจทำให้เกิดเป็นก้อนเซลล์ผิดปกติ

ส่วนมากเซลล์จะตรวจพบได้เมื่อมีขนาดใหญ่ และแพร่ไปตามบริเวณตามร่างกายอื่นๆ

โดยมะเร็งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดตามขนาดของเซลล์ได้ดังนี้

  • มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (small cell lung cancer) พบได้ประมาณ 10-15% เซลล์จสามารถเติบโตและแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วมาก ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว

ส่วนมากจะรักษามะเร็งปอดชนิดนี้ด้วยใช้ยาหรือฉายรังสี

  • มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (non-small cell lung cancer) พบได้บ่อยกว่ามะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก แต่แพร่กระจายได้ช้ากว่าและสามารถรักษาให้หายได้โดยการผ่าตัดหากพบตั้งแต่เนิ่นๆ


3.มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักมักเกิดจากติ่งเนื้อขนาดเล็ก ที่เรียกว่า โพลิป (Polyp) เป็นเซลล์เนื้อผิดปกติ ที่งอกจากผนังลำไส้ มีขนาดประมาณปลายนิ้วก้อย เนื่องจากขนาดที่เล็กของติ่งเนื้อ จึงทำให้ผู้ป่วยมักไม่มีอาการผิดปกติ โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 5-10 ปี ในการเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็งลำไส้ ซึ่งหากสามารถตรวจคัดกรองได้ตั้งแต่เริ่มแรกและทำการตัดรักษาได้จนหมดจะเป็นการป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่


4.มะเร็งเต้านม

มะเร็วเต้านม เป็นอีกหนึ่งชนิดมะเร็งที่ผู้หญิงเป็นกันมากที่สุด โดย 1 ใน 8 ของผู้หญิงจะเป็นมะเร็งเต้านม

ในปี 2020 มีผู้หญิง 2.3 ล้านคนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม และมีผู้เสียชีวิต 685,000 คนทั่วโลก

สิ้นปี 2020 มีผู้หญิงที่ยังมีชีวิตอยู่ 7.8 ล้านคนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา นับได้ว่ามะเร็งเต้านมเป็นหนึ่งในมะเร็งที่แพร่หลายมากที่สุดในโลก

แล้วเราจะรู้ได้ยังไงล่ะ..ว่าเราเสี่ยงมั้ย ?

การสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายของเรา อาจเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญสำหรับการตรวจเช็กมะเร็งเต้านม เนื่องจากในระยะแรกๆของมะเร็งเต้านมอาจไม่ได้มีอาการเจ็บปวดหรืออาการใดๆ จึงทำให้ผู้ป่วยอาจไม่รู้ตัวได้

ความผิดปกติ

  • คลำพบก้อนที่เต้านม
  • ขนาดหรือรูปร่างของเต้านมเปลี่ยนแปลงไป
  • ผิวหนังบริเวณเต้านมผิดปกติ เช่น มีรอยบุ๋ม รอยย่น ผิวคล้ายเปลือกส้ม หรือมีสะเก็ด
  • หัวนมผิดปกติ เช่น หัวนมมีการหดตัว หัวนมบอด คัน แดง
  • มีเลือดหรือของเหลวผิดปกติออกทางหัวนม
  • เจ็บที่เต้านม
  • มีก้อนที่รักแร้

5.มะเร็งปากมดลูก

โรคมะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer) ส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อ ไวรัสฮิวแมนแปปิโลมา (Human Papilloma Virus) หรือ HPV ส่วนมากจะติดจากการมีเพศสัมพันธ์ สามารถติดได้ทั้งสองเพศ เพราฉะนั้นการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อตัวนี้ก่อนจะมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ถือได้ว่าเป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุด

อีกสิ่งหนึ่งที่น่ากลัว คือในระยะแรกๆ มะเร็งปากมดลูก จะไม่ค่อยแสดงอาการใดๆ หรือมีอาการที่ค่อนข้างทั่วไป จึงยากที่ผู้ป่วยจะรู้ตัวและคิดว่าอาการเหล่านี้คือสัญญาณเตือนของมะเร็งปากมดลูก นอกจากนี้หากได้รับเชื้อตัวนี้เข้าไป เท่ากับเราเสี่ยงเป็น มะเร็งปากมด ลูกทันที

  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • เลือดออกจากช่องคลอด (แม้ไม่เป็นประจำเดือน)
  • เลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์
  • เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
  • ปัสสาวะไม่ค่อยออก
  • ปัสสาวะ อุจจาระเป็นเลือด
  • ปวดท้องน้อย
  • เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
  • เหนื่อยง่าย รู้สึกอ่อนเพลีย
  • ตกขาวผิดปกติอย่างเห็นได้ชัด
  • ตกขาวปนเลือด

***หากมีอาการรุนแรง หรืออยู่ในระยะลุกลาม อาจมีอาการปวดหลัง ขาบวม และไตวายได้


การรักษามะเร็งมีวิธีอะไรบ้าง ?

การรักษา มะเร็ง นั้นมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับชนิดและระยะของมะเร็ง

โดยอาจใช้วิธีเดียว หรือ หลายวิธีร่วมกันได้

  • การผ่าตัด : จะผ่าเอาก้อนเนื้อมะเร็งออก
  • ใช้รังสีรักษามะเร็ง :  ใช้รังสีเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง
  • การทำฮอร์โมนบำบัด : ใช้ฮอร์โมนเพื่อหยุดการเติบโตของเซลล์มะเร็ง
  • การทำเคมีบำบัด : ใช้สารเคมีฆ่าเซลล์มะเร็ง

เราจะป้องกันมะเร็งได้ยังไงบ้าง ?

  • กินอาหารที่มีประโยชน์ และให้ครบ 5 หมู่
  • หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ 5 วันต่อสัปดาห์ อย่างน้อยวันละ 30 นาที
  • ดื่มแอลกอฮอล์แต่พอดี
  • มีเพศสัมพันธุ์อย่างปลอดภัย เช่น ใช้ถุงยางอนามัย
  • หากจำเป็นต้องอยู่ท่ามกลางแดด ควรใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันแดด เช่น ครีมกันแดด
  • ควรทราบประวัติคนที่เป็นมะเร็งในครอบครัว เพื่อทำการตรวจหาความเสี่ยงของตัวเอง
  • ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ


โดยทาง Agnos เองก็มีแพ็กเกจตรวจสุขภาพดีๆมาแนะนำ ตรวจครบจบทุกความกังวลที่ PCT แล็ป ที่ได้มาตราฐานเทียบเท่าโรงพยาบาลชั้นนำ !

ยิ่งตรวจพบได้ไว ก็จะยิ่งมีโอกาสรักษาหายได้มากขึ้น การตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ อาจเพิ่มโอกาสในการรักษาและลดความรุนแรงของมะเร็งได้

เราจึงอยากเป็นหนึ่งในกระบอกเสียงย้ำเตือนให้ทุกคนคอยหมั่นเช็คร่างกายของตัวเอง และสังเกตอาการคนรอบข้างอยู่เสมอ ที่สำคัญที่สุด อาการป่วยเหล่านี้ ไม่ใช่เรื่องน่าอาย หากพบอาการผิดปกติใดๆดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์ให้เร็วที่สุด

“เราขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจให้ทุกคนด้วยนะ”



อ้างอิง : https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/cancer

https://www.synphaet.co.th/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD-%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/

https://www.bumrungrad.com/th/conditions/lung-cancer

https://www.prachachat.net/general/news-869575

https://www.wattanosothcancerhospital.com/all-about-cancer/general-information-about-cancer

https://www.khonkaenram.com/th/services/health-information/health-articles/med/cancer

https://www.wattanosothcancerhospital.com/all-about-cancer/general-information-about-cancer

https://www.sikarin.com/health

https://www.bangkokpattayahospital.com/th/healthcare-services/gi-liver-center-th/gi-articles-th/item/2879-colon-cancer-th.html

https://www.agnoshealth.com/articles/pink-october

https://www.agnoshealth.com/articles/cervical-cancer-and-hpv-vaccine

https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/january-2007/10-ways-to-lower-your-cancer-risk

https://www.wattanosothcancerhospital.com/all-about-cancer/general-information-about-cancer

https://www.bangkokpattayahospital.com/th/healthcare-services/gi-liver-center-th/gi-articles-th/item/2879-colon-cancer-th.html

https://www.agnoshealth.com/articles/pink-october

https://www.agnoshealth.com/articles/health-wellness-searchsymptoms

https://www.synphaet.co.th/

https://www.canceralliance.co.th/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B0/

https://www.rama.mahidol.ac.th/cancer_center/th/protfolio/knowledge/gyne/servix

เขียนโดย

Agnos Team

Agnos Team

แชร์

บทความนี้มีประโยช์นสำหรับคุณหรือไม่ ?

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคหน้าร้อนที่เราต้องระวัง !

ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome)

4 โรคที่สาวๆวัย 20 ต้องระวัง !

มะเร็งปากมดลูก (CA cervix)ตรวจมะเร็งเต้านมมะเร็งรังไข่

5 โรคที่สาววัย 30 ต้องระวัง !

ภาวะหมดประจำเดือน/วัยทอง (Menopause)

5 โรคที่ผู้หญิงวัยทองต้องควรระวัง ?

เกี่ยวกับ Agnos

ติดต่อสอบถาม

บุคคลทั่วไป

ภาคธุรกิจ

สมัครร่วมทีม Agnos