แก้ไขล่าสุด: 23 มิถุนายน 2565
เขียนโดย
Agnos Team
แชร์
หลายคนคงเคยได้ยินเรื่องโรคซึมเศร้ามาบ้าง ถ้าจำไม่ผิดก็น่าจะเป็นช่วงที่มีข่าวนักดนตรีท่านหนึ่งได้เสียชีวิตลงจากการกระโดดคอนโดมิเนียม ซึ่งสาเหตุก็เกิดจากการเสียใจเรื่องของความรักและมีอาการของโรคซึมเศร้าร่วมด้วย จากข่าวนั้นทำให้หลายๆ คนในประเทศเราเริ่มให้ความสนใจโรคซึมเศร้ากันมากขึ้น รวมถึงเพื่อนๆ ของผู้เสียชีวิตก็ช่วยกันออกมารณรงค์เรื่องการรับฟังเพื่อนหรือคนใกล้ตัวให้มากขึ้น เพราะนี่คือโรคที่ต้องได้รับการรักษาอย่างใส่ใจและจริงจัง
บทความนี้จะช่วยคุณคลายข้อสงสัยทั้งหมดว่า โรคซึมเศร้านั้น คือ โรค อาการที่เกิดจากความรู้สึกผิดหวัง เสียใจอย่างรุนแรงแบบที่ไม่เคยเจอมาก่อนหรือเจอกับความเครียดความกดดันเป็นเวลานาน ทำให้ความผิดหวังเสียใจหรือความต้องการโต้แย้งนั้นเป็นยาวนานกว่าอารมณ์ปกติ และส่งผลให้มีอาการทางร่างกาย เช่น นอนไม่หลับ น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว หมดความสนใจโลกภายนอก มองโลกแง่ร้าย ขาดความมั่นใจ หรือจนกระทั่งไม่อยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไป ซึ่งผู้ป่วยต้องได้รับการรักษา เพื่อให้คนป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติให้ได้
เกิดได้จากหลายปัจจัยหลักเหล่านี้ คือ
ด้วยจำนวนผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่เพิ่มมากขึ้น ไม่ใช่เรื่องแปลกที่รอบตัวเราจะพบเจอหรือได้ทำงานร่วมกับผู้ป่วยเลยด้วยซ้ำ ดังนั้นสิ่งที่เราต้องตระหนักไว้เสมอคือ เค้าคือคนป่วย เค้าไม่สบาย และควรได้รับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือพูดคุยกับนักจิตวิทยา ส่วนสาเหตุที่ผู้ป่วยส่วนมากไม่บอกกับคนใกล้ตัวก็น่าจะเกิดจาก ทั้งกลัวโ้ดนรังเกียจ และกลัวได้รับการปฏิบัติที่ไม่เหมือนกับคนอื่นๆ ทำให้รู้สึกด้อยค่ามากกว่าเดิม
ดังนั้นถ้าวันหนึ่งเพื่อนของเรา ลูกน้องที่งานเรา หรือคนในครอบครัวเราเริ่มมี อารมณ์ที่แปลกไปจากปกติอาจจะทั้งดูรุนแรงขึ้นหรือดูเสียใจมากกว่าปกติ เริ่มมีอาการทางร่างกายที่เปลี่ยนไป เราควรพูดคุยกับเค้าให้มากขึ้น ค่อยๆ สอบถามเค้าบ่อยขึ้น รับฟังสิ่งที่เค้าเล่าอย่างตั้งใจ อย่าพูดขัด อย่าพูดแทรก ให้เค้าเล่าออกมาให้มากที่สุด จนเค้าค่อยๆ สงบลง เราอาจเอ่ยคำรับฟังเป็นบางช่วง และสิ่งที่ไม่ควรทำคือ การพูดให้กำลังใจทั่วๆ ไป เช่น เดี๋ยวก็ดีขึ้น ไม่เป็นไรหรอกน่าอย่าคิดมาก หรือสู้ๆ นะ เพราะคำเหล่านี้ไม่ทำให้เค้ารู้สึกว่าคนสนใจฟังอย่างแท้จริงเลย
และสิ่งที่ควรทำที่สุดคือ แนะนำหรือพาเค้าไปพบแพทย์พบผู้เชี่ยวชาญในการรักษาโดยเร็วที่สุด พูดให้เค้าเข้าใจว่าเค้าแค่ป่วยไม่สบายต้องไปพบแพทย์ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเค้าเป็นคนบ้า โรคนี้เป็นกันเยอะแล้วยิ่งเริ่มรักษาเร็วเท่าไหร่โอกาสที่จะหายเป็นปกติก็จะยิ่งเร็วเท่านั้น
ด้านล่างเป็นตัวอย่างอาการเบื้องต้นที่เราสังเกตได้ซึ่งถ้าตรงอย่างน้อย 1 ข้อ เป็นเกือบตลอดเวลา เป็นทุกวัน และมีอาการอย่างน้อยตั้งแต่ 2 สัปดาห์ขึ้นไปแล้วล่ะก็ ควรโทรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญสายด่วนสุขภาพจิต มีความเสี่ยงเข้าข่ายเป็นโรคซึมเศร้า แล้วอาจพิจารณาไปพบแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อทำการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป
หากคุณยังไม่มั่นใจสามารถใช้ระบบ AI คัดกรองความเสี่ยงโรคซึมเศร้าของ Agnos ที่พัฒนาร่วม กับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (D MIND) และ กรมสุขภาพจิต ได้ที่ แบบทดสอบซึมเศร้าตรวจสุขภาพใจ กับคุณหมอพอดี ถ้าเราเริ่มสงสัยตัวเองหรือเริ่มสังเกตเห็นคนรอบข้างมีอการเหล่านี้แล้ว ถ้าเป็นไปได้สังเกตอารมณ์ จดอาการอย่างละเอียดไว้ซัก 2 สัปดาห์ แล้วโทรสอบถามผู้เชี่ยวชาญและไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
ส่วนมากแล้วผู้ป่วยต้องอาศัยความกล้าหาญเพื่อผ่านขั้นตอนการแรก คือ การยอมรับว่าป่วยเป็นโรคซึมเศร้าและรับการรักษาก่อน แล้วถึงมาสู่ขั้นตอนการเข้ารับการรักษาที่จะได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งขั้นตอนการซักถามนี้สำคัญมากที่จะต้องเล่ารายละเอียด ความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้คุณหมอทราบและวินิจฉัยให้ตรงกับระยะของอาการที่เกิดขึ้นให้มากที่สุด เพียงแต่อาจต้องระวังว่าอาการซึมเศร้านี้ไม่ได้มีสาเหตุจากโรคทางกายจริงๆ เพราะถ้ามีสาเหตุจากโรคทางกายจะสามารถรักษาที่ต้นเหตุได้โดยตรง เช่น อาจเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยารักษาโรคสมองอับเสบ โรคฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ เป็นต้น
การรักษาโรคซึมเศร้าจึงต้องไปพบแพทย์ เพราะบางครั้งอาการที่เราเป็นอาจจะยังไม่ใช่โรคซึมเศร้าแต่อาจเป็นสาเหตุของโรคทางกายดังกล่าวข้างต้น หรืออาจเป็นโรคทางจิตเวชอื่นๆ ที่มีอาการคล้ายโรคซึมเศร้า เช่น โรคอารมณ์สองขั้ว โรควิตกกังวล หรือภาวะซึมเศร้าที่เกิดจากการปรับตัวไม่ได้จากปัญหาก็เป็นได้
การรักษาโรคซึมเศร้านั้นสามารถทำได้หลายวิธี จากข้อมูลของ American Psychiatric Association, Oct 2020 ได้ระบุไว้ 3 วิธี คือ
โดยปกติแล้วการได้รับยารักษาอาการโรคซึมเศร้านั้น เพื่อการค่อยๆ ปรับสมดุลสารเคมีในสมอง ในผู้ป่วยที่อาการไม่มากยิ่งสามารถรักษาได้หายขาดจากการกินยา โดยผู้ป่วยจะค่อยๆ กลับมาดีขึ้นช้าๆ ประมาณ 1-2 สัปดาห์และจะไม่ได้ดีขึ้นโดยทันที เมื่ออาการดีขึ้นแล้วแพทย์จะให้ทานยาต่อเนื่องไปอีก 4-6 เดือน แล้วค่อยๆ ลดปริมาณยาลงในกอีก 2-3 เดือนต่อมาจบหยุดยาในที่สุดเพื่อป้องกันการกลับมาป่วยซ้ำ แต่ในผู้ป่วยที่ปรากฎอาการป่วยซ้ำ 2-3 ครั้ง ร่วมกับมีพันธุกรรมจากญาติผู้ป่วย หรือกลับมาเป็นซ้ำใน 1 ปี หรือเป็นครั้งแรกตั้งแต่อายุต่ำกว่า 20 ปี หรือมีอาการรุนแรง และอันตราย 2 ครั้งใน 3 ปีแพทย์จะจ่ายยาป้องกันในระยะยาวเพิ่มให้ด้วย
ยารักษาโรคซึมเศร้าทุกชนิดมีผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นกับร่างกายของผู้ป่วยมากน้อยต่างกันในแต่ละชนิด แพทย์ผู้รักษาจะใช้ความเชี่ยวชาญในการเลือกยาและปรับปริมาณให้เหมาะสมกับร่างกายของผู้ป่วย ดังนั้นควรทานยาให้ครบตามปริมาณที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เพื่อผลในการปรับยาให้คงที่และเหมาะกับการรักษาของเรา ซึ่งด่านทานยารักษาโรคซึมเศร้านี้ คือด่านที่ยากที่สุดในการรักษา เพราะผู้ป่วยหลายคนไม่สามารถอดทนผลข้างเคียงจากยาหรือเข้าใจเองว่ายาทำให้ร่างกายแย่ลง แล้วหยุดกินยาเอง ลดปริมาณยาเอง หรือแม้กระทั่งหยุดการรักษาเองทำให้อาการของโรคกลับมาอีกต้องเข้าสู่การรักษาใหม่อีกครั้ง
กลุ่มยาที่ใช้ในการรักษา คือ SSRI (serotonin reuptake inhibitor) ซึ่งกลไกสำคัญคือจะไปยับยั้งการดูดซึมซีโรโตนินกลับเข้าเซลล์ทำให้ซีโรโตนินเพิ่มขึ้นบริเวณส่วนต่อระหว่างเซลล์ประสาท ปัจจุบันใช้ยาขนานแรกในการรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้แก่ยา Fluoxetine และ Sertraline ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอาการพะอืดพะอม คลื่นไส้ กระวนกระวาย และนอนหลับยาก หรือในบางคนอาจเกิดอาการปวดหัวที่มักจะเกิดไม่นานร่วมด้วยก็ได้
การรักษาด้วยจิตบำบัดนั้น ใช้วิธีการสื่อสารทางคำพูด การสื่อสารด้วยภาษาร่างกายต่างๆ และความไว้วางใจระหว่างแพทย์ผู้ให้การรักษาและผู้ป่วยเพื่อให้เกิดความเช้าใจตัวเอง การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม ความคิด หรืออารมณ์ต่างๆ เพื่อลดอาการปัญหาหรือปรับสภาพจิตใจของผู้ป่วย มีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย เช่น
- จิตบำบัดแบบประคับประคอง เพื่อให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึกต่างๆ ที่สะสมไว้ออกมาได้แบบอิสระ ทุกความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ต่างๆ โดยมีนักจิตวิทยาที่จะช่วยดูแลให้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วย
- จิตบำบัดแบบมุ่งเน้นการปรับความคิดความเข้าใจ จากความรู้สึกด้านลบต่างๆ ความเชื่อที่ไม่สมเหตุผลที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยซึมเศร้า แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะช่วยให้ผู้ป่วยเห็นความคิดด้านลบของตัวเองและรู้วิธีที่จะจัดการวิธีคิดในทางที่เหมาะสมได้
- จิตบำบัดแบบพฤติกรรมบำบัด สำหรับผู้ป่วยที่ต้องการสร้างแรงจูงใจจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปจากโรคซึมเศร้าให้กลับมามีสมาธิอยู่กับปัจจุบันได้ ด้วยการสร้างเป้าหมายที่ขัดเจน การทำตามแผนที่วางไว้ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และฝึกการเข้าสังคม
การบำบัดพฤติกรมทางความคิด CBT หรือ Cognitive Behavioral Therapy ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะเน้นไปที่การแก้ปัญหาจากอาการปัจจุบันและปัจจัยทีทำให้เกิดปัญหา เพื่อปรับความคิดให้ผู้ป่วยมีกลับมามีความคิดที่สมเหตุผล ออกจากความคิดด้านลบ มองปัญหาให้ออก เข้าใจปัญหา เพื่อให้สามารถหาข้อสรุปให้กับปัญหาอาการซึมเศร้าของตัวเองได้ และช่วยป้องกันการซึมเศร้าที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ ด้วยการใช้เทคนิคเหล่านี้กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
CBT จะใช้ได้ผลดีกับผู้ป่วยที่ไม่มีอาการประสาทหลอนหรือหลงผิด ยังไม่มีอาการไบโพล่า และไม่ม่ีความบกพร่องในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และผู้ป่วยที่ให้ความร่วมมือในการรักษา
ส่วน Satir model หรือทฤษฎีชาเทียร์ คือ ศาสตร์ของจิตบำบัดในรูปแบบของการเข้าใจความเชื่อของตัวเองแล้วเปลี่ยนชีวิตของเราให้ดีขึ้นได้ ด้วยการเปรียบเทียบจิตใจของคนเป็นชั้นต่างๆ ในรูปแบบของภูเขาน้ำแข็งเพื่อให้มองเห็นภาพได้ผ่าน 3 ขั้นตอนหลัก คือ
เพื่อให้ได้เป้าหมายทั้ง 3 ด้านคือ สุขภาพดีทั้งทางร่างกายและทางอารมณ์ มีความสุข และมีความสำเร็จในชีวิตนั่นเอง
ECT เป็นการรักษาทางการแพทย์ที่เป็นทางเลือกสุดท้ายสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าอย่างรุนแรงซึ่งไม่ตอบสนองต่อการรักษาอื่นๆ ด้วยการกระตุ้นสมองด้วยไฟฟ้าระยะเวลาสั้นๆ ในขณะที่ผู้ป่วยอยู่ภายใต้การดมยาสลบ ผู้ป่วยมักจะได้รับ ECT 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ สำหรับการรักษาทั้งหมดถึง 12 ครั้งโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมมาแล้ว เช่น จิตแพทย์ วิสัญญีแพทย์ และพยาบาลหรือผู้ช่วยแพทย์ ECT
การดูแลร่างกายผู้ป่วย
คำแนะนำญาติผู้ป่วย
สำหรับใครที่กำลังกังวลใจ หรือสงสัยว่าตนเอง หรือคนใกล้ตัวอาจเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ สามารถคัดกรองเบื้องต้น โดยทำแบบทดสอบซึมเศร้า ตรวจสุขภาพใจ กับคุณหมอพอดี ได้ที่นี่
หรือ ปรึกษาผ่านสายด่วนสุขภาพจิต 1323
Ref: โรคซึมเศร้า, What Is Depression, CBT Satir, CBT, Satir, จิตบำบัดรักษาซึมเศร้าได้อย่างไร การรักษาด้วยยาและจิตบำบัดในจิตเวชปฏิบัติยุคปัจจุบัน
เขียนโดย
Agnos Team
แชร์