เรามีสิทธิ์ที่จะเป็นจิตเภท ในภาวะสังคมแบบนี้มั้ย?


เขียนโดย
ตรวจสอบข้อมูลโดย

หัวข้อ
จิตเภท คืออะไร?
จิตเภท (Schizophrenia) หรือคนทั่วไปเรียกว่า คนบ้า คือ โรคความผิดปกติทางจิต (ความคิด) ที่รุนแรงและเรื้อรัง อาจทำให้ผู้ป่วยมีความผิดปกติทางด้านการรับรู้ หลงผิด หรือประสาทหลอน ทำให้การเข้าสังคมนั้นเป็นเรื่องยาก และอาจต้องเข้ารักษา หรือติดตามพฤติกรรมตลอดชีวิต
นอกจากคำว่า จิตเภท มีอีกคำหนึ่งที่เราคุ้นหูกันมาก คือ จิตเวช….แล้ว 2 คำนี้แตกต่างกันยังไงล่ะ ?
คำว่า จิตเวช นั้นใช้อธิบาย ภาวะ หรือ โรค ความผิดปกติทางจิต เช่น โรคซึมเศร้า (Depression) หรือ โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder) เป็นต้น แต่ว่าโรคจิตเภท (Schizophrenia) จะเป็นชื่อโรคเลย โดยจะมีอาการอย่าง การหลงผิด หูแว่ว หรือประสาทหลอนเป็นต้น
แล้วโรคจิตเภทเกิดจากอะไร ?
ในปัจจุบัน ยังไม่มีเหตุผลที่ระบุได้แน่ชัด แต่มีปัจจัยที่ทำให้เกิด หรือกระตุ้นโรคจิตเภทได้ คือ
- กรรมพันธุ์
สายเลือดยิ่งใกล้ชิดกันมากเท่าไหร่ ก็มีความเสี่ยงมากเท่านั้น โดย หากมีญาติพี่น้องป่วยเป็นโรคจิตเภท ตัวเราจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ 9% แต่ถ้าคุณพ่อหรือคุณแม่เป็นโรคนี้ อาจทำให้เรามีโอกาสเป็นโรคนี้ถึง 13%
- ความผิดปกติภายในสมอง และปริมาณสารเคมีในสมอง
- ได้รับ หรือมีการสัมผัสกับสารพิษ หรือเชื้อไวรัสบางอย่างตอนอยู่ในท้องของคุณแม่
- ในช่วงแรกเกิด เกิดภาวะขาดออกซิเจน ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่สมองได้
- มีภาวะขาดสารอาหารตอนอยู่ในท้องคุณแม่
- มีอาการอักเสบ หรือแพ้ภูมิต้านทานตัวเอง
- การใช้สารเสพติด หรือยาบางชนิดที่มีผลกระทบต่อจิตใจ
- ความเครียด
นอกจากนี้ เพศ และ อายุ เป็นอีกปัจจัยสำคัญอีกด้วย เพราะโรคจิตเภทสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย โดยในผู้ชายที่มีอายุ 15-25 ปี และผู้หญิง 25-35 ปี อาจพบได้มากกว่าช่วงอายุอื่น
อาการของโรคจิตเภท
อาการของโรคจิตเภทมีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นอาการทางจิตใจ หรืออาการทางด้านพฤติกรรม
นอกจากนี้อาการอาจค่อยๆแสดงออกมา หรือในบางราย อาจเกิดขึ้นมาอย่างเฉียบพลันโดยที่เราและคนรอบข้างไม่ได้ตั้งตัวเลยทีเดียว
อาการทางจิต
- ประสาทหลอน
ผู้ที่มีโรคจิตเภทอาจมองเห็น รู้สึก ได้กลิ่น ได้ยิน รวมถึงรับรส สิ่งที่ไม่มีอยู่จริง
โดยสัมผัสที่พบได้มากที่สุดคือ อาการหลอนทางการได้ยิน หรือหูแว่ว เช่น ได้ยินเสียงผู้อื่นมาพูดกับผู้ป่วย โดยอาจได้ยินเป็นคำหยาบ คำพูดรุนแรง หรือแม้กระทั่งคำสั่งให้ทำตาม
- หลงผิด
ผู้ป่วยอาจเชื่อในสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง เช่น เชื่อว่ามีคนอยากจะมาทำร้ายตัวเอง เป็นต้น
- มีความผิดปกติทางความคิด
ผู้ป่วยอาจมีกระบวนการการคิดที่ผิดปกติ หรือไม่เป็นเหตุเป็นผล นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีปัญหาในการสื่อสารเช่น พูดคำเดิมๆซ้ำๆ หรือคิดคำขึ้นมาใหม่ นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจพูดๆอยู่แล้วหยุดชะงัก ไม่สามารถพูดต่อได้เป็นต้น
อาการทางร่างกาย หรือ พฤติกรรม
- เก็บตัว
- ซึม
- ไม่สนใจในร่างกายตัวเอง ไม่ดูแลตัวเอง
- เฉื่อยชา ไม่อยากทำอะไรเลยจนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน
- การแสดงออกลดลง ไม่มีการแสดงออกทางอารมณ์
- มีการเปลี่ยนแปลงของนิสัย
อาการด้านการรับรู้
- ผู้ป่วยอาจได้รับผลกระทบต่อความคิดและความส่งจำ อย่าง การมีปัญหาในเรื่องความจำ การตัดสินใจ หรือการทำความเข้าใจในเรื่องต่างๆ
โรคจิตเภทอาจเกิดขึ้นได้ในช่วงวัยรุ่น โดยอาการเริ่มต้นอาจมีการปลีกตัวจากคนในครอบครัว หรือคนรอบข้าง มีอาการนอนไม่หลับ หรือหลับเยอะเกินไป หงุดหงิดและว้าวุ่น
อาการเหล่านี้อาจทำให้ผู้ปกครอง หรือคนรอบข้างไม่ได้เอะใจอะไรมากนัก เนื่องจากอาจคิดว่าเป็นพฤติกรรมของวัยรุ่นทั่วไป จึงอาจสังเกตความผิดปกติได้ยากในช่วงวัยนี้
ถึงแม้ในประเทศไทยอาจพบโรคจิตเภทได้ไม่มากนัก ซึ่งจะพบโรคนี้ประมาณ ร้อยละ 1 ของประชากร และคาดว่าในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคจิตเภทประมาณ 600,000 คน
แล้วเราจะเสี่ยงเป็น 1 ในนั้นหรือเปล่า..?
การจะเป็นโรคจิตเภท แน่นอนว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลให้เกิดโรคนี้ แต่เราสามารถเช็กอาการหรือความกังวลเกี่ยวกับโรค หรือภาวะทางจิตเวชได้เบื้องต้น โดยแอปพลิเคชั่น Agnos ที่ใช้ระบบ AI ในการตรวจคัดกรองอาการป่วยเบื้องต้น ทั้งร่างกายและจิตใจ
นอกจากนี้สามารถมาดู เช็กลิสสัญญาณเตือนโรคทางจิตเวชกันก่อนได้เลย !
- นอนไม่หลับ หรือนอนมากเกินไป
- ไม่อยากเจอคน อยากอยู่คนเดียว
- เบื่ออาหาร
- ไม่สามารถโฟกัสอะไรนานๆได้ ไม่มีสมาธิ
- มีพฤติกรรมและอารมณ์ที่ฉุนเฉียวและหุนหันพลันแล่น ทำอะไรไม่คิด
- มีอารมณ์ซึมเศร้า
โรคจิตเภทสามารถหายได้มั้ย ? รักษายังไง ?
แน่นอนว่าโรคนี้สามารถหายได้ โดยการรักษาด้วยยา ฟื้นฟูสภาพจิตใจและสภาพสังคมด้วยการทำจิตบำบัด ในบางรายอาจมีการใช้การรักษาด้วยไฟฟ้า
- การรักษาด้วยยา
แพทย์อาจมีการสั่งยาระงับอาการต่างๆ เช่นอาการประสาทหลอน หรือหลงผิดเป็นต้น แน่นอนว่ายาเหล่านี้อาจส่งข้างเคียงบางอย่าง เช่น ปากแห้ง ง่วงซึม ท้องเสีย
- การฟื้นฟูสภาพจิตใจ
โดยการทำจิตบำบัด การฝึกเข้าสังคมและให้คำปรึกษา รวมถึงการพูดคุยเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจตัวเอง และปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่มากขึ้นนั่นเอง
นอกจากนี้คนรอบข้างอาจได้รับการทำ “การบำบัดแบบครอบครัว” เพื่อให้คนรอบข้างเข้าใจและรู้วิธีในการปฏิบัติต่อผู้ป่วย
การบำบัดในรูปแบบอื่นๆ อย่าง การบำบัดด้วยศิลปะ การบำบัดเพื่อเข้าสังคมเป็นต้น
การที่เรา หรือคนรอบข้างเป็นหรือมีความเสี่ยงเป็นโรคจิตเภท ไม่ได้หมายความว่าพวกเขานั้นเป็นผู้ร้ายเหมือนในหนังที่เราดูกัน พวกเขาแค่เป็นโรคที่มีสารสื่อประสาทในสมองผิดปกติเท่านั้น โดยการเป็นกำลังใจให้กัน เป็นอีกหนึ่งวิธีและทางออกที่สำคัญแก่ผู้ป่วย
Agnos สนับสนุนให้ทุกๆคนหมั่นตรวจเช็กทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ ให้แข็งแรงอยู่เสมอๆ
Agnos เองก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือก เพื่อคัดกรองอาการที่ทุกๆคนกังวล ไม่ว่าจะเป็นอาการทางใจ หรือร่างกาย สามารถดาวน์โหลดและเชกฟรีได้ ไม่มีค่าใช้จ่ายอีกด้วย
อ้างอิง:
https://medhubnews.com
https://www.pobpad.com/schizophrenia-
https://siamrath.co.th/n/81070
https://www.manarom.com/blog/schizophrenia.html?
https://www.paolohospital.com/th-TH/phahol/Article/Details
http://www.med.nu.ac.th/dpMed/fileKnowledge/183_2019-02-15.pdf