แก้ไขล่าสุด: 17 มกราคม 2566
เขียนโดย
Agnos Team
แชร์
หลายๆคนอาจคุ้นเคยกับ โรคซึมเศร้า กันดีอยู่แล้ว และคงอาจเคยได้ยินประเภทต่างๆของโรคซึมเศร้ากันมาบ้าง ไม่ว่าจะเป็น โรคซึมเศร้าหลังคลอด โรคซึมเศร้าเรื้อรัง โรคซึมเศร้าที่เกิดจากความผิดปกติของการปรับตัวผิดปกติ
แต่วันนี้ Agnos จะพามาทำความรู้จักกับอีกประเภทของโรคซึมเศร้าที่หลายๆคนอาจไม่เคยได้ยินมาก่อนกับ โรคซึมเศร้าแบบจิตหลอน
คนที่เป็นโรคซึมเศร้าแบบจิตหลอน พวกเขามีอาการอะไร เหมือนคนที่เป็นโรคจิตมั้ย ? วันนี้ Agnos จะพามาหาคำตอบกัน !
โรคซึมเศร้าแบบจิตหลอน (Psychotic depression หรือ Major depression with psychotic feature) คืออีกหนึ่งประเภทของโรคซึมเศร้าที่ค่อนข้างรุนแรง โดยผู้ป่วยจะเป็นโรคซึมเศร้าควบคู่ไปกับอาการจิตประสาท หรือ จิตหลอน เช่น ได้ยิน หรือเห็นภาพหลอน (Hallucinations) หรือ อาการหลงผิด (Delusions) อย่างการรู้สึกไร้ค่า รู้สึกล้มเหลว หรือเชื่อว่าตัวเองนั้นได้ทำอะไรผิดร้ายแรงอย่างมาก
นอกจากนี้ 1 ใน 4 ของผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า อาจมีภาวะจิตหลอนควบคู่กับโรคซึมเศร้าด้วย
แต่ก่อนที่เราจะไปเจาะลึกกับโรคซึมเศร้าแบบจิตหลอน
เรามาทบทวนอาการของโรคซึมเศร้าทั่วไปกันก่อน !
หากมีอาการเหล่านี้เกิน 5 ข้อเป็นเวลานานเกินสองอาทิตย์ อาจคุณอาจเสี่ยงโรคซึมเศร้า ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
อาการทางร่างกาย
อาการของโรคซึมเศร้าแบบจิตหลอนที่อาจต่างจากโรคซึมเศร้าทั่วไป
อาการหลงผิดและเห็นภาพหลอน เป็นหนึ่งในอาการของโรคจิตเภทไม่ใช่หรอ..?
งั้นแปลว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าแบบจิตหลอน คือ ผู้ป่วยโรคจิตเภทหรือเปล่า ?
จริงอยู่ที่ทั้งสองโรคนี้อาจมีภาวะจิตหลอนได้ แต่ก็มีความแตกต่างที่ค่อนข้างชัดเจนเช่นกัน โดย
การเกิดอาการจิตหลอนในโรคซึมเศร้าแบบจิตหลอน :
จะเกิดขึ้นเฉพาะตอนที่ผู้ป่วยอยู่ในช่วงภาวะซึมเศร้าเท่านั้น โดยภาวะจิตหลอนมีความเกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางอารมณ์ (Mood Disorder)
ส่วนมากอาการจิตหลอน ไม่ว่าจะเป็นการเห็นภาพหลอน ได้ยินเสียง หรืออาการหลงผิด จะเกี่ยวข้องกับต้นเหตุของความเศร้าที่เกิดขึ้น หรือเหตุการณ์ที่อาจกระทบกระเทือนจิตใจของผู้ป่วย เช่น ความล้มเหลว หรือความไร้ค่า
การเกิดอาการจิตหลอนในโรคจิตเภท :
จะเกิดเมื่อไหร่ก็ได้ ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางอารมณ์ หรือมีอารมณ์เป็นปัจจัยกระตุ้น
อาการจิตหลอนในผู้ป่วยจิตเภทอาจมีความแปลกและไม่เป็นจริงอยู่มาก เช่น คิดว่ามีคนกำลังแอบสะกดรอยตัวเอง มีเสียงในหัวให้ทำร้ายตัวเองหรือผู้อื่น หรือกลัวและระแวงคนมาทำร้าย เป็นต้น
เช่นเดียวกับโรคซึมเศร้าแบบอื่นๆ โรคซึมเศร้าแบบจิตหลอนสามารถรักษาให้หายได้ แต่ปัญหาที่อาจพบบ่อยคือ ผู้ป่วยอาจอายหรือไม่กล้าบอกหรือพูดถึงอาการที่เข้าข่ายอาการจิตหลอน จึงอาจทำให้ยากที่จะวินิจฉัยได้
โดยปกติแล้ว การรักษาโรคซึมเศร้าแบบจิตหลอนจะใช้การรักษาด้วยยาเป็นหลัก แต่หากอาการไม่ดีขึ้น อาจมีการบำบัดด้วยไฟฟ้า (Electroconvulsive Therapy – ECT) ร่วมด้วย
โดยกระแสไฟฟ้าจะไปกระตุ้นให้สารสื่อประสาทภายในสมองที่หลั่งผิดปกติเนี่ย กลับมาทำงานให้มั่นคงและสม่ำเสมอ
การบำบัดในลักษณะนี้ มีผลดีต่ออาการทางจิต เช่น สภาวะทางอารมณ์ ความคิด ความรู้สึก รวมถึงพฤติกรรมด้วย
ถึงแม้โรคซึมเศร้าแบบจิตหลอน อาจมีอาการที่น่ากังวลกว่าโรคซึมเศร้าทั่วไป แต่ใช่ว่าโรคซึมเศร้าทั่วไปจะไม่อันตราย สัญญาณและอาการของโรคซึมเศร้าทั่วไปก็ไม่สามารถละเลยได้เช่นกัน
หากใครยังไม่แน่ใจอาการที่เราเป็น สามารถทำแบบทดสอบคัดกรองโรคซึมเศร้าได้ที่ Links : https://www.agnoshealth.com/services/mental_screening
อ้างอิง : https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3686458/
https://www.healthline.com/health/depression/psychotic-depression#What-is-psychotic-depression?
https://www.webmd.com/depression/guide/psychotic-depression#091e9c5e80008719-2-4
https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2-hypochondriasis-%E0%B8%AB%E0%B8%B2/
https://www.agnoshealth.com/articles/health-wellness-depression
https://www.healthline.com/health/depression/psychotic-depression#What-is-psychotic-depression?
เขียนโดย
Agnos Team
แชร์
บทความนี้มีประโยช์นสำหรับคุณหรือไม่ ?