แก้ไขล่าสุด: 17 สิงหาคม 2565
เขียนโดย
Agnos Team
ตรวจสอบข้อมูลโดย
นพ.นราวิชญ์ จันทวรรณ
แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล
แชร์
อาการเจ็บคอคงจะเป็นอาการที่เราคุ้นเคยกัน โดยเฉพาะในช่วงสองปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะจาก โควิด 19 หรือ PM 2.5 แต่หนึ่งในอาการเจ็บคอที่น่ารำคาญและทรมานที่สุด ก็คงหนีไม่พ้น อาการเจ็บคอที่ทำให้เรากลืนน้ำลายแทบไม่ได้เลย
คออักเสบ หรือ Pharyngitis เป็นภาวะอักเสบหรือเป็นแผลในลำคอที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย โดยอาการคออักเสบอาจลามไปที่อื่นได้ จนทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น โรคฝีที่ทอนซิล, ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอหรือไตอักเสบ เป็นต้น
อาการหลักๆที่เราคุ้นเคยของคออักเสบ คือ เจ็บคอ และ กลืนลำบาก และแน่นอนว่าต้องมีอาการไม่พึงประสงค์อื่นๆอีกมากมาย โดยสามารถแบ่งได้ 2 แบบคือ คออักเสบจากเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย
คออักเสบจาก “เชื้อไวรัส”
คออักเสบที่เกิดจากเชื้อไวรัสพบได้บ่อยมากกว่าคออักเสบจากแบคทีเรีย
นอกจากจะมีไข้ ปวดตัว ไอ จาม ปวดหัวทั่วไปแล้ว อาจมีอาการคอแดง จมูกแดง เสียงแหบ รวมไปถึงมีผื่นตามตัว และไวรัสบางชนิดอาจทำให้เกิดแผลร้อนใน ในปากได้
ผู้ป่วยเด็ก อาจมีอาการท้องร่วงร่วมด้วย
คออักเสบจาก “แบคทีเรีย”
นอกจากอาการมีไข้ ปวดหัว หนาวสั่นหรืออาการไม่สบายทั่วไปแล้ว อาจมีคอแดง มีจุดหรือแผ่นสีขาวหรือสีเทาบริเวณลำคอ รวมถึงทอนซิลโต มีจุดสีขาวและต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอบวม หรือกดแล้วรู้สึกเจ็บ
ผู้ป่วยเด็ก อาจมีปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย
อันตรายเนื่องจากคออักเสบสามารถลามไปบริเวณอื่นได้ และสามารถทำให้เกิดภาวะหรือโรคแทรกซ้อนมากมาย เช่น อาการติดเชื้อในหู หูชั้นกลางอักเสบ ไซนัสอักเสบ เกิดฝีในบริเวณใกล้ ๆ กับทอนซิล ไข้ออกผื่นในเด็ก และไตอักเสบ เป็นต้น
โดยเฉพาะอาการคออักเสบที่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งมักจะไม่มียารักษาโดยเฉพาะ จึ่งต้องรอให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายสร้างมาเพื่อฆ่าไวรัสเอง แต่ถ้าเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียจะสามารถทานยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียช่วยฆ่าเชื้อโรคร่วมด้วยได้
แต่หากเป็นคออักเสบเรื้อรัง อาจใช้เวลาหลายอาทิตย์กว่าจะสามารถหายได้เอง
เนื่องจากคออักเสบอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรือ แบคทีเรีย ซึ่งอาจมีอาการที่คล้ายกัน ต่างกันเล็กน้อย เพราะฉะนั้นหากไม่มั่นใจในอาการ สามารถใช้ Agnos application เพื่อทำการวิเคราะห์อาการเบื้องต้น รวมทั้งปรึกษาแพทย์โดยไม่ต้องออกจากบ้าน เพื่อความมั่นใจในอาการและหาแนวทางรักษาโรคนั่นเอง
ข้อแตกต่างระหว่างสาเหตุนี้ คือ
โดยหากแน่ใจอาการ สามารถซื้อยามากินตามอาการได้
(ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ)
สำหรับผู้ป่วยคออักเสบจากไวรัส
สามารถใช้ยาแก้ปวดหรือยาลดไข้ และยาตามอาการต่างๆ เช่น ยาพาราเซตามอล ไอบูโพรเฟน (สำหรับผู้ใหญ่เท่านั้น)
สำหรับผู้ป่วยคออักเสบจากแบคทีเรีย
สามารถใช้ยาปฏิชีวนะป้องกันโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ยาเพนนิซิลิน ยาอะม็อกซี่ซิลิน เป็นต้น
หากหยุดยาเองเพราะคิดว่าอาการดีขึ้นจะทำให้ไม่หายขาดและ เกิดการดื้อยา
คออักเสบสามารถป้องกันได้ !
คออักเสบสามารถแพร่ไปหาสู่ผู้อื่นได้ หากใครกำลังสงสัยว่าตัวเองกำลังจะเป็น แต่ก็ยังไม่แน่ใจ สามารถใช้ Agnos application เพื่อวิเคราะห์และสอบถามคุณหมอก่อน เพื่อความมั่นใจในร่างกายตัวเอง และหยุดยั้งการแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่นนั่นเอง
อ้างอิง :
https://www.pobpad.com
https://www.petcharavejhospital.com
http://medicine.swu.ac.th/msmc/?p=2030
เขียนโดย
Agnos Team
ตรวจสอบข้อมูลโดย
นพ.นราวิชญ์ จันทวรรณ
แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล
แชร์
บทความนี้มีประโยช์นสำหรับคุณหรือไม่ ?
Agnos Health ได้นำเสนอ “นโยบายระบบการแพทย์ในยุค 4.0” ในการประชุมสภาเมืองคนรุ่นใหม่ ครั้งที่ 3/2566 ณ ห้องประชุมสภากรุงเทพมหานคร
Agnos Health คว้ารางวัล ชนะเลิศจากงาน Insuretech Connect Asia Awards in Thailand และเป็นตัวแทนในการแข่งขันระดับนานาชาติ ที่งาน ITC Asia 2024 ณ ประเทศสิงคโปร์
Agnos Health นำ AI ตรวจโรคด้วยตนเอง เข้าร่วมเสนอไอเดียในรายการ Win Win WAR Thailand สุดยอดนักธุรกิจแบ่งปัน เพื่อเข้ามาช่วยแก้ปัญหาในระบบสุขภาพไทย
BrainDi พลิกโฉมการตรวจสุขภาพสมองด้วยเทคโนโลยี AI นวัตกรรมใหม่ล่าสุดจากจุฬาฯ และ Agnos Health