AgnosHealth Logo

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) ภัยเงียบที่ไม่ใช่แค่เมื่อย !

ออฟฟิศซินโดรม

แก้ไขล่าสุด: 14 พฤษภาคม 2566

เขียนโดย

Agnos Team

Agnos Team

แชร์

นั่งหน้าคอม งานไม่หนัก ไม่ได้ไปยกของหนัก แต่ทำไมปวดหลัง ปวดหัวจัง พอไปหาหมอ ตรวจมาก็ไม่ได้เจออะไรมากนัก

อาการแบบนี้เกิดจากอะไรกัน ?

เชื่อว่าหลายๆคน คงอาจเคยได้ยินคำศัพท์ ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) กันมาบ้างแล้ว เช่น ออฟฟิศซินโดรมอาจจะมีอาการปวดหลังหรือปวดหัว เป็นต้น

แต่วันนี้ Agnos จะพาไปดูอาการของ ออฟฟิศซินโดรม ที่เราเองก็อาจเสี่ยงโรคนี้แบบไม่รู้ตัวก็ได้

ออฟฟิศซินโดรม ไม่ใช่แค่ปวดหลังเท่านั้น

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คืออาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืด เกิดจากการใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ เป็นเวลานาน จนทำให้เกิดอาการอักเสบ ปวด และเมื่อย โดยอาการปวด อาจเกิดขึ้นบริเวณ หัว คอ ไหล่ ตา มือ ขา และตามข้อต่างๆด้วยเช่นกัน

อาการของออฟฟิศซินโดรม

อันดับแรกเรามาทำความเข้าใจกับอาการของเจ้า

ออฟฟิศซินโดรมกันก่อน เพราะเพื่อนๆทุกคนก็อาจมีอาการเหล่านี้อยู่ก็ได้ !

1.มีอาการปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนผู้ป่วยอาจมีอาการปวดธรรมดา ปวดร้าวตามจุดต่างๆ หรือมีอาการปวดแบบล้าๆ บริเวณ คอ บ่า ไหล่ หลัง หรือสะโพก โดยอาจเกิดจากการนั่งผิดท่าเป็นเวลานานนั่นเอง

2.มีอาการของเกี่ยวข้องกับระบบประสาทอัตโนมัติ

โดยอาจมีอาการ

  • เหน็บ
  • เหงื่อออก รู้สึกเย็น ขนลุก ตามบริเวณที่ปวดร้าว

นอกจากนี้ อาจมีอาการหูอื้อ ตาพร่า มึนงง ที่อาจเกิดจากอาการปวดร้าวบริเวณคอ

3.อาการจากการกดทับของเส้นประสาท

อาจมีการชาบริเวณขา แขน และมือ เป็นต้น รวมถึงอาการอ่อนแรงด้วย โดยอาจเกิดจากการนั่งผิดท่าเป็นเวลานาน จนทำให้เส้นประสาทถูกกดทับนั่นเอง

4.มีอาการปวดเรื้อรัง

โดยอาจเกิดจากความเครียด ปวดหัวไมเกรน หรือจากการใช้สายตาจ้องคอมนานๆนั่นเอง

จริงมั้ยที่คนปวดหัว ไมเกรน ต้องออฟฟิศซินโดรม ด้วย ?

กว่า 50% ของผู้ที่เป็นไมเกรน มีอาการออฟฟิศซินโดรมร่วมด้วย


มีหลายงานวิจัยชี้ให้เห็นว่า ผู้ป่วยไมเกรนจะมีโอกาสมีอาการปวดบริเวณคอ บ่าไหล่ มากกว่าคนปกติหลายเท่า

นอกจากนี้ อาการออฟฟิศซิมโดรม สามารถกระตุ้นให้เกิด ไมเกรนได้ รวมถึงอาการปวดกล้ามเนื้อคอของออฟฟิศซินโดรมร้าวขึ้นจนเป็นไมเกรนนั่นเอง

เชื่อว่าหลายๆคนอาจจะต้องมีอาการเหล่านี้บ้าง หากต้องนั่งทำงานหน้าคอมหรือท่าเดิมเป็นเวลานานๆ แล้วเราจะทำยังไงดีล่ะ ?

รักษายังไงได้บ้าง ?

วิธีที่ง่ายที่สุดและทำได้ในทันที คือ การยืดกล้ามเนื้อด้วยตัวเองและปรับเปลี่ยนท่านั่งทำงานให้เหมาะสม

โดยการยืดกล้ามเนื้อจะสามารถช่วยลดอาการบาดเจ็บ ป้องกันการฉีกขาด และทำให้เคลื่อนไหวได้ดีอีกด้วย

ส่วนการปรับเปลี่ยนท่านั่งให้เหมาะสม โดยอาจปรับระดับโต๊ะและเก้าอี้ให้อยู่ในระดับที่ทำงานได้สะดวก ไม่ต้องงอหลัง หรือก้มจนเกินไป รวมถึงเปลี่ยนท่าทาง รวมถึงการยืดกล้ามเนื้อทุกๆ 1 ชม. ด้วย

หากใครที่ต้องการรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์หรือตัวเลือกอื่นๆ ก็สามารถทำได้เช่นกัน

  • การนวดแผนไทย
  • การฝังเข็ม
  • การกินยา

การรับประทานยาควรปรึกษาเภสัชกรก่อนทุกครั้ง รวมถึงอ่านฉลากยาให้ครบถ้วน เพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพของผลลัพธ์นั่นเอง

ทิปการนอนให้ไม่ปวดหลัง !

นอนหงาย

  • นอนหงายตัวตรง แขนทั้งสองข้างวางข้างตัว หรือวางบนท้อง
  • หนุนหมอนให้พอดีกับหัว
  • สอดหมอนข้างหรือหมอนใบเล็กไว้ใต้เข่าทั้งสองข้าง

นอนตะแคง

  • หนุนหมอนให้พอดีกับหัว
  • นอนตะแคงในท่าที่ถนัด งอเข่าเล็กน้อย
  • สอดหมอนข้างหรือหมอนหนุนไว้ระหว่างขาทั้งสองข้าง  เพื่อลดการกดทับของข้อและกระดูก
  • สอดมือข้างที่นอนตะแคงไว้ใต้หมอน

ทิปการนอนเล็กๆ น้อยไว้ชาร์จพลังเพื่อมาสู้กันต่อในวันทำงาน !

ถึงแม้เราจะตั้งใจทำงาน จำเป็นต้องนั่งหน้าคอมเป็นเวลานานๆ แต่อย่าลืมว่าสุขภาพของเรา ก็สำคัญไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพกายหรือใจของเรา !

นอกจากนี้อาการของ ออฟฟิศซินโดรม ค่อนข้างทั่วไป เช่น อาการปวดหลัง ปวดหัว ปวดตาแบบเรื้อรัง ซึ่งสามารถเป็นอาการของโรคอื่นๆได้เช่นกัน จึงอาจทำให้ผู้ที่มีอาการเกิดความสับสนกับโรคอื่นๆได้

เพราะฉะนั้นหากใครยังมีอาการที่ไม่แน่ใจ สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Agnos เพื่อทำการวิเคราะห์อาการป่วยเบื้องต้นได้ ฟรี 24 ชม. !

อ้างอิง: https://www.rattinan.com/officesyndrome-vs-migraine/

https://www.sikarin.com/health/officesyndrome

https://www.praram9.com/officesyndrome/

https://www.synphaet.co.th/

https://thainakarin.co.th/how-to-fix-office-syndrome

https://www.sarirarak.com/single-post/2018/05/03/

เขียนโดย

Agnos Team

Agnos Team

แชร์

บทความนี้มีประโยช์นสำหรับคุณหรือไม่ ?

บทความที่เกี่ยวข้อง

AgnosITCAInsuretech

Agnos Health คว้ารางวัล ชนะเลิศจากงาน Insuretech Connect Asia Awards in Thailand และเป็นตัวแทนในการแข่งขันระดับนานาชาติ ที่งาน ITC Asia 2024 ณ ประเทศสิงคโปร์

Agnos Health นำ AI ตรวจโรคด้วยตนเอง เข้าร่วมเสนอไอเดียในรายการ Win Win WAR Thailand สุดยอดนักธุรกิจแบ่งปัน เพื่อเข้ามาช่วยแก้ปัญหาในระบบสุขภาพไทย

ตรวจสุขภาพสมองBrainDi

BrainDi พลิกโฉมการตรวจสุขภาพสมองด้วยเทคโนโลยี AI นวัตกรรมใหม่ล่าสุดจากจุฬาฯ และ Agnos Health

cancer

มะเร็งปอด ภัยร้ายที่อยู่รอบตัว

เกี่ยวกับ Agnos

ติดต่อสอบถาม

บุคคลทั่วไป

ภาคธุรกิจ

สมัครร่วมทีม Agnos