โรคซึมเศร้า…ควรเริ่มรักษาอย่างไร เช็กอาการเบื้องต้น และปรึกษาจิตแพทย์ที่ไหนดี?

Depressionโรคซึมเศร้าmental health

แก้ไขล่าสุด: 30 มกราคม 2567

เขียนโดย

Agnos Team

Agnos Team

ตรวจสอบข้อมูลโดย

doctor nick

นพ.นราวิชญ์ จันทวรรณ

แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล

แชร์

ก่อนอื่นอยากให้รู้กันก่อนว่า คำว่า “โรค” บ่งว่าเป็นความผิดปกติทางการแพทย์ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาเพื่อให้อาการทุเลา ต่างจากภาวะอารมณ์เศร้าตามปกติธรรมดาที่ถ้าเหตุการณ์ต่างๆ รอบตัวคลี่คลายลง หรือมีคนเข้าใจเห็นใจ อารมณ์เศร้านี้ก็อาจหายได้ คนที่เป็นโรคซึมเศร้านอกจากมีอารมณ์ซึมเศร้าร่วมกับอาการต่างๆ แล้ว การทำงานหรือการประกอบกิจวัตรประจำวันก็แย่ลงด้วย (rama.mahidol.ac.th)

ในวันที่เรารู้สึกเศร้าจนคิดว่าตัวเองจะเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่า? อาจมีเรื่องที่คุณอาจจะเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า  หรืออาจมีคนรอบตัวสังเกตว่าช่วงนี้เราแย่ลง เริ่มนอนไม่หลับ เบื่ออาหาร หรือเราอาจจะแค่เบื่อ มีเรื่องไม่สบายใจ หรือแค่เผชิญอยู่กับปัญหาในชีวิต เมื่อเริ่มรู้สึกว่ามันหนักอึ้งขึ้นทุกวัน จนไม่สามารถทำอะไรอะไรได้ หาทางออกไม่เจอ  อยากให้รู้ว่า.. ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราจะลองตรวจสุขภาพใจ และรักษาจิตใจของตัวเองดู


ตัวช่วยตรวจโรคซึมเศร้า ฟรี ทำแบบทดสอบโรคซึมเศร้าดูก่อน…

เริ่มจากตรวจสุขภาพใจของตัวเองดูก่อน ทุกวันนี้มีตัวช่วยตรวจโรคซึมเศร้า ฟรี มากมาย และเข้าถึงได้สะดวกมาก หนึ่งแอปพลิเคชั่นชื่อคุ้นเคย ได้ใช้บ่อยในช่วงโควิด “หมอพร้อม” กลายมาเป็นแหล่งรวบรวมเรื่องสุขภาพ จากกระทรวงสาธารณสุขให้กับคนไทย  มี DMIND ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ถูกออกแบบ มาเป็นเพื่อนที่พร้อมรับฟัง ทุกความรู้สึกของคุณ และแบบทดสอบโรคซึมเศร้า ที่ทุกคนสามารถใช้คัดกรองเบื้องต้นได้

DMIND แบบทดสอบสุขภาพใจกับคุณหมอพอดี

แบบทดสอบโรคซึมเศร้า DMIND มีความแตกต่างจากแบบทดสอบซึมเศร้าทั่วไป ที่มีหมอพอดีเป็นปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ถูกออก แบบมาเป็นเพื่อนที่พร้อมรับฟังความรู้สึกของผู้ทำแบบทดสอบ  ได้พัฒนาร่วมกันระหว่างคณะแพทย์ศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม(UTC) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



หรือ ทางแอปพลิเคชั่นหมอพร้อม และ LINE “หมอพร้อม”  เลือกเมนู “ตรวจสุขภาพใจ” ก็จะพบกับแบบประเมินสั้นๆ และหมอพอดีที่รอคอยจะรับฟังเรื่องราวของคุณ


นอกจากนั้น Agnos เองก็เป็นอีกช่องทางที่สามารถคัดกรองโรคซึมเศร้าได้ด้วย

Agnos แอปพลิเคชั่นตรวจโรคด้วยตัวเอง

Agnos (แอ็กนอส) คือแอปฯ ตรวจโรคด้วยตัวเองเบื้องต้น จากอาการที่กังวัล ทั้งอาการทางกาย หรืออาการทางใจ ด้วยระบบ AI (ปัญญาประดิษฐ์) ที่มีความ แม่นยำสูง พัฒนาโดยทีมแพทย์ และทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ

หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า Agnos นอกจากจะสามารถวิเคราะห์อาการทางกาย ก็ยังสามารถวิเคราะห์อาการทางใจได้ด้วย เพียงเลือกที่เมนู “ตรวจโรคด้านจิตใจด้วย AI” หรือกดเลือกค้นหาอาการ “สภาพจิตใจ” จากเมนู “ตรวจโรคด้วยตัวเองโดยระบบ AI” ปุ่มแรก  เราก็สามารถรู้เป็นเปอร์เซ็นได้เลยว่า เรามีความเสี่ยงที่จะเป็นเกี่ยวกับโรคทางจิตเวชหรือเปล่า และโรคซึมเศร้าก็ยังเป็นผลวิเคราะห์อันดับต้นๆ เลยที่ผู้ใช้งานของเราวิเคราะห์ออกมาว่ามีความเสี่ยง เช่นเดียวกันกับโรคทางจิตเวชอื่นๆ

ดาวน์โหลด Agnos เพื่อทดลองใช้งานได้ ฟรี คลิก


เสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าระดับความรุนแรงนี้..  ควรเริ่มรักษายัง?

มาดู 4 ระดับของซึมเศร้า ผลข้างเคียง และการช่วยเหลือในแต่ละระดับ ควรทำอย่างไร

ระดับความรุนแรงของโรคซึมเศร้า

ระดับ 1 เครียด แต่ 'เอาอยู่' (สีเขียว)

เกิดจากภาวะเครียด อาจเป็นความเครียดจากปัญหารุมเร้า หรือเป็นความเครียดจากการทำงาน ซึ่งโดยปกติมนุษย์จะหาวิธีการรับมือได้หลายรูปแบบตั้งแต่การตั้งสติเตือนตัวเอง หรือการปรับสมดุลทางอารมณ์ให้เข้าที่

ปรากฏการณ์ทางอารมณ์ เป็นภาวะปกติธรรมดาของมนุษย์และสัตว์ โดยที่อาการเครียด หรือซึมเศร้าสามารถหายไปได้เอง ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์โกรธ โมโห หงุดหงิด ฉุนเฉียว หรือแม้อาการกรีดร้องโวยวาย พอเวลาผ่านไปสักพักอารมณ์ที่เคยเศร้าหมองจะหายไป

ผลข้างเคียง แม้ทุกคนมีความเครียดแต่ยังพอรับมือ ได้ด้วยตัวเอง

คำแนะนำ แก้ปัญหาเชิงบวก เช่น ออกกําลังกาย ใช้เวลากับคนที่ตัวเองรัก ทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย ฟังเพลง ฟังพอดแคสต์

ระดับ 2 เครียดจัด ยังพอ 'ประคองไปได้ (สีเหลือง)

มี “อาการฟ้องทางกาย” เด่นชัดขึ้น เช่น กินไม่ได้ มีภาวะนอนไม่หลับ เกิดภาวะทางกายผิดปกติอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน เช่น ท้องเสีย หรือปวดหัวอย่างรุนแรงโดยไม่รู้สาเหตุจนต้องใช้ยาระงับความรู้สึก ระบบร่างกายจะรวนผิดปกติ เป็นสัญญาณเตือนอ่อน ๆ ว่าร่างกายกำลังรับไม่ไหวกับอาการเครียดที่กำลังเกิดขึ้นซ้ำ ๆ

ผลข้างเคียง อยู่ระหว่างป่วยกับปกติเครียด สูง แต่ยังประคองตัวได้ เป็นฟางเส้นสุดท้าย

คำแนะนำ ปรับวิธีแก้ปัญหา หาคนรอบข้าง รับฟังอย่างเข้าใจ

ระดับ 3 ซึมเศร้ากระทบกับงาน และการใช้ชีวิต (สีส้ม)

เริ่มมี “อาการฟ้องทางจิต” สมทบเข้ามา สีหน้าหม่นเศร้า ท่าทางอมทุกข์ เกิดภาวะซึมเศร้าทั้งภายนอกและภายในปรากฏชัด ผู้คนรอบข้างเริ่มสังเกตเห็นสีหน้าและท่าทางซึมเศร้าไม่หาย เหมือนคนตกอยู่ในอารมณ์เครียดรุนแรงตลอดเวลา ชอบปลีกวิเวก เหม่อลอย บ่นเพ้อคนเดียว โทษและโกรธเกลียดสังคมหรือคนรอบข้าง รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง มีทัศนคติว่าโลกนี้ไม่น่าอยู่ อาการป่วยลักษณะนี้คนรอบข้างต้องรีบช่วยเหลือดูแลโดยด่วน

ผลข้างเคียง ประสิทธิภาพ การทํางานลดลง มีปัญหาปฎิสัมพันธ์ กับผู้อื่น

คำแนะนำ พบแพทย์ หาคนรอบข้าง ที่รับฟังอย่างเข้าใจ

ระดับ 4 ซึมเศร้าทําร้ายตัวเอง ฆ่าตัวตาย (สีแดง)

มีอาการรุนแรงต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด เช่น ไม่กินอาหารเลย อยู่นิ่งๆ ตลอดวัน คิดอยากตายหรือพยายามฆ่าตัวตาย  แพทย์ต้องการตรวจเพิ่มเติมอย่างละเอียด เพื่อการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง

ผลข้างเคียง เสี่ยงทําร้ายตัวเอง ผู้อื่น สิ่งของ และฆ่าตัวตาย

คำแนะนำ ไม่ควรให้ผู้ป่วยอยู่ คนเดียว คนรอบข้าง ต้องเปิดใจรับฟังพอรู้ระดับความรุนแรงแล้ว ก็อย่าลืมสังเกตอาการอยู่เสมอๆ หรือหากคุณมีคนใกล้ตัวที่มีแนวโน้มว่าเหมือนจะเป็นซึมเศร้า หรือถึงขั้นเป็นซึมเศร้าเรื้อรัง ลองแนะนำ แบบทดสอบโรคซึมเศร้า ให้เขาทำดูเบื้องต้น และทำตามคำแนะนำ

พอรู้ระดับความรุนแรงแล้ว ก็อย่าลืมสังเกตอาการอยู่เสมอๆ หรือหากคุณมีคนใกล้ตัวที่มีแนวโน้มว่าเหมือนจะเป็นซึมเศร้า ลองแนะนำ แบบทดสอบโรคซึมเศร้า ให้เขาทำดูเบื้องต้น และทำตามคำแนะนำ  

⚠️
หากมีความรุนแรงระดับ 2 เป็นต้นไป อย่าลังเลที่จะไปเข้ารับการรักษา สักทางใดทางหนึ่ง หรือหากไม่รู้ต้องเริ่มอย่างไร ต้องการคำแนะนำแบบเร่งด่วน ให้เราช่วยแนะนำได้ ที่ คลิก line@agnos มีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาอยู่ตลอด



รักษาโรคซึมเศร้า อย่างไรได้บ้าง

ภาวะซึมเศร้าในแต่ละคนอาจมีแนวทางการรักษาที่เหมาะสมแตกต่างกันไปและในบางรายอาจต้องการการรักษาหลายอย่างร่วมกัน ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรง

1.   การรักษาด้วยการทานยา (Medication)
การได้รับยารักษาอาการโรคซึมเศร้านั้น เพื่อการค่อยๆ ปรับสมดุลสารเคมีในสมอง ในผู้ป่วยที่อาการไม่มากยิ่งสามารถรักษาได้หายขาดจากการกินยา โดยผู้ป่วยจะค่อยๆ กลับมาดีขึ้นช้าๆ ประมาณ 1-2 สัปดาห์และจะไม่ได้ดีขึ้นโดยทันที  เมื่ออาการดีขึ้นแล้วแพทย์จะให้ทานยาต่อเนื่องไปอีก 4-6 เดือน แล้วค่อยๆ ลดปริมาณยาลงในกอีก 2-3 เดือนต่อมา

ยารักษาโรคซึมเศร้าทุกชนิดมีผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นกับร่างกายของผู้ป่วยมากน้อยต่างกันในแต่ละชนิด แพทย์ผู้รักษาจะใช้ความเชี่ยวชาญในการเลือกยาและปรับปริมาณให้เหมาะสมกับร่างกายของผู้ป่วย ดังนั้นควรทานยาให้ครบตามปริมาณที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เพื่อผลในการปรับยาให้คงที่และเหมาะกับการรักษาของเรา

2. การรักษาด้วยจิตบำบัด (Psychotherapy), CBT (Cognitive Behavioral Therapy) และ Satirการรักษาด้วยจิตบำบัดนั้น ใช้วิธีการสื่อสารทางคำพูด การสื่อสารด้วยภาษาร่างกายต่างๆ และความไว้วางใจระหว่างแพทย์ผู้ให้การรักษาและผู้ป่วยเพื่อให้เกิดความเช้าใจตัวเอง การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม ความคิด หรืออารมณ์ต่างๆ เพื่อลดอาการปัญหาหรือปรับสภาพจิตใจของผู้ป่วย มีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย เช่น


  - จิตบำบัดแบบประคับประคอง เพื่อให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึกต่างๆ ที่สะสมไว้ออกมาได้แบบอิสระ ทุกความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ต่างๆ โดยมีนักจิตวิทยาที่จะช่วยดูแลให้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วย

  - จิตบำบัดแบบมุ่งเน้นการปรับความคิดความเข้าใจ จากความรู้สึกด้านลบต่างๆ ความเชื่อที่ไม่สมเหตุผลที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยซึมเศร้า ผู้เชี่ยวชาญจะช่วยให้ผู้ป่วยเห็นความคิดด้านลบของตัวเองและรู้วิธีที่จะจัดการวิธีคิดในทางที่เหมาะสมได้

  - จิตบำบัดแบบพฤติกรรมบำบัด สำหรับผู้ป่วยที่ต้องการสร้างแรงจูงใจจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปจากโรคซึมเศร้าให้กลับมามีสมาธิอยู่กับปัจจุบันได้ ด้วยการสร้างเป้าหมายที่ขัดเจน การทำตามแผนที่วางไว้ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และฝึกการเข้าสังคม

การบำบัดพฤติกรมทางความคิด CBT หรือ Cognitive Behavioral Therapy ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะเน้นไปที่การแก้ปัญหาจากอาการปัจจุบันและปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหา เพื่อปรับความคิดให้ผู้ป่วยมีกลับมามีความคิดที่สมเหตุผล ออกจากความคิดด้านลบ มองปัญหาให้ออก เข้าใจปัญหา เพื่อให้สามารถหาข้อสรุปให้กับปัญหาอาการซึมเศร้าของตัวเองได้ และช่วยป้องกันการซึมเศร้าที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้

3. การรักษาด้วยไฟฟ้า หรือ ECT (Electroconvulsive Therapy)
ECT เป็นการรักษาทางการแพทย์ที่เป็นทางเลือกสุดท้ายสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าอย่างรุนแรงซึ่งไม่ตอบสนองต่อการรักษาอื่นๆ ด้วยการกระตุ้นสมองด้วยไฟฟ้าระยะเวลาสั้นๆ ในขณะที่ผู้ป่วยอยู่ภายใต้การดมยาสลบ ผู้ป่วยมักจะได้รับ ECT 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ สำหรับการรักษาทั้งหมดถึง 12 ครั้งโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมมาแล้ว เช่น จิตแพทย์ วิสัญญีแพทย์ และพยาบาลหรือผู้ช่วยแพทย์ ECT


จิตแพทย์กับนักจิตวิทยา ต่างกันยังไง? ถ้าอยากลองปรึกษาใครสักคนควรไปพบใคร

เมื่อถึงคราวต้องเริ่มปรึกษา หรือต้องเข้าสู่การรักษา มีผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพจิต 2 คน ที่เราควรต้องรู้ว่าจะไปพบใคร หาจิตแพทย์ หรือหานักจิตฯ ดีนะ ใครที่จะช่วยรักษาและใครที่จะรับฟังปัญหาของเรา

จิตแพทย์ (psychiatrist) คือ แพทย์เฉพาะทางที่ศึกษาด้านจิตเวช ซึ่งมีความเชี่ยวชาญการรักษาอาการป่วยทางจิต และฟื้นฟูสุขภาพจิตของผู้ป่วยด้วย โดยลักษณะเด่นของจิตแพทย์คือ

  • เป็นผู้ที่ศึกษาจบแพทยศาสตร์ (Medicine) และเรียนต่อเฉพาะทางด้านจิตเวชศาสตร์
  • สั่งจ่ายยาให้กับผู้ป่วยได้
  • สามารถระบุ วินิฉัยโรค และออกใบรับรองแพทย์ได้
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลทางร่างกายของผู้ป่วยได้
  • รักษาด้วยวิธีที่เกี่ยวข้องกับร่างกายเช่น คลื่นไฟฟ้ากระตุ้น ให้กับผู้ป่วยได้
  • ประเมินว่าผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้าโรงพยาบาลหรือไม่
  • มักจะรักษาผู้ป่วยในแง่มุมที่มีความเกี่ยวข้องกับปัญหาที่เกิดขึ้นจากร่างกาย สารสื่อประสาท ฮอร์โมน หรือชีวเคมีทางประสาท (Neurochemical)

นักจิตวิทยา (psychologist) คือ ผู้ที่ศึกษาศาสตร์ทางจิตวิทยา (psychology) ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับ ความคิด อารมณ์ความรู้สึก พฤติกรรม และปัจจัยต่างๆ ของมนุษย์ ซึ่งจะช่วยเหลือให้คุณสามารถมีมุมมองต่อตนเองได้ชัดเจนมากขึ้น เข้าใจตัวเองมากขึ้น โดยลักษณะเด่นของนักจิตวิทยาคือ

  • เป็นผู้ที่ศึกษาจบจิตวิทยา (Psychology)
  • ดูแลและช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาด้วยการพูดคุยและการบำบัด
  • มักจะดูแลปัญหาในมิติที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์ ความรู้สึก การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม หรือความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
  • โดยมากผู้ที่รับบริการอาจไม่ต้องเข้ารับบริการอันเนื่องมาจากปัญหาที่เกิดจากโรคหรือความผิดปกติ แต่อาจมาเพื่อต้องการให้ตัวเองมีการตัดสินใจที่ดีขึ้น มีความสุขมากขึ้น หรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบางอย่างเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

สรุปว่าเราควรพบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา ควรตัดสินใจได้จากปัญหาที่เกิดขึ้น และที่มาที่ไปของปัญหา ตัวอย่างเช่น

ปัญหาที่ควรพบจิตแพทย์

  • มีปัญหาเกี่ยวกับโรคทางจิตเวช
  • มีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางร่างกาย ฮอร์โมน หรือสารสื่อประสาท มีภาวะการปรับตัวผิดปกติ เป็นโรคจิตทางอารมณ์
  • เมื่อมีภาวะหรืออาการทางจิตที่รุนแรง
  • เมื่อมีอาการหรือความเจ็บป่วยทางร่างกายร่วมด้วยเช่น ปวดหัวข้างเดียว เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน ปวดตาโดยไม่ทราบสาเหตุเป็นต้น

ปัญหาที่ควรพบนักจิตวิทยา

  • เมื่อเผชิญหน้ากับปัญหาชีวิต ในช่วงต่างๆ
  • ต้องการดูแลความเครียด ความกังวลที่เกิดขึ้น
  • อยากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง เพื่อให้ชีวิตตัวเองดีขึ้น
  • อยากมีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น อยากดูแลความสัมพันธ์กับคนสำคัญหรือครอบครัว
  • ต้องการคลี่คลายปมบางอย่างภายในใจ
  • เมื่ออยากก้าวข้ามผ่านอะไรบางอย่างเช่น การยอมรับ การเปลี่ยนสภาพแวดล้อม สภาวะหมดไฟ
  • เมื่อพบความกดดัน รู้สึกแปลกแยก และต้องการปรับตัว หรือพัฒนาตัวเอง
  • มีปัญหาภายในครอบครัวและต้องการหาทางออก

รักษาซึมเศร้าที่ไหนดี

การเริ่มต้นหาสถานพยาบาลที่รักษาซึมเศร้า ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง ซึ่งแต่ละที่ก็มีข้อจำกัดที่แตกต่างกัน หรือหากไม่รู้ต้องเริ่มอย่างไร ไม่รู้ควรเลือกที่ไหน ต้องการคำแนะนำแบบเร่งด่วน ให้เราช่วยแนะนำได้ ที่  line @agnos  มีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษา รออยู่แล้ว!

โรงพยาบาลเอกชน

โรงพยาบาลเอกชนก็เป็นอีกทางเลือก สำหรับคนที่อยากไปโรงพยาบาลที่สะดวกใกล้บ้าน จะได้พบแพทย์เร็วกว่าโรงพยาบาลรัฐ ได้มีเวลาพูดคุยปรึกษากับแพทย์มากกว่า แต่อัตราค่าบริการอาจจะสูงขึ้นมาประมาณ 1,000-3,000 บาท ไม่รวมค่ายา หากมีสิทธิประกันสังคมหรือสิทธิอื่นๆที่คุ้มครอง ก็สามารถไปโรงพยาบาลเอกชนในเครือได้

โรงพยาบาลเอกชนที่แนะนำ

Agnos ได้รวบรวมโรงพยาบาลเอกชน ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่มีจิตแพทย์ และแผนกจิตเวชไว้ให้แล้ว สามารถดูรายชื่อจิตแพทย์ในโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำ ตารางวันและเวลาออกตรวจของแพทย์ ได้ที่ปุ่มด้านล่าง

ค้นหาจิตแพทย์

คลินิกสุขภาพจิต

หากอยากพบจิตแพทย์เร็วกว่าโรงพยาบาลรัฐ หรือโรงพยาบาลเอกชนที่แนะนำไป หรืออยากปรึกษานักจิตวิทยา โดยไม่ต้องไปโรงพยาบาล ยังมีการซึมเศร้ารุนแรงระดับเริ่มต้น ถึงปานกลาง ก็สามารถไปพบจิตแพทย์ที่คลินิกจิตเวช หรือปรึกษากับนักจิตวิทยาคลินิกได้ คลินิกมีหลากหลายแห่ง และหลายรูปแบบบริการที่แตกต่างกัน สามารถเลือกให้ตรงตามความสะดวก และความต้องการของเรามากที่สุดได้  และอัตราค่าบริการก็จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละคลินิก

Agnos เป็นศูนย์รวมคลินิกสุขภาพจิต หลากหลายแห่งทั่วประเทศ สามารถเลือก ค้นหาคลินิก ใกล้ฉัน ได้ หรือหาคลินิกที่มีบริการเหมาะสมกับคุณที่สุดได้แล้วแอปพลิเคชั่น Agnos หรือคลิกที่ปุ่มด้านล่าง


โรงพยาบาลรัฐ

หากคุณมีข้อจำกัดในเรื่องค่ารักษา ต้องการใช้สิทธิบัตรทอง หรือประกันสังคม โรงพยาบาลรัฐก็เป็นตัวเลือกที่ดี มีจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาคอยให้คำปรึกษา ค่ารักษาประมาณ 150 - 1,000 บาท แต่เนื่องจากโรงพยาบาลรัฐมีจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาอยู่มาก ทำให้มีคิวที่ยาว และด้วยจำนวนแพทย์ที่จำกัด ทำให้มีข้อจำกัดของเวลาตามมา  สำหรับใครที่ต้องการรักษาอย่างเร่งด่วน ไม่อยากรอคิว  โรงพยาบาลรัฐอาจจะไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีหากต้องการรักษาแบบเร่งด่วน

โรงพยาบาลรัฐที่แนะนำ

1.โรงพยาบาลศรีธัญญา

โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านจิตเวช ในสังกัดกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เปิดให้บริการปรึกษาแพทย์ทั้งในช่วงเวลาราชการ ซึ่งมีค่าบริการเริ่มต้นที่ 150 บาท ในกรณีที่มียาก็ต้องจ่ายค่ายาเพิ่ม หรือค่าตรวจเพิ่มเติมหากแพทย์สั่ง นอกจากนี้ยังมีคลินิกพิเศษนอกเวลาราชการ เปิดให้บริการ จันทร์-ศุกร์ เวลา 16.00-21.00 น. ค่าบริการเริ่มต้น 250 บาท (ไม่สามารถใช้สิทธิใดเบิกได้)

2. สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

โรงพยาบาลจิตเวชแห่งแรกในประเทศไทย ที่ให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วยจิตเวช ประสาทวิทยา ประสาทศัลยศาสตร์ และประสาทจิตเวชศาสตร์ โดยให้บริการตามวันและเวลาราชการ แต่ก็มีคลินิกพิเศษนอกเวลาเช่นกัน ให้บริการวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 16.30-20.00 น. ซึ่งในส่วนนี้จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมราวๆ 700 บาท เป็นค่าบริการผู้ป่วยใหม่ ค่าธรรมเนียมแพทย์ และค่าตรวจประเมินผู้ป่วยใหม่ ซึ่งสามารถเบิกได้ตามสิทธิรักษาที่มี

3. สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์

สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ เป็นโรงพยาบาลรัฐที่ให้บริการผู้ป่วยจิตเวช ตั้งแต่การวินิจฉัยบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้มีปัญหาจิตเวช วิกฤติสุขภาพจิต จิตเวชที่มีปัญหาระดับรุนแรง ยุ่งยากซับซ้อน ผู้ติดสารเสพติด รวมไปถึงจิตเวชเด็ก แต่ทั้งนี้การพบแพทย์ในเวลาราชการต้องเดินทางไปจองคิวตั้งแต่ก่อน 07.00 น. และจะรับคิวจำนวนจำกัดวันละ 200 คนเท่านั้น ซึ่งจะไม่มีค่าบริการ ยกเว้นหากมีการตรวจเพิ่มเติมหรือจ่ายยาก็ต้องจ่ายค่าตรวจและค่ายาที่ได้รับ

ส่วนคลินิกพิเศษนอกเวลาราชการ เปิดให้บริการจันทร์-ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา 16.00- 20.30 น. (ผู้ป่วยใหม่ปิดรับคิว 19.30 น.) อัตราค่าบริการเริ่มต้น 900 บาทขึ้นไป โดยไม่สามารถใช้สิทธิใดเบิกได้

4. โรงพยาบาลศิริราช

แผนกจิตเวช โรงพยาบาลศิริราช ให้บริการตรวจผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป อัตราค่าบริการเริ่มต้น 900 บาท ไม่รวมค่ายา และค่าตรวจเพิ่มเติม แต่สามารถเบิกได้ตามสิทธิรักษาที่มี แหากเป็นผู้ป่วยใหม่ ดังนั้นหากต้องการพบจิตแพทย์แนะนำให้ไปจองคิวตั้งแต่เช้าตรู่

ส่วนคลินิกพิเศษนอกเวลาราชการ จะให้บริการตรวจรักษาโดยอาจารย์แพทย์เฉพาะทาง ตั้งแต่เวลา 16.00-20.00 น. ทุกวันจันทร์-ศุกร์ ยกเว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ อัตราค่าบริการเริ่มต้น 1,000 บาท ไม่รวมค่ายาและค่าตรวจเพิ่มเติม โดยสามารถเบิกได้เฉพาะสิทธิข้าราชการเท่านั้น

ปรึกษาออนไลน์กับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา

บริการออนไลน์ก็เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น ตั้งแต่ยุคโควิดมา ทำให้เดินทางไปโรงพยาบาลหรือคลินิกไม่ค่อยสะดวกนัก มีบริการปรึกษาออนไลน์ที่หลากหลาย ออกแบบมาตอบโจทย์ เมื่อต้องการความช่วยเหลือด้วยการพูดคุยและการบำบัด ต้องการผู้เชี่ยวชาญที่จะคอยรับฟังปัญหาของเราอย่างเข้าอก เข้าใจ มีทั้งจิตแพทย์และนักจิตวิทยา อยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ หรือแอปพลิเคชันต่างๆ  ข้อดีคือทั้งสะดวก รวดเร็ว และนัดหมายง่าย เป็นพื้นที่ปลอดภัย แต่ก็มีข้อจำกัดบ้างเล็กน้อย อย่างการที่ไม่ได้สบตาโดยตรง หรือการสังเกตภาษากายเวลาพูดคุย

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว หากยังไม่แน่ใจว่าเรา ควรเริ่มที่ตรงไหนก่อน ปรึกษาใคร รักษายังไงดี ให้เราช่วยแนะนำได้ ที่  line @agnos  มีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาอยู่ตลอด

และ Agnos เองก็มีบริการปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาออนไลน์ ทั้งแบบแชท โทรคุย หรือวิดีโอคอล ทั้งแบบรายเดือน รายครั้ง ในราคาเหมาะสม ที่อยู่ภายใต้การดูแลของจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ






อ้างอิง :

https://www.rama.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/09042014-1017

https://resourcecenter.thaihealth.or.th/article

https://www.agnoshealth.com/articles/what-is-depression  

https://health.kapook.com/view253563.html

เขียนโดย

Agnos Team

Agnos Team

ตรวจสอบข้อมูลโดย

doctor nick

นพ.นราวิชญ์ จันทวรรณ

แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล

แชร์

บทความนี้มีประโยช์นสำหรับคุณหรือไม่ ?

บทความที่เกี่ยวข้อง

Bangkok hospitalSmart RegistrationAgnosYourAIHealthAssistant

Smart Registration นวัตกรรมใหม่ จาก Agnos health และ โรงพยาบาลกรุงเทพ ใช้ AI ลงทะเบียนผู้ป่วย

PruksaAIสิทธิบัตรทอง

Agnos health ผู้ชนะ โครงการ Accelerate Impact with Pruksa จับมือกับ สำนักการแพทย์ กทม. ให้บริการคัดกรองโรคด้วย AI ผ่าน LINE OA โรงพยาบาลรัฐ

โรงพยาบาลรัฐคัดกรองอาการป่วยสิทธิบัตรทอง

Agnos ร่วมมือกับสำนักการแพทย์ กรุงเทพฯ ใช้ AI บน Line OA โรงพยาบาลรัฐ คัดกรองอาการป่วยและรับยาฟรี!

AIตรวจสุขภาพสมองAgnos

โรงพยาบาลสมิติเวชศรีนครินทร์ เรียนเชิญ CEO Agnos health ร่วมการพบปะสรุปโครงการ กับทีมผู้บริหารและทีมพยาบาล