AgnosHealth Logo

มะเร็งปอด ภัยร้ายที่อยู่รอบตัว

cancer

แก้ไขล่าสุด: 2 มิถุนายน 2566

เขียนโดย

Agnos Team

Agnos Team

แชร์

มะเร็งปอด ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในชนิดของมะเร็งที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุดชนิดหนึ่ง โดยความน่ากลัวของมะเร็งปอดคือ ผู้ป่วยในระยะแรกๆอาจไม่มีอาการใดๆเลยก็ได้ และอาจรู้ตัวเมื่อสายไปแล้ว !

วันนี้ Agnos จะพามาทำความรู้จักกับมะเร็งปอด สัญญาณเตือนของโรคและวิธีสังเกตอาการของตัวเองกัน !

ก่อนอื่น…เรามาทำความรู้จักกับ มะเร็ง กันก่อน


มะเร็ง คืออะไร ?

มะเร็ง คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ที่เติบโตผิดปกติในอวัยวะส่วนต่างๆของเรา จนทำให้เป็นเป็นก้อนเนื้อร้ายที่ลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียง หรือ กระจายไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ โรคมะเร็งนั้นมีหลายแบบขึ้นอยู่กับจุดกำเนิดโรคและชนิดของเซลล์มะเร็ง

โดยทั่วไปมะเร็งสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้

  1. มะเร็งที่มีจุดกำเนิดเยื่อบุอวัยวะต่างๆ (Carcinoma)
  2. มะเร็งที่มีจุดกำเนิดมาจากเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดในไขกระดูก (Leukemia) ทำให้มีความผิดปกติของเม็ดเลือด
  3. มะเร็งที่มีจุดกำเนิดมาจากกระดูก (Sarcoma) กระดูกอ่อน ไขมัน กล้ามเนื้อ หรือ เส้นเลือด
  4. สมองและไขสันหลัง (Central Nervous System Cancer)
  5. มะเร็งที่มีจุดกำเนิดมาจากเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกัน (Lymphoma and Myeloma)

ระยะของมะเร็งทั่วไป

ระยะของมะเร็งคือหนึ่งในข้อบ่งชี้ของความรุนแรง และบอกแนวทางของการรักษา

อย่างที่หลายๆคนรู้ โดยทั่วไปมะเร็งมี 4 ระยะ ได้แก่


มะเร็งระยะที่ 0

คือ มะเร็งระยะต้นๆ (Carcinoma in site) โดยจะอยู่บริเวณชั้นของเซลล์ปกติยังไม่แทรกเข้าไปในเนื้อเยื่อ

ปกติตรวจพบเซลล์ที่ผิดปกติบริเวณผิวนอกสุดและยังไม่ใช่เซลล์มะเร็ง แต่เซลล์ที่ผิดปกตินี้อาจกลายเป็นเซลล์มะเร็งและกระจายไปยังเนื้อเยื่อบริเวณอื่นได้


มะเร็งระยะที่ 1

โดยส่วนมากในระยะที่ 1  จะสามารถเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือตาเปล่า เพราะมีขนาดตั้งแต่ 3-5 เซนติเมตร มะเร็งระยะนี้จะยังคงอยู่ในอวัยวะที่เกิดมะเร็งเท่านั้น


มะเร็งระยะที่ 2

มะเร็งอาจกระจายออกไปในบริเวณใกล้เคียงอวัยวะที่กำเนิดมะเร็ง และอาจแพร่ไปยังอวัยวะหรือต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียงด้วย


มะเร็งระยะที่ 3

มะเร็งอาจกระจายออกไปยังต่อมน้ำเหลือง ขนาดของก้อนอาจต่างกัน


มะเร็งระยะที่ 4

เซลล์มะเร็งกระจายออกไปยังอวัยวะอื่นๆ เช่น ตับ ลำไส้ หรือปอด

นอกจากนี้เซลล์มะเร็งจะแบ่งตัว เติบโต และร่างกายของเราอาจไม่สามารถควบคุมการเติบโตลุกลามได้ มะเร็งอาจเข้าไปในอวัยวะใกล้เคียง โดยอาจเข้าผ่านกระแสเลือด หรือต่อมน้ำเหลืองได้ ซึ่งเรียกว่าการลุกลามแพร่กระจาย (Metastasis)

นอกจากนี้ 4 ระยะของมะเร็งยังสามารถแบ่งย่อยออกไปได้อีกเป็น A B C หรือ 0 1 2 ด้วย เนื่องจากบางทีเซลล์อาจมีลักษณะเป็นเซลล์มะเร็ง แต่ยังไม่มีการรุกรานไปยังอวัยวะใกล้เคียง


มะเร็งปอดล่ะ…?

ส่วนมะเร็งปอดง่ายๆคือ เซลล์ที่เจริญเติบโตผิดปกติบริเวณ ปอด หรือลามมาที่บริเวณปอดนั่นเอง


มะเร็งปอดสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ตามขนาดของเซลล์คือ มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (Small cell lung cancer) และมะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (Non-small cell lung cancer)

  1. มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (Small cell lung cancer) เป็นชนิดที่สามารถแพร่กระจายได้รวดเร็ว จึงทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงในการเสียชีวิตมากขึ้นและเร็วขึ้น พบได้ประมาณ 10-15% ของผู้ป่วยมะเร็งปอด

มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก จะใช้วิธีการรักษาโดยการฉายรังสี

โดย Small cell lung cancer สามารถแบ่งออกเป็น 2 ระยะคือ

  • ระยะจำกัด (Limited Stage) คือระยะที่จะพบเซลล์มะเร็งที่ปอดและต่อมน้ำเหลืองข้างเดียวกัน 1 ข้างเท่านั้น
  • ระยะลุกลาม (Extensive Stage) คือระยะที่จะพบเซลล์มะเร็งลุกลามและกระจายไปทั่วปอด นอกจากนี้เซลล์มะเร็งอาจออกนอกบริเวณช่องทรวงอกของข้างนั้น ไปสู่ของเหลวบริเวณรอบๆปอด และสามารถกระจายไปที่อวัยวะอื่นได้

 2.  มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (Non-small cell lung cancer) แพร่กระจายช้ากว่าและสามารถรักษาให้หายได้ หากพบตั้งแต่ระยะแรกๆ สามารถรักษาได้โดยการผ่าตัด พบประมาณ 85-90% ของผู้ป่วยมะเร็งปอด

อะไรทำให้เรา เสี่ยง..มะเร็งปอด ?

แน่นอนว่าการสูบบุหรี่ หรือการสูดควันบุหรี่คงจะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เรารู้จักและคุ้นเคยกันดี แต่จริงๆแล้วปัจจัยเสี่ยงมะเร็งปอดอาจจะไม่ได้อยู่แค่บุหรี่ หรือควันบุหรี่ก็ได้ !

  • การสูบบุหรี่ แน่นอนว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดมะเร็งอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น  และผู้ที่สูบบุหรี่อาจมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปอดมากกว่าคนไม่สูบถึง 10 เท่า นอกจากนี้ยังอาจเสี่ยงเป็นมะเร็งชนิดอื่นๆอีกด้วย
  • ควันบุหรี่มือสอง หรือควันบุหรี่ที่เราสูดเข้าไปแม้ไม่ได้สูบบุหรี่นั้น ก็อาจทำให้สารพิษตกค้างในปอด หรือร่างกายเรา จนทำให้เราเสี่ยงเป็นมะเร็งปอดได้
  • การทำงานในที่ๆมีสารพิษ หรือสารก่อมะเร็ง เช่น

โรงงานเคมีต่างๆ การมีการสัมผัสกับนิกเกิล ไยแร่หิน เป็นต้น

  • ฝุ่นละอองพิษ ไม่ว่าจะเป็น PM 2.5 ที่เราคุ้นเคยกันดี อาจทำให้เรามีความเสี่ยงเป็นมะเร็งมากกว่าปกติถึง 1 -1.4 เท่าตัวเลยทีเดียว
  • โรคปอด โดยผู้ที่เคยเป็นโรคปอด เช่น วัณโรคปอด หรือโรคถุงลมโป่งพอง อาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งปอดมากกว่าคนทั่วไป
  • พันธุกรรม ถึงแม้โรคปอดจะไม่ได้ถ่ายทอดทางพันธุกรรมแต่มีการค้นพบว่า ผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งปอด ก็อาจทำให้สมาชิกคนอื่นๆเสี่ยงมะเร็งปอดมากขึ้นเช่นกัน



อาการแบบไหนเป็นสัญญาณเตือนมะเร็งปอด ?

  • ไอเรื้อรัง
  • ไอมีเสมหะปนเลือด หรือไอเป็นเลือด
  • หายใจลำบากมีอาการหอบเหนื่อย
  • หายใจไม่สุด หายใจสั้น
  • หายมีเสียงวี้ด
  • มีอาการเจ็บหน้าอกบ่อยๆ
  • เสียงแหบ เสียงเปลี่ยน อาจเกิดจากการลุกลามของมะเร็งไปที่บริเวณเส้นประสาทกล่องเสียง
  • มีอาการปอดติดเชื้ออยู่บ่อยๆ
  • เหนื่อยง่าย รู้สึกอ่อนเพลียอยู่บ่อยๆ
  • อาจมีอาการปอดอักเสบและมีไข้ร่วมด้วย

อาการอื่นๆ เช่น

  • เบื่ออาหาร
  • น้ำหนักลด
  • อาจมีอาการบวมที่แขน คอ และทรวงอกส่วนบน
  • ปวดกระดูก
  • กลืนลำบาก อาจเกิดจากก้อนเนื้อมะเร็งเบียดหลอดอาหาร
  • มีตุ่มหรือก้อนขึ้นบริเวณผิวหนัง
  • ในบางรายอาจเป็นอัมพาต เนื่องจากมะเร็งได้แพร่กระจายไปบริเวณยังสมองและกระดูกไขสันหลัง

อาการข้างต้นอาจมีอาการบางอย่างที่คล้ายๆโรคปอดอื่นๆ หากมีอาการไม่สบายใจใดๆ สามารถเช็กอาการเบื้องต้นด้วย AI หรือสอบถามปรึกษาแพทย์ได้ที่แอปพลิเคชัน Agnos ได้ตลอด 24 ชั่วโมง


หากเรามีความเสี่ยงและต้องการไปตรวจมะเร็งปอด เราจะเจออะไรบ้าง ?

การวินิจฉัยมะเร็งปอด นอกจากการซักประวัติต่างๆแล้ว อาจมีการใช้เครื่องเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ (Low-Dose Computerized Tomography :LDCT) เพื่อตรวจคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่สูบบุหรี่จัด หรือผู้ที่มีประวัติ หรือสมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็งปอด หรือโรคปอดเรื้อรัง

นอกจากนี้ยังมีวิธีการตรวจหามะเร็งอื่นๆอีก คือ

  • การทำ CT สแกน
  • การเอ็กซ์เรย์ปอด
  • การส่องกล้องหลอดลมปอด (Bronchoscopy)
  • ตัดชิ้นส่วนเนื้อเพื่อไปตรวจสอบถามพยาธิวิทยา (Biospy)
  • การส่องกล้องในช่องทรวงอก (Mediastinoscopy)


หากมีการตรวจพบว่ามีเซลล์มะเร็งบริเวณปอด แนวทางการรักษาอาจขึ้นอยู่กับขนาดและระยะของมะเร็งปอดนั่นเอง


แนวทางการรักษา

  1. การผ่าตัด โดยจะผ่าตัดให้ผู้ป่วยที่เซลล์มะเร็งยังไม่ได้มีการแพร่กระจาย หรือแพร่กระจายไปเพียงต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงเท่านั้น
  2. การฉายรังสี อาจเป็นหนึ่งในวิธีที่หลายๆคนคุ้นเคยกัน
  3. การให้เคมีบำบัด โดยเป็นการให้ยาผ่านทางการฉีดและสามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้
  4. ให้ยามุ่งเป้าทำลายเซลล์มะเร็ง โดยจะมีผลต่อเซลล์มะเร็งเป็นหลัก มีผลต่อเซลล์อื่นๆน้อย
  5. การรักษาโดยภูมิคุ้มกันบำบัด เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาแบบใหม่ โดยจะเป็นการให้ยาเพื่อไปกระตุ้นภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยไปทำลายเซลล์มะเร็ง และมีผลข้างเคียงน้อยนั่นเอง


มะเร็งปอดหายขาดได้มั้ย ?

หากพบเจอตั้งแต่ระยะแรกๆ มีโอกาสหายขาดมากกว่า 90%

ไม่อยากเป็นมะเร็งปอดทำยังไงล่ะ..?

การป้องกันมะเร็งปอดสามารถทำได้ง่ายๆ โดยการ

  • ไม่สูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ผู้ที่สูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงที่ๆมีมลภาวะเป็นพิษ เช่น ที่ๆมีฝุ่น หรือควันเยอะๆ
  • สวมใส่หน้ากากอนามัย
  • หมั่นตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ออกกำลังกายและกินอาหารที่มีประโยชน์


ถึงแม้คำว่ามะเร็งอาจฟังดูน่ากลัว แต่หากพบตั้งแต่ระยะแรกๆ ก็สามารถหายขาดได้อย่างแน่นอน โดยการหมั่นสังเกตอาการตัวเอง ไม่ปล่อยให้มีอาการป่วยเรื้อรัง และตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ อาจเป็นวิธีการป้องกันที่ดีที่สุดนั่นเอง


Agnos ขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจให้ผู้ป่วยทุกๆคน และขอเป็นอีกหนึ่งกระบอกเสียงให้ทุกๆคนรักษาสุขภาพและหมั่นเช็กร่างกายของตัวเองอยู่เสมอๆ !


อ้างอิง : https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/lung-cancer

https://www.sikarin.com/health/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87-%E0%B8%A1%E0%B8%B0

https://www.bumrungrad.com/th/conditions/lung-cancer

https://www.agnoshealth.com/articles/world-cancer-day

https://www.medparkhospital.com/content/lung-cancer

https://www.bumrungrad.com/cancerstory1#:~:text=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%AD%E0%B8%94,5%20%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87%205%25

เขียนโดย

Agnos Team

Agnos Team

แชร์

บทความนี้มีประโยช์นสำหรับคุณหรือไม่ ?

บทความที่เกี่ยวข้อง

AgnosITCAInsuretech

Agnos Health คว้ารางวัล ชนะเลิศจากงาน Insuretech Connect Asia Awards in Thailand และเป็นตัวแทนในการแข่งขันระดับนานาชาติ ที่งาน ITC Asia 2024 ณ ประเทศสิงคโปร์

Agnos Health นำ AI ตรวจโรคด้วยตนเอง เข้าร่วมเสนอไอเดียในรายการ Win Win WAR Thailand สุดยอดนักธุรกิจแบ่งปัน เพื่อเข้ามาช่วยแก้ปัญหาในระบบสุขภาพไทย

ตรวจสุขภาพสมองBrainDi

BrainDi พลิกโฉมการตรวจสุขภาพสมองด้วยเทคโนโลยี AI นวัตกรรมใหม่ล่าสุดจากจุฬาฯ และ Agnos Health

ปอด

2 โรคเกี่ยวกับปอดใกล้ตัว เช็กความเสี่ยงกันก่อน !

เกี่ยวกับ Agnos

ติดต่อสอบถาม

บุคคลทั่วไป

ภาคธุรกิจ

สมัครร่วมทีม Agnos