อาหารเป็นพิษ โรคยอดนิยมหน้าร้อน !

อาหารเป็นพิษ (Food poisoning)

แก้ไขล่าสุด: 8 มกราคม 2567

เขียนโดย

Agnos Team

Agnos Team

แชร์

ในช่วงหน้าร้อนแบบนี้ ‘ อาหารเป็นพิษ ’ คงจะเป็นอีกหนึ่งโรคที่เราอาจต้องระวังไว้ !

หลายๆคนอาจจะเคยได้ยิน และคุ้นเคยกับคำพูดที่ว่า

‘ ตามใจปาก ลำบากท้อง ‘ กันอยู่บ้าง ไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาหารเป็นพิษ ที่หลายๆคนอาจคิดว่าเป็นโรคทั่วไป ไม่ได้อันตรายใดๆ แป๊บเดียว เดี๋ยวก็หาย แต่จริงๆแล้ว อาหารเป็นพิษอาจอันตรายมากกว่านั้น..!

วันนี้เรามาทำความรู้จักกับหนึ่งในโรคยอดฮิตหน้าร้อน อย่าง อาหารเป็นพิษ กัน….!

อาหารเป็นพิษ คืออะไร ?

อาหารเป็นพิษ (Food poisoning) เกิดจากการกินอาหาร น้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค หรือ สารพิษเข้าไป โดยส่วนมากจะมีอาการหลังกินอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรคหรือสารพิษไป 2-6 ชั่วโมง

อาการหลักๆของอาหารเป็นพิษ คือ

  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ปวดหัว
  • ถ่ายอุจจาระบ่อย หรือเกินวันละ 3 ครั้ง
  • ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • อ่อนเพลีย หิวน้ำ เหนื่อยง่าย เนื่องจากร่างกายขาดน้ำ

โดยปกติอาหารเป็นพิษ สามารถหายได้เองในวันหรือสองวัน แต่หากเป็น อาหารเป็นพิษชนิดรุนแรง อาจมีอาการดังนี้

  • อาเจียนและถ่ายอุจจาระมากกว่า 8-10 ครั้งต่อวัน
  • มีไข้.  
  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ซึม
  • มือเท้าเย็น
  • ปัสสาวะน้อย หรือมีสีเข้ม

**สำหรับผู้ป่วยเด็ก อาจมีอาการตาโหล ปากแห้ง รวมถึงปัสสาวะออกน้อยลง  หรือไม่ปัสสาวะเป็นเวลานานมากกว่า

เชื้อโรคอะไรที่ทำให้เราเป็นอาหารเป็นพิษได้ล่ะ..?

ส่วนมากแล้วอาหารที่ปนเปื้อน เชื้อโรคอย่าง เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือปรสิต จะเป็นต้นเหตุสำคัญในการเกิดอาหารเป็นพิษ

  • ซาลโมเนลลา (Salmonella) : พบได้ในเนื้อสัตว์ดิบ ไข่ดิบ รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม
  • ชิเกลล่า (Shigella) : พบได้ในการปนเปื้อนผลิตภัณฑ์อาหารสด น้ำดื่มที่ไม่สะอาด รวมไปถึงการสัมผัสกับคนที่มีเชื้อโดยตรง เช่น เอามือที่อาจมีเชื้อไปจับอาหารสด
  • คลอสติเดียม โบทูลินัม (Clostridium Botulinum) โดยเชื้อตัวนี้จะสามารถเจริญเติบโตได้ดีในที่ๆมีออกซิเจนน้อย ทำให้พบได้มากในภาชนะ หรือบรรจุภัณฑ์ปิดสนิท และอาจผ่านกระบวนการผลิต ที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อย่าง ผักดอง หรือ เนื้อสัตว์แปรรูปต่างๆ เช่น แฮม เป็นต้น
  • อีโคไล (E. Coli) บางสายพันธ์ุ พบมากในเนื้อสัตว์ดิบ
  • ไวรัสที่ก่อโรคในทางเดินอาหาร (Enteric Viruses)  ที่มักปนเปื้อนได้ทั้งในอาหารสด สัตว์น้ำที่มีเปลือก และน้ำดื่มที่ไม่สะอาด

อาหารที่ทำให้เราเสี่ยงอาหารเป็นพิษ !

  • อาหารดิบ หรือสุกๆดิบๆ
  • อาหารหมักดอง หรืออาหารกระป๋องที่อาจไม่ได้มาตราฐาน เช่น กระป๋องรั่ว กระป๋องขึ้นสนิท
  • อาหารที่ผ่านการปรุงแบบไม่สะอาด เช่น ใช้เขียงหั่นผักและผักร่วมกัน
  • อาหารรสจัด
  • อาหารที่มีแมลงวันตอม
  • อาหารข้ามคืน หรือทิ้งระยะเวลาไว้นาน โดยไม่ได้มีการอุ่นก่อน
  • น้ำแข็งจากการผลิตที่ไม่ได้มาตราฐาน

เป็นอาหารเป็นพิษ ทำยังไง ?

การดูแล ป้องกันและรักษา อาหารเป็นพิษเบื้องต้นคือ

  • กินอาหารที่ปรุงสุก และสะอาด
  • ล้างมือทุกครั้งก่อนกินข้าวทุกครั้ง
  • ควรละลายอาหารแช่แข็งด้วยไมโครเวฟ ไม่ควรปล่อยให้ละลายเองตามธรรมชาติ
  • งดอาหารรสจัด เช่น เผ็ดจัด เค็มจัด
  • ดื่มน้ำให้มากๆ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หากมีอาการคลื่นไส้ สามารถกินยาแก้คลื่นไส้ได้
  • ดื่มเกลือแร่ (****ดื่มเกลือแร่ ORS)

เกลือแร่สำหรับคนท้องเสีย ORS VS เกลือแร่นักกีฬา ORT

ORS  หรือ Oral Rehydration Salt คือเกลือแร่ที่จะช่วยทดแทนการเสียน้ำจากอาการท้องเสีย หรืออาเจียนที่ร่างกายเราสูญเสียไป

โดยเมื่อเราท้องเสีย หรืออาเจียนบ่อยๆ ร่างกายอาจขาดน้ำและเกลือแร่ จึงจำเป็นต้องดื่มเกลือแร่ ORS เข้ามาทดแทน

หากไปดื่มเกลือแร่ ORT หรือ Oral Rehydration Therapy สำหรับคนที่ออกกำลังกายแล้ว อาจทำให้ยิ่งมีอาการ หรือไปกระตุ้นอาการท้องเสียเพิ่มมากขึ้นได้ เนื่องจากในตัวเครื่องดื่มเกลือแร่ ORT จะมีปริมาณน้ำตาลและเกลือแร่บางชนิดที่ค่อนข้างสูง จึงอาจทำให้ร่างกายเราดึงน้ำมาในทางเดินอาการมากขึ้น ส่งผลให้กระตุ้นอาการท้องเสีย หรือถ่ายเหลวได้


ยาปฏิชีวนะ VS อาหารเป็นพิษ

คนส่วนใหญ่อาจคิดว่าหากอาหารเป็นพิษเกิดจากการติดเชื้อ งั้นก็กินยาปฏิชีวนะสิ..!  แต่อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น หากมีอาการไม่รุนแรง สามารถรักษาโดยการดื่มน้ำให้มากๆ ดื่มเกลือแร่และพักผ่อนให้เพียงพอ ก็อาจสามารถหายได้เอง เพราะยาปฏิชีวนะไม่สามารถแก้อาหารเป็นพิษได้ทุกกรณี เพราะยาปฎิชีวนะจะฆ่าเชื้อโรค แต่ไม่มีผลกับสารพิษ หรือพิษที่เป็นผลมาจากเชื้อโรคอีกทีใดๆ


ยาคาร์บอนแก้ท้องเสีย VS อาหารเป็นพิษ

ยาคาร์บอน หรือยาช่วยหยุดถ่ายใดๆ จะไม่แนะนำในกรณีที่เป็นการติดเชื้อในทางเดินอาหาร เพราะจะทำให้ไม่ถ่ายและทำให้ร่างกายไม่สามารถขับเชื้อโรคในทางเดินอาหารได้ เป็นการสะสมเชื้อโรคแทน

คาร์บอน เม็ดสีดำ ที่เราเชื่อว่าจะช่วยดูดซับสารพิษออกจากร่างกายได้ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ยังไม่ได้มีวิจัย หรือการยืนยันที่แน่ชัดจริงๆว่า คาร์บอนมีส่วนช่วยจริงๆมั้ย


คาร์บอนอาจมีส่วนช่วยจริงในการดูดซับสาร แต่มันไม่ได้ดูดซับแค่สารพิษ แต่อาจดูดซับสารอาหารและยาบางชนิดด้วย เพราะฉะนั้นควรทานให้ห่างจากตัวยาอื่นๆ อย่างน้อย 2 ชั่วโมง เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการดูดซับตัวยาอื่นๆของคาร์บอน


เชื่อว่าหลายๆคนอาจเคยผ่านการเป็นอาหารเป็นพิษมาอยู่บ้าง บางคนอาจหายได้เองภายในวันหรือสองวัน บางคนอาจต้องเข้าโรงพยาบาล แต่รู้หรือไม่ว่า การเป็นอาหารเป็นพิษ อาจทำให้เราเสียชีวิตได้…!?


ได้ยังไงกันล่ะ..?


เราสามารถเสียชีวิตจากอาหารเป็นพิษได้มั้ย..?

อาหารเป็นพิษอาจทำให้เราเสียชีวิตได้จากภาวะแทรกซ้อนของมันเอง โดยอาจทำให้เราอยู่ในภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ได้ จากอาการท้องเสียและอาเจียน รวมถึงอาการไม่อยากอาหารหรือกินอาหารไม่ได้ของผู้ป่วย จนทำให้ร่างกายช็อก และแน่นอนว่าสิ่งนี้เป็นอันตนายต่อชีวิตได้


โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคเบสหวาน โรคหัวใจ เป็นต้น


นอกจากนี้เชื้อโรคยางชนิดที่อาจทำให้เราเป็นอาหารเป็นพิษ อาจทำอันตรายต่ออวัยวะอื่นๆของเราได้ เช่น  เช่น เชื้ออีโคไลชนิดรุนแรง (Shiga Toxin-Producing E. Coli) ที่ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกและไตวาย จนอาจถึงแก่ชีวิตได้ เป็นต้น


ถึงแม้การเสียชีวิตจากโรคอาหารเป็นพิษจะมีน้อยมาก แต่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราควรลดปัจจัย และพฤติกรรมเสี่ยงโรคนี้ เราควรจะกินอาหารสุก และหมั่นตรวจเช็คร่างกายของเราด้วย !

หากมีอาการผิดปกติ หรือความไม่สบายใจใดๆ สามารถคัดกรอง หรือเช็คอาการก่อน ด้วยแอปพลิเคชั่น Agnos ด้วย AI หรือปรึกษาแพทย์ออนไลน์ได้ด้วยเช่นกัน



อ้างอิง : https://www.agnoshealth.com/articles/irritable-bowel-syndrome-vs-food-poisoning

https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/1892

https://www.medparkhospital.com/content/food-poisoning

https://mordeeapp.com/th/article

https://www.vibhavadi.com/Health-expert/detail/274

https://www.sikarin.com/health/อาหารเป็นพิษ-อร่อยปาก-ลำ

https://www.rajavithi.go.th/rj/?p=3728

https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/1847223

https://www.si.mahidol.ac.th/th/tvdetail.asp?tv_id=403

https://www.pobpad.com/


เขียนโดย

Agnos Team

Agnos Team

แชร์

บทความนี้มีประโยช์นสำหรับคุณหรือไม่ ?

บทความที่เกี่ยวข้อง

Bangkok hospitalSmart RegistrationAgnosYourAIHealthAssistant

Smart Registration นวัตกรรมใหม่ จาก Agnos health และ โรงพยาบาลกรุงเทพ ใช้ AI ลงทะเบียนผู้ป่วย

PruksaAIสิทธิบัตรทอง

Agnos health ผู้ชนะ โครงการ Accelerate Impact with Pruksa จับมือกับ สำนักการแพทย์ กทม. ให้บริการคัดกรองโรคด้วย AI ผ่าน LINE OA โรงพยาบาลรัฐ

โรงพยาบาลรัฐคัดกรองอาการป่วยสิทธิบัตรทอง

Agnos ร่วมมือกับสำนักการแพทย์ กรุงเทพฯ ใช้ AI บน Line OA โรงพยาบาลรัฐ คัดกรองอาการป่วยและรับยาฟรี!

AIตรวจสุขภาพสมองAgnos

โรงพยาบาลสมิติเวชศรีนครินทร์ เรียนเชิญ CEO Agnos health ร่วมการพบปะสรุปโครงการ กับทีมผู้บริหารและทีมพยาบาล