Chicago นำ AI Provider Copilot มาช่วยลดภาวะ Burnout ของแพทย์

วันที่โพสต์:
feature-image-blurfeature-image

เขียนโดย

แชร์บทความ

share-optionshare-optionshare-optionshare-option

ภาพทั้งหมด (7)

เครือข่ายโรงพยาบาลชั้นนำใน Chicago ได้นำ AI Provider Copilot มาเป็นผู้ช่วยลดภาระงานแพทย์เมื่อแพทย์ต้องใช้เวลากับงานเอกสารมากกว่าการดูแลผู้ป่วย ย่อมส่งผลเสียต่อทุกฝ่าย โรงพยาบาลนี้มี มากกว่า 300 เตียงและแพทย์กว่า 650 คน ต้องเผชิญกับปัญหานี้ทุกวัน

จนได้เริ่มนำเทคโนโลยี AI ของ Innovaccer มาใช้ โรงพยาบาลสามารถปรับปรุงกระบวน การทำงาน ลดภาระงานด้านเอกสาร และให้บุคลากรโฟกัสกับสิ่งสำคัญที่สุด คือ การดูแลผู้ป่วย

ปัญหาหลักที่โรงพยาบาลพบ

• แพทย์ต้องเตรียมข้อมูลสำหรับตรวจผู้ป่วยด้วยตนเอง ทำให้เสียเวลาอันมีค่า ซึ่งควรใช้ไปกับการดูแลผู้ป่วยที่ต้องการความช่วยเหลือ

• ข้อมูลผู้ป่วยมาจากหลายแหล่งและ ไม่ได้ถูกจัดการและรวบรวมอย่างเป็นระบบ ทำให้การวิเคราะห์และใช้ข้อมูลทำได้ยาก

• ขั้นตอนรับผู้ป่วย (Clinical Intake) ใช้เอกสารมาก และต้องป้อนข้อมูลซ้ำในหลายแบบฟอร์ม ทำให้เวลารอของผู้ป่วยยาวขึ้น

• แพทย์ Burnout จากการต้องใช้เวลามากกับงานเอกสาร ทำให้ต้องทำงานต่อในช่วงพักกลางวันหรือล่วงเวลา

• แต่ละแผนกของโรงพยาบาล ไม่เชื่อมโยงกัน ไม่มีมาตรฐาน  ทำให้เกิดความแตกต่างในด้านประสบการณ์ของผู้ป่วย (patient experience) และความไม่เชื่อมต่อกันของ patient journey

• การสื่อสารที่ขาดประสิทธิภาพระหว่างกะทำงานของบุคลากร ทำให้เกิดการทำงานซ้ำซ้อน

• การฝึกอบรมบุคลากรใหม่ต้องใช้เวลามาก เพราะไม่มีแนวทางที่เป็นระบบ

นำเทคโนโลยี AI จาก Innovaccer มาช่วยแก้ปัญหานี้อย่างไร

Innovaccer ได้ช่วยโรงพยาบาลแก้ปัญหาโดยนำ AI-powered Provider Copilot มาช่วยในงานด้านคลินิกและเอกสาร โดย AI มีจุดเด่น ดังนี้:

1. ระบบบันทึกข้อมูลทางการแพทย์อัตโนมัติ (AI-Powered Clinical Documentation)

• AI สรุปประวัติผู้ป่วย ระบุปัจจัยเสี่ยง และ รวมข้อมูลจากหลายแหล่งอย่างไร้รอยต่อ

• ลดภาระงานด้านเอกสารของแพทย์ และ เพิ่มความแม่นยำของข้อมูล

2. ระบบรับข้อมูลผู้ป่วยอัตโนมัติ (Automated Clinical Intake System)

• แบบฟอร์มดิจิทัลอัตโนมัติ ทำให้กระบวนการรับผู้ป่วยมีประสิทธิภาพมากขึ้น

• AI ช่วยกรอกข้อมูลผู้ป่วยล่วงหน้า ทำให้แพทย์สามารถอ่านข้อมูลก่อนการตรวจได้รวดเร็วขึ้น

3. การจัดการคุณภาพและการวิเคราะห์ข้อมูล (Data-Driven Performance Monitoring)

• ระบบติดตามคุณภาพ และการปฏิบัติตามแนวทางมาตรฐาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของทีมแพทย์

• Dashboard วิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ ใช้ติดตามประสิทธิภาพของระบบและการให้บริการผู้ป่วย

การใช้งาน AI-powered Provider Copilot

เครดิตภาพจาก https://innovaccer.com
  1. AI จะถอดความ วิเคราะห์ และสร้างบันทึกข้อมูลทางการแพทย์ จากการพูดคุยสนทนาระหว่างแพทย์และผู้ป่วย - ทำให้แพทย์ไม่ต้องพิมพ์บันทึกการรักษาด้วยตนเอง
เครดิตภาพจาก https://innovaccer.com
เครดิตภาพจาก https://innovaccer.com

2. AI ช่วยสรุปประวัติผู้ป่วยและระบุความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง จาก ระบบรับข้อมูลผู้ป่วยอัตโนมัติก่อนที่แพทย์จะเริ่มตรวจ

เครดิตภาพจาก https://innovaccer.com
เครดิตภาพจาก https://innovaccer.com


3. แพทย์สามารถดูข้อมูลที่ AI สรุปไว้ใน EHR (Electronic Health Records) ได้โดยตรง โดยไม่ต้องป้อนข้อมูลซ้ำ

เครดิตภาพจาก https://innovaccer.com


4. ระบบแจ้งเตือนการขาดข้อมูลหรือช่องว่างในการรักษา เพื่อให้แพทย์สามารถแก้ไขได้ทันที

เครดิตภาพจาก https://innovaccer.com

5. ข้อมูลผู้ป่วยจะถูกจัดเก็บและรวมเข้ากับระบบ EHR โดยอัตโนมัติ ทำให้ลดภาระเอกสารและเพิ่มความแม่นยำ

ผลลัพธ์จากการนำ AI-powered Provider Copilot มาใช้งาน

จากการใช้งาน AI-powered Provider Copilot พบว่า เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของแพทย์ ยกระดับคุณภาพการดูแลผู้ป่วย และสร้างประสบการณ์ที่ดีขึ้นให้กับผู้ป่วย

โดยมีผลลัพธ์ที่น่าสนใจและ สามารถวัดผลได้ ดังนี้

  • อาการเหนื่อยล้าจากงานและความเครียดของแพทย์ (Burnout) ลดลง 56%
  • เวลาโต้ตอบกับผู้ป่วยโดยตรงเพิ่มขึ้น 89% ทำให้แพทย์สามารถโฟกัสที่ผู้ป่วยได้มากขึ้น
  • ลดภาระทางความคิดของแพทย์ลง 61%
  • คะแนนความพึงพอใจของผู้ป่วยหลังการใช้งาน AI สูงถึง 85%
  • เวลาที่ใช้ในขั้นตอน Pre visit ก่อนพบแพทย์ของผู้ป่วยลดลง 60%

ชวนมาดูปัจจัยที่ทำให้การนำ AI-powered Provider Copilot เข้ามาช่วยพัฒนาโรงพยาบาลครั้งนี้ประสบความสำเร็จ

• การสนับสนุนจากผู้นำองค์กร ช่วยให้การนำ AI มาใช้เป็นไปอย่างราบรื่น

• การเชื่อมระบบ AI กับ workflow เดิมอย่างไร้รอยต่อ ไม่รบกวนระบบการทำงานเดิม

• การฝึกอบรมบุคลากรอย่างเป็นระบบ ทำให้สามารถใช้ AI ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

• การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ (Data-Driven Approach) ช่วยให้สามารถปรับปรุงคุณภาพการดูแลผู้ป่วยได้ต่อเนื่อง

หลังจากประสบความสำเร็จในการนำ AI มาใช้ โรงพยาบาลในชิคาโกแห่งนี้ ก็ได้วางแผนขยายการใช้งาน AI ไปยังแผนกอื่น ๆ โดยตั้งเป้าหมายให้ AI ช่วยปรับปรุงเวิร์กโฟลว์ และลดภาระงานที่ไม่จำเป็นของบุคลากรทางการแพทย์ ต่อไป

ในอนาคต การใช้ AI-powered healthcare solutions จะกลายเป็นมาตรฐานสำคัญในอุตสาหกรรมสุขภาพ เพื่อลดภาระงานของแพทย์ และมอบการดูแลที่มีคุณภาพสูงขึ้นให้กับผู้ป่วย

แล้วคุณคิดว่าโรงพยาบาลในประเทศไทยควรเริ่มนำเทคโนโลยรเช่นนี้มาใช้งานหรือบ้างหรือไม่

หากสนใจการนำเทคโนโลยี AI พัฒนาระบบบริการในสถานพยาบาลของคุณ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ https://www.agnoshealth.com/smart-hospital-and-clinics



ที่มา
https://innovaccer.com/resources/case-studies
https://innovaccer.com/agents-of-care#hcc-coding-agent

https://innovaccer.com/provider-copilot

บทความที่เกี่ยวข้อง

article-cover
  • AIHealthcare
  • Case Study

คลินิกสูตินรีเวชนำเทคโนโลยี AI มาช่วยแก้ปัญหาการสื่อสาร Patient engagement และบริหารจัดการภายในคลินิก

คลินิกสูตินรีเวช ในเมืองดอลตัล รัฐจอร์เจีย 2 แห่ง ครอบคลุมผู้ป่วยจำนวน 80,000 คน โดย ก่อนหน้านี้ คลินิกยังใช้ระบบการจัดการเวชระเบียนและการบริหารจัดการคลินิกที่ไม่สามารถเชื่อมต่ข้อมูลระหว่างกันได้ จึงพบปัญหาในการให้บริการของคลินิก ดังนี้  1.ปัญหาการมีส่วนร่วมของผู้ป่วย โดย คลินิกไม่มีวิธีที่ให้ผู้ป่วยสามารถจัดการ การนัดหมาย, การเข้าถึงประวัติการรักษา, หรือการติดต่อกับแพทย์  2. ปัญหาการประสานงานการดูแลระหว่างสถานพยาบาลต่าง  เนื่องจาก ข้อมูลผู้ป่วยไม่ได้เชื่อมต่อกัน ทำให้การประสานงานการดูแลจากคลิ

article-cover
  • Case Study
  • AI in Healthcare
  • +1

Case study การนำ AI มาใช้ในการช่วยลดภาระแพทย์ในญี่ปุ่น

ปัญหาการทำงานของแพทย์ แพทย์ในญี่ปุ่นมีเวลาทำงานที่ยาวนาน ซึ่งสาเหตุหลักมาจาการต้องให้บริการการรักษาฉุกเฉินและการทำงานด้านเอกสาร เช่น การกรอกข้อมูลในระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ (EHR) ซึ่งเป็นงานที่ต้องทำหลังจากการรักษาผู้ป่วยแล้ว จากการสำรวจพบว่าแพทย์กว่า 37.8% ทำงานล่วงเวลาเกิน 960 ชั่วโมงต่อปี กราฟแท่งที่เปรียบเทียบชั่วโมงการทำงานล่วงเวลาของคนทั่วไปและแพทย์ในญี่ปุ่น โดยเปรียบเทียบจำนวนชั่วโมงทำงานต่อปีระหว่างคนทั่วไปและแพทย์ โดยมีระดับของชั่วโมงทำงานล่วงเวลาต่าง ๆ ดังนี้: • คนทั่วไป: 720 ช

article-cover
  • Smart Registration
  • Smart Hospital
  • +1

เปิดประสบการณ์ Smart Registration ระบบลงทะเบียนด้วย AI ที่แรกในไทย

ในยุคที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน ระบบ AI ได้เข้ามามีส่วนช่วยให้บริการด้านสุขภาพมีประสิทธิภาพมากขึ้น และล่าสุด โรงพยาบาลกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ ได้นำเทคโนโลยี AI จาก Agnos มาใช้ในการลงทะเบียนผู้ป่วยผ่านระบบ Smart Registration ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่ช่วยให้ขั้นตอนการรับบริการทางการแพทย์เป็นไปอย่างรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น มอบความสะดวกสบายและคล่องตัว จากประสบการณ์ของผู้ใช้จริง ระบบ Smart Registration ทำให้การลงทะเบียนเป็นเรื่องง่ายและสะดวกมากขึ้น โดยผู้ป่วยสามารถลงทะเบียนผ่านต

article-cover
  • AI
  • AI in Healthcare

AI health care คืออะไร มีอะไรน่าสนใจบ้างในปี 2025

ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) ได้รับความสนใจอย่างมากในปัจจุบัน และการนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในประเทศไทย ก็เริ่มมีอย่างแพร่หลายมากขึ้นในทุกวงการ ทั้งนำไปใช้ในการทำงาน หรือชีวิตประจำวัน คนที่ใช้จนคุ้นเคยอาจจะบอกว่า AI เข้ามาทำให้การใช้ชีวิตเป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้น และในแต่ละอุตสาหกรรมก็นำ AI มาบูรณาการ เพื่อเพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพในกระบวนการทำงานที่แตกต่างกันไป ในวงการสุขภาพก็เช่นกัน AI เริ่มเข้ามามีบทบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ มีประโยชน์ในหลายด้านสามารถ นำมาพัฒนาต่อยอด เพื่อช่วยอำนวยความ