AgnosHealth Logo

5 โรคที่ผู้หญิงวัยทองต้องควรระวัง ?

ภาวะหมดประจำเดือน/วัยทอง (Menopause)

แก้ไขล่าสุด: 27 กุมภาพันธ์ 2566

เขียนโดย

Agnos Team

Agnos Team

แชร์

วัยทองต้องอายุเท่าไหร่ ?


เคยสงสัยมั้ยว่า…จริงๆแล้ว ช่วงอายุของ วัยทอง คือเท่าไหร่กัน ? แล้วร่างกายของเราจะเปลี่ยนไปขนาดไหนกันเชียวในช่วงอายุนี้ ?

วันนี้ Agnos จะพามาทำความรู้จักกับวัยทองกัน ! หลายๆคนอาจไม่รู้ว่าจริงๆแล้ว วัยทองเนี่ย สามารถเกิดได้ทั้งกะบผู้ชายและผู้หญิง

วันนี้เราลองมาเช็กอาการรกันว่าเราหรือคนรอบตัวเรา มีใครบ้างที่กำลังเข้าสู่วัยทอง หรือ อาจเสี่ยงโรคในช่วงวัยทอง !


เรามาเริ่มต้นกับคำถามที่ว่า…

วัยทอง คือ ช่วงอายุประมาณไหน ?


จริงๆแล้ววัยทอง อาจเริ่มได้ตั้งแต่ช่วงอายุประมาณ 40 - 59  ปี ในทั้งหญิงและชาย ในช่วงอายุนี้ หรือ ช่วงวัยทอง ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนทางเพศลดลง และอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพที่อาจตามมาได้


โดยอาการทั่วไปที่พบได้ของ ภาวะวัยทอง คือ

อาการทางด้านร่างกาย

  • อ่อนเพลีย กำลังน้อยลง กล้ามเนื้ออาจมีขนาดเล็กลง
  • นอนไม่ค่อยหลับ
  • อาจมีอาการเดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว
  • ร้อนวูบวาบ
  • ผิวหนังเหี่ยว แห้งและเป็นแผลง่ายขึ้น
  • ปวดเมื่อยตามตัว
  • สมรรถภาพทางเพศลดลง
  • กระดูกบางลง
  • ช่องคลอดแห้ง อาจทำให้เกิดอาการติดเชื้อ และอาจเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์

อาการทางด้านจิตใจ

  • หงุดหงิดง่าย โกรธง่าย อารมณ์แปรปรวน
  • รู้สึกเบื่อหน่าย
  • ซึมเศร้า หรือ เหงา
  • ขี้น้อยใจ

วัยทองในผู้หญิง

สำหรับสาวๆ หนึ่งในอาการที่เห็นได้ชัดมากที่สุดของวัยทอง คือ การหมดประจำเดือนนั่นเอง โดยระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดลง เนื่องจากรังไข่หยุดทำงาน ทำให้สาวๆหมดประจำเดือนไปเลยนั่นเอง

โดยการหมดประจำเดือนสามารถแบ่งออกได้ 3 ระยะ คือ

  1. ระยะก่อนหมดประจำเดือน (Perimenopause)

โดยระยะก่อนหมดประจำเดือนอาจทำให้สาวๆ ประจำเดือนมาไม่ตรง มาน้อยหรือมากผิดปกติ รู้สึกร้อนวูบวาบ มึนหัว อ่อนเพลีย อารมณ์แปรปรวน

โดยอาจเกิดก่อนประมาณ 2-3 ปี ก่อนหมดประจำเดือน

2. ระยะหมดประจำเดือน (Menopause)

โดยอาจเริ่มตั้งแต่การหมดประจำเดือนมาแล้วเป็นเวลา ประมาณ 1 ปี

3. ระยะหลังหมดประจำเดือน (Postmenopause)

โดยอาจเริ่มหลังจากการหมดประมาณ 1 ปีขึ้นไป ร่างกายอาจมีการเปลี่ยนแปลง จนอาจทำให้เกิดอาการ กระดูกพรุน หรือช่องคลอดตีบแคบ เป็นต้น


นอกจากอาการเบื้องต้นที่ทาง Agnos ได้พูดถึงแล้ว ยังอาจมีภัยเงียบ ที่กว่าจะรู้เราก็มีความเสี่ยงโรคนั้นซะแล้ว ! กับ 5 โรคสาววัยทองควรที่จะต้องระวัง


1. เบาหวาน

เป็นอีกหนึ่งภัยเงียบสำหรับผู้สูงอายุ หรือ ผู้ที่เข้าสู่วัยทอง โดยพบมากถึงร้อยละ 20 ในคนไทยอายุประมาณ 60 ปี

นอกจากนี้ เบาหวาน ยังเป็นโรคที่อาจไม่ค่อยแสดงอาการมากนัก จนกว่าจะได้ไปตรวจสุขภาพ แน่นอนว่าหากพบว่าเป็นเบาหวานแล้ว ส่วนมากจะตามมาด้วยสุขภาพปัญหาอื่นๆ เช่น ไขมันในเลือดสูง โรคไต หรือความดันโลหิตสูง


อาการของผู้ที่เสี่ยงเป็นเบาหวาน

  • ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะต้องตื่นมาปัสสาวะตอนกลางคืน
  • หิวน้ำบ่อย
  • หิวบ่อย รับประทานจุ แต่น้ำหนักลด
  • ผิวแห้ง
  • เป็นแผลแล้วหายยาก
  • ตาพร่ามัว
  • ชาบริเวณปลายมือปลายเท้า
  • หย่อนสมรรถภาพทางเพศ


เบาหวานสามารถป้องกันได้ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการกินอาหาร โดยทานอาหารที่มีน้ำตาลต่ำ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ


นอกจากนี้การไปตรวจเช็กสุขภาพทุกๆปี เพื่อให้แน่ใจว่าเราห่างจากโรคเบาหวานและโรคอื่นๆด้วย !


โดยทาง Agnos เองก็มีแพ็กเกจตรวจสุขภาพดีๆมาแนะนำ ตรวจครบจบทุกความกังวลที่ PCT แล็ป รวมถึงโรคเบาหวานด้วย ได้มาตราฐานเทียบเท่าโรงพยาบาลชั้นนำ !

2.โรคความดันโลหิตสูง

อีกหนึ่งโรคที่อาจไม่ได้มีสัญญาณเตือนที่ชัดเจนมากนัก จนกว่าจะได้ไปตรวจ โดยส่วนมาก โรคความดันโลหิตสูงอาจไม่มีอาการใดๆเลยกว่า 2 ปี แต่เมื่ออาการเริ่มแย่ลงเรื่อยๆ ความดันสูงขึ้นเรื่อยๆ อาจทำให้มีอาการดังนี้

อาการของโรคความดันโลหิตสูง

  • ปวดหัว
  • เวียนหัว
  • คลื่นไส้
  • อาจมีอาการเจ็บหน้าอก

นอกจากนี้การที่เรามีภาวะหรือโรคความดันโลหิตสูง อาจทำให้เราเสี่ยงโรคอื่นๆได้ เช่น โรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดต่างๆ เป็นต้น

โดยหากเราวัดความดันแล้วมีตัวเลขมากกว่า 130/80 มิลลิเมตรปรอท ถือว่า มีความเสี่ยงมีภาวะความดันโลหิตสูง ควรรีบพบแพทย์เพื่อปรึกษาแนวทางป้องกันและรักษาทันที

3.โรคไขมันในเลือดสูง

โรคไขมันในเลือดสูง อาจไม่มีอาการในระยะแรกๆ เช่นเดียวกับสองโรคที่ทาง Agnos ได้พูดถึง แต่อาจทำให้มีปัญหาสุขภาพตามมาในระยะยาว เช่น โรคหลอดเลือดตีบ หรือแข็งตัว รวมถึงเสี่ยงเป็นโรคหัวใจอีกด้วย

โดยปกติแล้ว ร่างกายของเราจะมีไขมันอยู่ 2 ชนิด คือ

  1. คอเรสเตอรอล (Cholesterol) เป็นไขมันที่พบได้ทั่วไปจากอาหารที่เรากินทั่วไป เช่น อาหารทะเล เนื้อสัตว์ติดมัน หรือขนมกรุบกรอบ
  • ชนิดความหนาแน่นต่ำ หรือไขมันไม่ดี (LDL)  โดยคอเรสเจอรอลชนิดนี้สามารถไปสะสมตามผนังของหลอดเลือดและทำให้หลอดเลือดตีบ จนเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันได้
  • ชนิดความหนาแน่นสูง หรือไขมันดี (HDL) ไขมันดีนี้ช่วยขับไล่และขจัดไขมันไม่ดีออกจากหลอดเลือดของเราและแน่นอนว่ามี HDL สูงกว่า LDL ย่อมเป็นเรื่องที่ดีนั่นเอง

2.  ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) เป็นไขมันที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นในตับ หรือ ร่างกายได้รับไขมันจากอาหารประเภทนั้นๆโดยตรง เช่น น้ำมัน หรือเนย

โดยหากเพิ่มสูงขึ้น อาจเกิดจากการใช้ยาฮอร์โมนบางอย่าง กรรมพันธุ์ หรือโรคอ้วน โรคเบาหวาน เป็นต้น

โรคไขมันในเลือดสามารถรักษาและป้องกันได้โดย…

  • การจำกัดอาหารที่กินให้เหมาะสม
  • ลดอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว
  • เน้นการปรุงอาหารที่ไม่ใช่การใช้น้ำมัน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • งดการดื่มแอลกอฮอล์
  • งดการสูบบุหรี่
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในมาตราฐาน
  • ปรึกษาแพทย์หากมีอาการที่กังวลใจอื่นๆ

4. โรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดในสมอง หรืออีกชื่อที่เราคุ้น คือโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โดยโรคหลอดเลือดในสมองเกิดจากการสูญเสียการทำงานบางส่วนของหลอดเลือดในสมองแตก อุดตัน หรือตีบอย่างเฉียบพลัน พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และเป็นอีกหนึ่งโรคอันดับต้นๆที่ทำให้คนพิการและเสียชีวิตก่อนวัยอันควรอีกด้วย

โดยโรคหลอดเลือดในสมองสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ

  1. โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน
  2. โรคหลอดเลือดสมองแตกหรือเลือดออกในสมอง

อาการและสัญญาณเตือนของโรคหลอดเลือดในสมอง

  • แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก
  • ชาครึ่งซีก
  • อาจมีอาการปากเบี้ยว มีอาการกลืนลำบาก
  • พูดไม่ออก พูดไม่เข้าใจ หรือคนทั่วไปเรียกว่า ลิ้นแข็ง
  • ไม่สามารถทรงตัวได้ เดินเซ
  • ตาพร่ามัว
  • ปวดหัวอย่างรุนแรงและเฉียบพลัน

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดในสมอง

  • กรรมพันธุ์ โดยญาติสายตรงเคยเป็นโรคหลอดเลือด หรือโรคหัวใจขาดเลือด
  • อายุ
  • ความดันโลหิตสูง
  • โรคเบาหวาน
  • โรคหรือภาวะอ้วน
  • ไขมันในเลือดสูง
  • สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป

การป้องกันโรคหลอดเลือดในสมอง

  • ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ
  • คุมระดับความดันและไขมันในเลือด
  • กินอาหารที่มีประโยชน์ และให้ครบ 5 หมู่
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • งดการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์
  • หากมีความเสี่ยงควรรีบพบแพทย์ทันที

5. ภาวะช่องคลอดแห้ง

ภาวะช่องคลอดแห้ง คือ ภาวะที่น้ำหล่อลื่นในช่องคลอดมีปริมาณน้อยลง อาจทำให้เยื่อบุบริเวณช่องคลอดนั้นแห้ง จนอาจทำให้เกิดอาการเจ็บ หรือแสบขณะมีเพศสัมพันธ์ได้

โดยภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นกับใครก็ได้ที่มีภาวะขาดเอสโตรเจน แต่ส่วนมากจะเกิดขึ้นกับผู้ที่กำลังเข้าสู่วัยทอง เนื่องจากในช่วงวัยทอง ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในช่องคลอดอาจลดลงได้

อาการของผู้ที่มีภาวะช่องคลอดแห้ง

ผู้ที่มีภาวะช่องคลอดแห้งบางรายมีอาการตลอดเวลา ในบางรายอาจมีเฉพาะตอนมีเพศสัมพันธ์เท่านั้น

  • มีอาการระคายเคือง แสบ
  • คัน
  • อาจมีปัสสาวะเล็ด รวมถึงการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
  • ช่องคลอดอักเสบ
  • มีปัญหาเรื่องอาการตกขาวที่ผิดปกติ
  • อาจมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์

การรักษาและหาตัวช่วยภาวะช่องคลอดแห้ง

  • ใช้ยาฮอร์โมนเอสโตรเจนเพื่อเพิ่มระดับฮอร์โมน นอกจากนี้ยาเอสโตรเจนยังมีแบบทา และสอดอีกด้วย

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การใช้ยาทุกประเภทควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ

  • การใช้เจลหล่อลื่น หรือสารเพิ่มความชุ่มชื้น

โดยเจลหล่อลื่นที่ใช้อาจควรไม่ทำร้ายน้องสาว รวมถึงทำให้เกิดการระคายเคืองผิวอีกด้วย

ทาง Agnos มีผลิตภัณฑ์เจลหล่อลื่นมาแนะนำให้กับทุกๆคนกัน !

Winona Lisse Time Gel (110 ml) เจลหล่อลื่นจากแบรนด์ Winona ที่เข้าใจสาวๆสุดๆ ไม่ทำให้ระคายเคือง ลดอาการแสบ เพิ่มความชุ่มชื้นให้บริเวณผิวหนัง และสามารถใช้ได้ทุกวันอีกด้วย !

นอกจากนี้ทางตัวเจลหล่อลื่นของแบรนด์ Winona ยังมี

  • ค่า pH ที่เหมาะกับน้องสาว
  • มีส่วนผสมที่เป็นออร์แกนิค
  • ไม่เหนียวเหนอะหนะ
  • ไม่แห้งเร็วเกินไป
  • ไม่ทิ้งคราบหลังใช้
  • สามารถใช้กับถุงยางอนามัยได้
  • เข้าปากได้ ไม่อันตราย ไม่ขม

ใครที่สนใจสามารถสั่งผ่านทาง Agnos ได้เลยนะะะ

การตรวจสุขภาพประจำปีและการคอยดูแลร่างกาย ไม่ว่าเรื่องพฤติกรรมการกินและการออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ สามารถป้องกันโรคและความเสี่ยงเหล่านี้ได้

อย่าลืมดูแลตัวเองและคนใกล้ชิดกันด้วยนะ !

และหากใครมีอาการที่กังวลใจ สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Agnos เพื่อทำการวิเคราะห์อาการเบื้องต้นได้ ฟรี 24 ชม. !




อ้างอิง : https://www.nestle.co.th/th/nhw/news

https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/dyslipidemia

https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87

https://www.sikarin.com/health

https://www.vejthani.com/th/2016/04

https://www.phukethospital.com/th/news-events/menopause/

https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/577

https://www.sikarin.com/doctor-articles

https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%87

เขียนโดย

Agnos Team

Agnos Team

แชร์

บทความนี้มีประโยช์นสำหรับคุณหรือไม่ ?

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคหน้าร้อนที่เราต้องระวัง !

ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome)

4 โรคที่สาวๆวัย 20 ต้องระวัง !

มะเร็งปากมดลูก (CA cervix)ตรวจมะเร็งเต้านมมะเร็งรังไข่

5 โรคที่สาววัย 30 ต้องระวัง !

cancer

วันมะเร็งโลก !

เกี่ยวกับ Agnos

ติดต่อสอบถาม

บุคคลทั่วไป

ภาคธุรกิจ

สมัครร่วมทีม Agnos