AgnosHealth Logo

โรคซึมเศร้า ! กับ 6 เรื่องเข้าใจผิด

Depressionmental health

แก้ไขล่าสุด: 14 กุมภาพันธ์ 2566

เขียนโดย

Agnos Team

Agnos Team

แชร์

ถึงแม้ว่าในสมัยนี้ผู้คนจะเปิดรับ และเข้าใจเกี่ยวกับ โรคซึมเศร้า มากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ยังมีอีกหลายๆคนที่ยังมองว่า โรคซึมเศร้า นั้นไม่ได้มีอยู่จริง และเป็นเพียงการคิดไปเองเท่านั้น !

วันนี้ Agnos อยากจะมาบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับ เรื่องที่คุณอาจจะเข้าใจผิดเกี่ยวกับ โรคซึมเศร้า ! ซึ่งคุณอาจจะรู้อยู่แล้ว หรือไม่รู้ก็เป็นได้ !

เรามาเริ่มกันที่เรื่องแรกกันเลย ~

  1. โรคซึมเศร้า เป็นโรคที่ทำให้เราเศร้าเท่านั้น

ไม่ได้มีอาการอื่นๆ

เรื่องนี้เป็น เรื่องเข้าใจผิดอย่างแรง อารมณ์เศร้า หรือความเศร้า เป็นเพียงหนึ่งในอาการของโรคซึมเศร้าเท่านั้น

อาการของ โรคซึมเศร้า นอกจากจะส่งผลต่อจิตใจแล้ว ยังสามารถส่งผลต่อร่างกาย วงจร

โดยอาการของโรคซึมเศร้าต่อจิตใจ คือ

  • มีอาการเศร้า เบื่อ หรือท้อแท้
  • หงุดหงิดง่าย และเป็นบ่อย
  • พฤติกรรมการทานอาหารเปลี่ยนไป (ทานมากไป หรือน้อยไป) และส่งผลถึงการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนัก
  • พฤติกรรมการนอนเปลี่ยนไป (นอนไม่หลับ หรือนอนมากไป)
  • เฉื่อยชา เหนื่อย ไม่ทำกิจกรรมที่ตัวเองชอบเหมือนเมื่อก่อน
  • รู้สึกไร้ค่า และชอบโทษตัวเอง
  • รู้สึกไม่มีสมาธิ ไม่สามารถตัดสินใจได้ ความสามารถในการจดจำน้อยลง
  • มีความคิดอยากทำร้ายตัวเอง หรือฆ่าตัวตาย

อาการของโรคซึมเศร้าต่อร่างกาย

  • น้ำหนักขึ้น หรือลดอย่างฉับพลัน
  • เคลื่อนไหว หรือพูดช้าลง
  • เจ็บปวดตามร่างกาย อย่างไม่ทราบสาเหตุ
  • เหนื่อยล้า และอ่อนเพลีย
  • แรงขับทางเพศลดลง
  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือน้อยลง

สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการของโรคซึมเศร้าได้ที่ : https://www.agnoshealth.com/articles/health-wellness-depression  

2. โรคซึมเศร้า ไม่เกิดกับเราแน่นอน

หลายๆคนอาจเข้าใจว่า โรคซึมเศร้า เป็นโรคที่ไม่ได้มีให้เห็นบ่อยๆ เป็นโรคที่ไม่ได้มีคนเป็นเยอะ หรือมีความเสี่ยงที่จะเป็นขนาดนั้น

คนเป็นไม่เยอะจริงๆหรอ ?

มีประชากรบนโลกราว 7.6 พันล้านคน และมีคนที่เป็น โรคซึมเศร้า ถึง 300 ล้านคน นับเป็นเกือบ 4% ของคนบนโลกใบนี้

ส่วนคนไทยเองนั้น พบว่ามีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าถึง 1.5 ล้านคน

หรือ 2.2% ของคนไทยทั้งหมด 69 ล้านคน

เพราะฉะนั้น โรคซึมเศร้า ไม่ถือว่าเป็นโรคที่คนเป็นกันน้อยนั่นเอง

3. เราจะไม่ซึมเศร้า ถ้าเราพูดเก่งและร่าเริง

เป็นอีกเรื่องที่เราเข้าใจผิดอย่างแรง นิสัย หรือ ลักษณะของตัวบุคคลเป็นเพียงปัจจัยบางส่วนของ โรคซึมเศร้า เท่านั้น

สาเหตุของโรคซึมเศร้านั้นมีมากกว่าเพียงแค่นิสัย โดยสาเหตุของโรคซึมเศร้า สามารถแบ่งออกเป็น 3 สาเหตุหลักๆ ได้แก่

  • ความผิดปกติของสารเคมีในสมอง

ความผิดปกติของสารเคมีในสมอง อย่างซีโรโทนิน (Serotonin) โดพามีน(Dopamine) และนอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine)


  • กรรมพันธุ์


โรคซึมเศร้า สามารถเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ หากคนในครอบครัวของเรามีผู้ป่วยเป็น โรคซึมเศร้า คนอื่นในครอบครัวก็มีโอกาสเป็นได้เช่นกัน


เช่น หากพ่อแม่พี่น้องแท้ๆ เป็น เราก็มีโอกาสเป็นได้ 20% อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการยืนยันว่า โรคซึมเศร้าเกิดจากยีนส์ส่วนไหน ที่ส่งผลให้เกิดโรคได้

  • เกิดจากตัวเราเอง


ผู้ที่มีความคิดในแง่ลบ หรือไม่ค่อยมีความมั่นใจในตัวเอง ก็อาจเพิ่มโอกาสในการเป็นโรคนี้อีกด้วย

  • สภาพแวดล้อมและแรงกดดัน


ผู้ที่เคยผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเศร้าแรงกดดัน หรือความเครียด เช่น การสูญเสียคนรัก ความผิดพลาดในชีวิต หรือการถูกทำร้าย  ก็อาจเพิ่มโอกาสใสการเป็นโรคนี้อีกด้วย

4. โรคซึมเศร้า สามารถรักษาได้ด้วยธรรมะ 100%

เป็นอีกเรื่องที่เราอาจได้ยินบ่อยๆว่าหากเป็น โรคซึมเศร้า ก็ลองฟังธรรมมะดูสิ

แล้วมันช่วยได้จริงๆมั้ย ?

การใช้ธรรมมะเข้าช่วย อาจเป็นหนึ่งในวิธีที่เราเสริมเข้ามาได้ แต่อย่างไรก็ตาม หากพบว่าตัวเองมีความเสี่ยง ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยอย่างถี่ถ้วน และเพื่อการรักษาที่ถูกต้องนั่นเอง

โดยหากใครยังไม่มั่นใจว่าตัวเองเสี่ยงหรือไม่ สามารถคัดกรองซึมเศร้าเบื้องต้นออนไลน์ได้ที่ : LINK ไป DMIND

5. ไม่ได้เป็นหรอก โรคซึมเศร้าอะ แค่ขี้เกียจ

คนที่มีความเสี่ยงเป็น โรคซึมเศร้า หรือผู้ที่เป็น โรคซึมเศร้า อาจถูกสูบพลังงานออกไปเพราะ โรคซึมเศร้า

นอกจากนี้อาการของ โรคซึมเศร้า ยังรวมถึงความผิดปกติในการนอนหลับ ไม่ว่าจะเป็นการนอนน้อยไป หรือนอนมากไป ก็อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้

รวมการสูญเสียความชอบในสิ่งที่เคยชอบ ก็เป็นอีกหนึ่งผล

กระทบของโรคซึมเศร้านั่นเอง

โรคซึมเศร้า เป็นโรคใกล้ตัวใครหลายๆคนมากกว่าที่เราคิด ไม่ใช่อาการคิดไปเองแต่อย่างใด

หากใครที่กำลังสงสัยว่าตัวเองหรือคนใกล้ตัวมีความเสี่ยงเป็น โรคซึมเศร้า เราอาจควรยื่นมือเข้าไปช่วย หรือขอความช่วยเหลือ โดย Agnos อยากจะเป็นอีกหนึ่งช่องทางของความช่วยเหลือและการรับฟัง

ทุกๆคนสามารถทำแบบทดสองคัดกรองโรคซึมเศร้าได้ฟรี ที่ https://mental.agnoshealth.com/

6. อาการหงุดหงิดง่ายและบ่อย เป็นอาการของโรคซึมเศร้าหรือไบโพลาร์กันแน่

โรคไบโพลาร์ หรืออารมณ์สองขั้ว มีความแตกต่างกับโรคซึมเศร้าอย่างชัดเจน

ผู้ป่วยโรคไบโพลาร์จะมีความผิดปกติทางอารมณ์สองแบบเปลี่ยนแปลงไปมาสลับกัน คือ อารมณ์ดี หรือก้าวร้าวผิดปกติ (mania) และอารมณ์ซึมเศร้า (depressed) โรคนี้จึงมีชื่อเดิมว่า manic-depressive disorder ผู้ป่วยสามารถมีอาการทั้งสองด้าน หรือ ด้านเดียวก็ได้ และไม่ใช่อาการ “เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย” อย่าที่หลายๆคนพูดกัน

เพราะฉะนั้น อารมณ์หงุดหงิดอาจเกิดจากโรคไบโพลาร์แบบ Mania และเนื่องจากไบโพลาร์มีอารมณ์ซึมเศร้า (depressed) ร่วมด้วยจึงอาจทำให้หลายๆคนสับสนได้นั่นเอง

สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคไบโพลาร์ได้ที่ : https://www.agnoshealth.com/articles/bipolar-disorder


อ้างอิง

https://www.everydayhealth.com/hs/major-depression-health-well-being/surprising-depression-facts/

https://www.agnoshealth.com/articles/health-wellness-depression

https://www.healthhub.sg/live-healthy/509/mythsandmisconceptionsaboutdepression

https://www.agnoshealth.com/articles/bipolar-disorder

https://www.therecoveryvillage.com/mental-health/major-depressive-disorder/mdd-myths/



เขียนโดย

Agnos Team

Agnos Team

แชร์

บทความนี้มีประโยช์นสำหรับคุณหรือไม่ ?

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคหน้าร้อนที่เราต้องระวัง !

ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome)

4 โรคที่สาวๆวัย 20 ต้องระวัง !

มะเร็งปากมดลูก (CA cervix)ตรวจมะเร็งเต้านมมะเร็งรังไข่

5 โรคที่สาววัย 30 ต้องระวัง !

ภาวะหมดประจำเดือน/วัยทอง (Menopause)

5 โรคที่ผู้หญิงวัยทองต้องควรระวัง ?

เกี่ยวกับ Agnos

ติดต่อสอบถาม

บุคคลทั่วไป

ภาคธุรกิจ

สมัครร่วมทีม Agnos