แก้ไขล่าสุด: 9 มีนาคม 2566
เขียนโดย
Agnos Team
แชร์
สาวๆที่เข้าวัย 30 เนี่ยจริงๆแล้ว ยังไม่ถือว่าแก่เลย ถือว่าเป็นวัยที่กำลังได้ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ไม่ต่างจากตอนช่วงอายุ 20 เลยด้วยซ้ำ แต่หากไม่ดูแลตัวเอง ปล่อยตัว ไม่ได้มีการตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ อาจเสี่ยงโรคเหล่านี้ไม่รู้ตัว !
เมื่อเข้าสู่วัย 30 ร่างกายเราอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามกาลเวลา เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศ มวลกระดูกบางลง หรือร่างกายอาจเผาผลาญพลังงานได้น้อยลง เป็นต้น
นอกจากนี้ในสังคมที่ผู้คนง่วนอยู่กับการทำงาน จนอาจไม่มีเวลาดูแลตัวเอง อาจเสี่ยงโรคที่เราอาจคาดไม่ถึงเพิ่มมากขึ้น
วันนี้ Agnos จะพามาดูโรคและอาการที่สาวๆ อายุ 30 อาจต้องหมั่นสังเกตตัวเองและระวังให้มาก !
หลายๆคนอาจคิดว่า มะเร็งปากมดลูก เป็นโรคที่ค่อนข้างไกลตัว เพราะที่ผ่านมาเราก็แข็งแรงมาตลอด ไม่ได้มีปัญหาหรือเจ็บป่วยง่ายๆ แต่รู้หรือไม่ว่า มะเร็งปากมดลูก ติด 3 อันดับ แรกๆของโรคมะเร็ง ที่ทำให้สาวๆเสียชีวิตมากที่สุดด้วย โดยในแต่ละวันอาจมีผู้เสียชีวิตถึง 7 คนต่อวัน !
ส่วนมากสาวๆในวัย 30 ปีขึ้นไปจะมีความเสี่ยงมากกว่า สาวๆที่อายุน้อยกว่า 30 ปี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าสาวๆที่อายุน้อยกว่า 30 จะไม่มีโอกาสเป็นนะ
มะเร็งปากมดลูกเกิดจากอะไร ?
โรคมะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer) ส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อ ไวรัสฮิวแมนแปปิโลมา (Human Papilloma Virus) หรือ HPV ซึ่งส่วนมากจะติดจากการมีเพศสัมพันธ์ สามารถติดได้ทั้งสองเพศ เพราฉะนั้นการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อตัวนี้ก่อนจะมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ถือได้ว่าเป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุด
เชื้อไวรัสตัวนี้มีมากกว่า 100 สายพันธุ์แต่จะมีอยู่ 40 สายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคในมนุษย์
โดยระยะฝักตัวไปเป็นมะเร็งของเชื้อไวรัส HPV อาจยาวนานถึง 8-10 ปีเลยทีเดียว แต่ปกติแล้ว หากเรามีร่างกายที่แข็งแรงและภูมิต้านทานที่ดี ร่างกายสามารถกำจัดไวรัสนี้ไปได้ โดยใช้เวลาประมาณ 8-12 เดือน
เชื้อไวรัส HPV สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน :
1.มีความเสี่ยงสูงที่เซลล์ปากมดลูกจะกลายเป็นเซลล์มะเร็ง (High Risk HPV)
สายพันธ์ุในกลุ่ม High Risk HPV ได้แก่ 16, 18, 31, 33, 39, 45, 51, 52, 56, 58, 59, 68, 35, 66
2.เซลล์อาจกลายเป็นโรคอื่น (Low Risk HPV)
สายพันธุ์ในกลุ่ม Low risk HPV ได้แก่ 6,11 ซึ่งอาจทำให้เป็นโรคหูดหงอนไก่บริเวณอวัยวะเพศได้
โดยเชื้อ HPV สามารถทำให้เกิดโรคอื่นๆได้ เช่น
อีกหนึ่งความน่ากลัวของ มะเร็งปากมดลูก คือ เจ้าเชื้อตัวนี้อาจใช้เวลาถึง 10 ปีในการพัฒนาไปเป็นมะเร็งโดยที่เราไม่รู้ตัว ! และแน่นอนว่าระยะแรกๆของมะเร็งปากมดลูก อาจไม่ได้มีการแสดงอาการใดๆเลย หรือมีอาการที่ค่อนข้างทั่วไป จึงยากที่ผู้ป่วยจะรู้ตัวและคิดว่าอาการเหล่านี้คือสัญญาณเตือนของมะเร็งปากมดลูก นอกจากนี้หากได้รับเชื้อตัวนี้เข้าไป เท่ากับเราเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูกทันที
อาการของโรคมะเร็งปากมดลูก
***หากมีอาการรุนแรง หรืออยู่ในระยะลุกลาม อาจมีอาการปวดหลัง ขาบวม และไตวายได้
เราจะป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกได้ยังไงบ้าง ?
ในปัจจุบันยังไม่มียาฆ่าไวรัสชนิดนี้โดยตรง แต่สามารถป้องกันได้ โดย
เป็นอีกหนึ่งโรคฮิตของสาวๆวัยทำงาน สาวในช่วงอายุ 30-45 ปี จะมีความเสี่ยงเป็น เนื้องอกในมดลูก มากกว่าสาวๆในวัยอื่นๆ โดยเป็นมากถึงประมาณ ร้อยละ 20-25 ของผู้หญิงวัยทำงาน และในทุกๆ 1,000 คนที่เป็นเนื้องอกในมดลูก จะมี 1 คนที่เนื้องอกนั้นจะกลายมะเร็งอีกด้วย !
ขนาดของเนื้องอกจะแตกต่างกันออกไป ในผู้ป่วยบางรายอาจพบเนื้องอกแค่ก้อนเดียว บางรายก็มีได้หลายก้อนเช่นกัน
เนื้องอกไปเกิดในมดลูกของเราได้ยังไง ?
ทางการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่คาดว่าอาจเกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนเพศหญิง ทั้งเอสโตรเจนและโพรเจสเทอโรน ที่อาจไปกระตุ้นการเติบโตของเยื่อบุมดลูกจนกลายเป็นเนื้องอกได้
นอกจากนี้ การกินอาหารที่ไปกระตุ้นฮอร์โมนเพศหญิงมากเกินไป อาจทำให้เสี่ยงเป็นเนื้องอกในมดลูกได้ เช่น น้ำมะพร้าว เต้าหู้ขาว หรือน้ำเต้าหู้ เป็นต้น
แล้วเราจะรู้ได้ยังไงล่ะ…ว่าเรามีเนื้องอกในมดลูก ?
อาการและสัญญาณเตือนของเนื้องอกในมดลูกในแต่ละคนอาจแตกต่างกันออกไป บางคนอาจเริ่มมีอาการตั้งแต่เนื้องอกยังมีก้อนเล็ก ในขณะที่บางคนกว่าจะรู้ตัว เนื้องอกก็ได้โตและมีขนาดใหญ่ซะแล้ว
โดยส่วนมากอาการของเนื้องอกในมดลูกค่อนข้างจะทั่วไป ทำให้หลายๆคนมองข้ามไปได้
สัญญาณเตือนของเนื้องอกในมดลูก
รักษาเนื้องอกในมดลูกยังไงได้บ้าง ?
การผ่าตัดแบบเก็บมดลูกไว้ มีทั้งแบบส่องกล้องและเปิดหน้าท้อง โดยการเลือกวิธีผ่านั้น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
การป้องกัน
ในปัจจุบัน ยังไม่มีการป้องกัน เนื้องอกในมดลูกโดยตรง แต่การมีพฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิตที่ถูกสุขลักษณะคงจะเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยป้องกันชั้นดีเลยล่ะ
และแน่นอนว่าการไปตรวจเช็กร่างกาย หรือตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถป้องกันและรักษาเนื้องอกในมดลูกได้อย่างทันเวลา
อีกหนึ่งมะเร็งที่พบได้บ่อยมากในผู้หญิง และผู้ชายก็สามารถเป็นมะเร็งเต้านมได้ด้วยนะ !
จากสถิติทั่วโลก พบว่า 1 ใน 8 ของผู้หญิงเป็นมะเร็งเต้านม
ในปี 2020 มีผู้หญิง 2.3 ล้านคนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม
นอกจากนี้มีผู้เสียชีวิต 685,000 คนทั่วโลก
สิ้นปี 2020 มีผู้หญิงที่ยังมีชีวิตอยู่ 7.8 ล้านคนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา นับได้ว่ามะเร็งเต้านมเป็นหนึ่งในมะเร็งที่แพร่หลายมากที่สุดในโลก
สัญญาณเสี่ยงว่าเราเป็นมะเร็งเต้านม
ในระยะแรกๆของมะเร็งเต้านมอาจไม่ได้มีอาการเจ็บปวดหรืออาการใดๆ ทำให้หลายๆคนไม่รู้ว่าตัวเองกำลังเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม !
เราสามารถตรวจเช็กมะเร็งเต้านมเบื้องต้นด้วยตัวเองยังไงได้บ้าง ?
ทำโดยนั่งหรือยืนหน้ากระจกเงา แล้วยกมือ2ข้างท้าวเอว
หรือยกมือประสานนิ้วไว้ที่ต้นคอ หรือยกมือชูขึ้นเหนือศีรษะก็ได้
แล้วสังเกตดูสิ่งต่อไปนี้
หลังจากดูลักษณะเต้านม 2 ข้างครบถ้วน เรียบร้อยแล้ว
ให้นั่ง ยืน หรือ นอนคลำเต้านมทั้ง 2 ข้าง
โดยยกมือข้างเดียวกับเต้านมที่จะตรวจไปท้าวเอว
หรือวางไว้ที่ต้นคอ หรือเหนือหัว และ
ใช้ปลายนิ้วมือด้านตรงข้ามคลำเต้านมข้างที่ยกมือขึ้น
กดและคลำเบาๆ หมุนไปโดยรอบเต้านม รอบฐานหัวนม หัวนม
จนถึงบริเวณรักแร้และเหนือไหปลาร้า
การคลำนั้นไม่ควรบีบเต้านมเพราะอาจจะทำให้รู้สึกเหมือนเจอก้อนเนื้อแข็งซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่
อีกหนึ่งโรคยอดฮิตของสาวๆอายุ 30 หรือสาวๆออฟฟิศ โดยโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ ส่วนมากเกิดจากติดเชื้อแบคทีเรียที่บริเวณระบบทางเดินปัสสาวะ และพบมากในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากผู้หญิงมีท่อปัสสาวะที่สั้นกว่าผู้ชาย จึงทำให้เชื้อโรคเข้าไปได้ง่ายกว่านั่นเอง
อาการของปัสสาวะอักเสบ
ในกรณีที่มีอาการรุนแรงอาจมีปัสสาวะผสมกับเลือด เนื่องจากมีการติดเชื้อบริเวณกรวยไต จนทำให้เกิดอาการอักเสบ
ปกติแล้วคนเราจะปัสสาวะประมาณ 6-8 ครั้งต่อวัน โดยไม่ได้มีอาการเจ็บหรือปวดใดๆ แต่หากเราปัสสาวะกะปริบกะปรอยประมาณ 8-10 ครั้ง หรือมากกว่าต่อวัน อาจเป็นสัญญาณของความเสี่ยงโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้
โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบสามารถรักษาได้ด้วย การใช้ยาปฏิชีวนะเป็นหลัก โดยส่วนมากผู้ป่วยจะต้องกินยาปฏิชีวนะประมาณ 3 วันถึง 1 อาทิตย์ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ผู้ป่วยต้องกินยาตามที่แพทย์สั่ง แม้จะไม่มีอาการในช่วงท้ายๆก็ตาม
สำหรับผู้ป่วยในช่วงวัยหมดประจำเดือน แพทย์อาจให้ครีมในการทาช่องคลอด โดยครีมจะเป็นฮอร์โมนทดแทนเอสโตรเจนที่ช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้น เพราะในวัยหมดประจำเดือน ร่างกายอาจมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้แบคทีเรียที่อยู่ในช่องคลอดเสียสมดุล และอาจเกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
นอกจากนี้กระเพาะปัสสาวะอักเสบอาจเป็นสัญญาณ หรืออาการแทรกซ้อนของโรคอื่นๆ แพทย์จึงอาจตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุของโรคและรักษาตามอาการ
อีกหนึ่งโรคมะเร็งที่สาวๆต้องระวัง ! มะเร็งรังไข่ คือการที่เรามีมะเร็งบริเวณรังไข่ของเรานั่นเอง โดยร่างกายของผู้หญิงนั้น จะมีรังไข่สองข้างและเจ้ามะเร็งร้าย ก็สามารถไปอยู่ได้ในทั้งสองข้างของรังไข่เรา
เนื้องอกในรังไข่สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
มะเร็งรังไข่สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆได้
อาจเกิดจากเซลล์สืบพันธุ์ ส่วนมากพบในผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 20 ปี
2. Epithelium Tumors หรือมะเร็งเยื่อบุผิวรังไข่
อาจเกิดจากเซลล์ที่เยื่อบุผิวรังไข่และช่องท้อง เป็นประเภทที่พบบ่อยที่สุด
3. Sex Cord Stromal Tumors หรือมะเร็งเนื้อรังไข่
อาจเกิดจากเซลล์ที่เนื้อเยื่อที่มีความเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเพศ อย่าง Estrogen และ Progesteron
อาการปวดท้อง = เสี่ยงมั้ย?
อาการในระยะแรกของมะเร็งรังไข่นั้น ไม่ได้มีอาการที่ชัดเจนมากนัก จึงทำให้ผู้ที่มีความเสี่ยงมองข้าม
อาการที่พบได้บ่อย คือ
ในผู้ป่วยบางรายที่มาพบแพทย์ในระยะโรคลุกลาม อาจคลำเจอก้อนเนื้อในท้องน้อย หรือมีน้ำในช่องท้อง (ท้องมาน)
*ท้องมาน (Ascites) คือ ภาวะที่ของเหลวสะสมอยู่ระหว่างเยื่อหุ้มช่องท้อง และอวัยวะภายในช่องท้องมากเกินผิดปกติ
การรักษามะเร็งรังไข่
การรักษามะเร็งในปัจจุบันมีหลากหลายวิธี แล้วแต่ระยะ และความรุนแรงของมะเร็ง
เพื่อนำเอาก้อนมะเร็งและเนื้อเยื่อรอบๆออก
ใช้ยาในการทำลายเซลล์มะเร็ง มีอยู่หลายรูปแบบ เช่นการใช้ยาเม็ด ฉีดเข้าเส้นเลือด หรือในช่องท้อง
หลายๆคนอาจเคยได้ยินเรื่องการใช้รังสีเพื่อรักษามะเร็ง แต่การรักษาวิธีนี้อาจพบน้อยในมะเร็งรังไข่
โดยใช้รังสีทำลายเซลล์มะเร็ง หรือทำให้มีขนาดเล็กลง
ใช้ยา หรือสารอื่นๆ ที่มีผลเฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง และเกิดอันตรายต่อเซลล์อื่นๆน้อยกว่ายาเคมีบำบัดหรือการฉายรังสี โดยส่วนใหญ่มักพบการรักษานี้ในมะเร็งรังไข่ระยะลุกลาม
มะเร็งนั้น ยิ่งตรวจพบได้ไว ก็จะยิ่งมีโอกาสรักษาหายได้มากขึ้น การหมั่นสังเกตตัวเองและตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ อาจเพิ่มโอกาสในการรักษาและลดความรุนแรงของมะเร็งและโรคอื่นๆได้
เราจึงอยากเป็นหนึ่งในกระบอกเสียงย้ำเตือนให้ทุกคนคอยหมั่นเช็คร่างกายของตัวเอง และสังเกตอาการคนรอบข้างอยู่เสมอ ที่สำคัญที่สุด อาการป่วยเหล่านี้ ไม่ใช่เรื่องน่าอาย หากพบอาการผิดปกติใดๆดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์ให้เร็วที่สุด
“เราขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจให้ทุกคนด้วยนะ”
อ้างอิง : https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81/
https://phyathai3hospital.com/home/%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81/?utm_source=google&utm_campaign=sem_pt3&gclid=CjwKCAiAxvGfBhB-EiwAMPakqjsPJLX0zLXmfuTsDkcxKsb1U_e7AD7HLnJecX-jORAnOkzBPKMRNxoC_aEQAvD_BwE
https://www.vejthani.com/th/2021/07/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81/
https://www.agnoshealth.com/articles/cervical-cancer-and-hpv-vaccine
https://www.hugsinsurance.com/article/popular-disease-people-over-30-years-old
https://www.paolohospital.com/th-TH/center/Article/Details/4-%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%AE%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89
เขียนโดย
Agnos Team
แชร์
บทความนี้มีประโยช์นสำหรับคุณหรือไม่ ?